บริษัทเอเนอร์จีทรานสเฟอร์ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการท่อส่งน้ำมัน “ดาโคตาแอคเซสไปป์ไลน์”ได้ฟ้องร้องกรีนพีซ เป็นเงินจำนวน300 ล้านเหรียญสหรัฐ กรีนพีซเชื่อว่าการฟ้องร้องครั้งนี้นี้เป็นการฟ้องเพื่อปิดปาก

บริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการท่อส่งก๊าซ “ดาโคตาแอคเซสไปป์ไลน์” กำลังฟ้องกรีนพีซ เป็นเงินจำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ หากใครติดตามสถานการณ์ในสหรัฐอเมริกาอาจจะจดจำคดีความที่คล้ายคลึงกัน ที่บริษัทกล่าวหาว่ารัฐบาลกลางฉ้อโกงและละเมิดกฎหมาย ซึ่งในที่สุดก็ถูกศาลยกฟ้องในปี 2562 ได้ [1] แต่บริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์กลับยื่นฟ้องอีกครั้งแทบจะทันทีต่อศาลของรัฐนอร์ทดาโกต้า (North Dakota) [2]
การฟ้องร้องครั้งที่ 2 นี้ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา และจะมีกำหนดขึ้นพิจารณาคดีในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ในรัฐนอร์ทดาโกต้า
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเพียงแค่การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน (Strategic Lawsuit Against Public Participation-SLAPP) หรือที่รู้จักกันในนาม “การฟ้องคดีเพื่อปิดปาก” ที่คุกคามสิทธิในการชุมนุมประท้วงและสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและพูดความจริงต่อบรรษัทอุตสาหกรรมที่มีอำนาจเหลือล้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าการกระทำของบริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ ไร้ซึ่งเหตุผล
และนี่คือ 6 เหตุผลที่คุณควรรู้
1. การฟ้องคดีเหล่านี้คือความพยายามที่จะลบล้างบทบาทของผู้นำชนพื้นเมืองในการประท้วงที่ Standing Rock
ข้อโต้แย้งหลักที่บริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ ฟ้องร้องก็คือ กรีนพีซไม่ใช่ชนเผ่าพื้นเมือง หรือไม่ใช่ชนพื้นเมืองผู้พิทักษ์สายน้ำ แต่เป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงที่เขตสงวน Standing Rock ที่เป็นที่รู้จักทั่วโลกในช่วงปี 2559-2560 ซึ่งเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลความจริงและแสดงให้เห็นถึงแนวคิดการเหยียดเชื้อชาติอย่างรุนแรง
สิ่งที่บริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ร้องเรียนนั้นระบุว่า กลุ่มชนพื้นเมือง Standing Rock Sioux Tribe เป็นกลุ่ม ‘คนยากจน’ [3] และกล่าวหาว่าพวกเขาถูก ‘แสวงหาผลประโยชน์’ [4] จากคนภายนอก ในส่วนของการฟ้องคดีปัจจุบันบริษัทโต้แย้งว่าผู้คนที่ออกมาประท้วงนับพันคนในพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้ออกมาประท้วงเพราะเห็นด้วยกับจุดยืนในงานรณรงค์ แต่เกิดจาก “การปลุกปั่น” ผ่าน “การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง”
แต่ความจริงคือการประท้วงครั้งนั้นเป็นหนึ่งในการประท้วงที่ทรงพลังมากที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อีกทั้งยังเป็นการจัดขึ้นและนำการประท้วงโดยนักกิจกรรมชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการขยายตัวของโครงการขุดเจาะเชื้อเพลิงฟอสซิล และเป็นการเผชิญหน้ากับนโยบายของรัฐบาลในรอบหลายร้อยปีที่เข้ายึดครองพื้นที่ชนเผ่าพื้นเมืองและพยายามจะลบวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมือง
หลังจากจัดตั้งค่ายประท้วงกรีนพีซได้รับคำร้องขอจากชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อช่วยในการส่งนักกิจกรรมชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อเข้าฝึกอบรมเกี่ยวกับการรณรงค์อย่างสันติวิธี กรีนพีซ สหรัฐอเมริกาตอบรับคำขอจากชนเผ่าพื้นเมืองด้วยการติดต่อกลุ่มที่ทำงานด้านการณรงค์สิทธิชนเผ่าพื้นเมือง (Indigenous Peoples Power Project : IP3) เพื่อเข้าไปเสริมทักษะและให้ความรู้ในการณรงค์อย่างสันติและเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้ชนเผ่าพื้นเมืองรู้จักสิทธิมนุษยชนเพื่อการส่งเสริมความรู้ในการสื่อสารเรียกร้องความเป็นธรรมที่ Standing Rock โดยที่กรีนพีซไม่ได้ชี้นำให้เกิดการประท้วงใน Standing Rock โดยตรง

2. คดีความนี้สร้าง ‘เครือข่ายองค์กรอาชญากรรม’ ที่ไม่มีอยู่จริง ซึ่งบริษัทอ้างว่าอยู่เบื้องหลังการประท้วง
คดีความที่เกิดขึ้นกับรัฐบาลกลางในปี 2560 บริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ พยายามบิดเบือนองค์กรรณรงค์ว่าเป็น ‘เครือข่ายองค์กรอาชญากรรม’ ที่มีอิทธิพลต่อการคัดค้านท่อส่งน้ำมัน โดยมีกรีนพีซเป็นศูนย์กลาง [1] ข้อร้องเรียนดังกล่าวคล้ายกับการแต่งนิยายโดยผู้ก่อมลพิษ ที่มักอ้างถึงเรื่องราวที่ไม่มีหลักฐาน อีกทั้งยังเชื่อมโยงว่า เครือข่าย (ที่ไม่มีอยู่จริง) ดังกล่าวเข้าด้วยกัน ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มที่เคยวิพากษ์วิจารณ์โครงการท่อส่งน้ำมันของบริษัท
นอกจากนี้ยังมีประเด็นการฟ้องร้องที่พยายามจะเชื่อมโยงหลายสิ่งด้วยกฎหมาย RICO (ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมอิทธิพลของกลุ่มมาเฟีย) การใช้กฎหมายดังกล่าวเปิดทางให้เกิดการลงโทษโดยต้องชดใช้ค่าเสียหาย อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาจากศาลรัฐบาลกลางก็ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างที่ไม่สมเหตุสมผลเหล่านี้และยกฟ้องคดีที่บริษัทกล่าวหาว่ารัฐบาลกลางฉ้อโกงเมื่อปี 2562 ทั้งนี้ทั้งนั้น ศาลไม่เคยตัดสินในประเด็นที่บริษัทเรียกร้องค่าเสียหายจากการละเมิดของรัฐ และอีกหลายประเด็นในคดีนั้นมาเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อบริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ยื่นฟ้องใหม่ต่อศาลในรัฐนอร์ทดาโกต้า
3. คดีความดังกล่าวโจมตีสิทธิทางกฎหมายที่บัญญัติไว้ในบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (First Amendment)

จากคดีความที่ฟ้องร้องศาลนอร์ทดาโกต้า บริษัทกล่าวหาว่ากรีนพีซเขียนข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาททั้งหมด 9 ข้อความ อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ทั้งหมดเป็นการแสดงออกอย่างถูกต้องตามเสรีภาพในการพูดซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 (First Amendment) ที่ได้รับการคุ้มครอง
ที่ไร้สาระไปกว่านั้นก็คือคือแถลงการณ์เหล่านั้นไม่ได้ถูกเขียนขึ้นโดยกรีนพีซ โดย 3 จาก 9 ข้อความถูกนำมาจากจดหมาย 2 ฉบับที่เขียนโดยกลุ่มอื่น หนึ่งในจดหมายฉบับนั้นมีการลงชื่อจากองค์กร 500 กว่าองค์กร (รวมทั้งกรีนพีซ) และทั้ง 9 ข้อความได้ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนและสื่อออนไลน์อย่างกว้างขวางมานานหลายเดือนแล้ว
ข้อความเหล่านี้เกี่ยวข้องกับประเด็นที่มีความสำคัญเร่งด่วนต่อสาธารณะ และสิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่ควรถูกละเมิดหรือจำกัด แม้ว่าบริษัทที่มีทุนทรัพย์มหาศาลจะเห็นว่าข้อความเหล่านั้นระคายหูก็ตาม
4.การฟ้องร้องครั้งนี้ตั้งใจโจมตีการสนับสนุนของมวลชนต่อชนพื้นเมือง the Standing Rock Sioux
ยิ่งไปกว่านั้น กรีนพีซเพียงแค่รายงานหรือทวนคำกล่าวที่ผู้นำชนเผ่า Standing Rock Sioux ได้แสดงออกอย่างชัดเจนเกี่ยวกับประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพวกเขา กรีนพีซเพียงแต่แสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับชนเผ่า Standing Rock Sioux และชนเผ่าอื่นๆ ที่ต่อต้านโครงการท่อส่งน้ำมัน การโจมตีคำแถลงเหล่านี้ผ่านการฟ้องร้อง คือความพยายามที่จะทำลายเครือข่ายและการสนับสนุนกันและกัน ที่เป็นพลังของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
5.การฟ้องร้องดังกล่าวเป็นความพยายามให้รับผิดร่วมกันหากเกิดอะไรขึ้นตามมาหลังจากการประท้วง
กรีนพีซ ไม่ใช่ผู้จัดตั้งการประท้วงที่ Standing Rock และไม่ได้มีส่วนในการควบคุมกิจกรรมใด ๆ ที่เกิดขึ้นที่นั่น กรีนพีซทำตามคำร้องขอของกลุ่มผู้นำการประท้วง โดยการสนับสนุนนักกิจกรรมชนเผ่าพื้นเมืองที่จัดการฝึกอบรมด้านการลดความรุนแรงและแนวทางสันติวิธีกรีนพีซไม่เคยมีส่วนร่วมในการทำลายทรัพย์สินหรือใช้ความรุนแรง อย่างไรก็ตามคดีนี้พยายามเชื่อมโยงกรีนพีซกับกิจกรรมทุกประเภทที่สร้างความเสียหายให้แก่บริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยใครหรือองค์กรใดก็ตาม
ดังเช่น กรณีคล้ายกันที่เกิดขึ้นในการประท้วง Black Lives Matter โดยเชื่อมโยงผู้จัดการประท้วงกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากบุคคลเพียงคนเดียว คดีนี้ถือว่าเป็นความพยายามที่จะขยายบรรทัดฐานข้อกฎหมายที่ไม่ดีเช่นนี้ให้กว้างกว่าเดิม ดังเช่นใครก็ตามที่เข้าร่วมประท้วง เช่น กรีนพีซ (ที่ไม่ได้เป็นผู้จัดการประท้วง) อาจต้องรับผิดต่อสิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น
ไม่ต้องจินตนาการมากมายก็เห็นอยู่แล้วว่าข้อกฎหมายที่ระบุให้ ‘รับผิดร่วมกัน’ อาจถูกนำไปใช้แบบผิด ๆ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการพูดซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 และอาจส่งผลกระทบต่อวิธีการประท้วงอย่างสันติที่มีมาอย่างยาวนานในสหรัฐอเมริกา
6.บริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ ถูกกล่าวหาและถูกตัดสินว่าว่ามีความผิดทางอาญาและละเมิดข้อกฎหมายมากมาย
ในช่วงเวลาเดียวกันที่บริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ยื่นฟ้องกรีนพีซเกี่ยวกับกิจกรรมที่อยู่ภายใต้บทบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 บริษัทเองก็ประสบปัญหาหลายครั้งที่เกี่ยวข้องกับบริษัทท่อส่งน้ำมัน Mariner และ Rover ในรัฐเพนซิลวาเนียและรัฐโอไฮโอ เหตุการณ์นี้นำไปสู่การสืบสวนสอบสวนบริษัทเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ นำไปสู่การตัดสินว่าบริษัทมีความผิดทางอาญาในรัฐเพนซิลวาเนียในปี 2565 และยังมีการสอบสวนอีก 2 กรณีโดยรัฐบาลกลาง ที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทต้องจ่ายค่าปรับทางแพ่งหลายสิบล้านดอลลาร์
บริษัทอย่างเอเนอจี้ ทรานส์เฟอร์ หวังว่าพวกเขาจะใช้กระบวนการทางกฎหมายโจมตีเราและหวังว่าพวกเราจะปิดปากตัวเองและล้มเลิกขบวนการเพื่อความเป็นธรรม เพื่ออากาศสะอาด แหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และโลกที่ปลอดภัย เราอยากเชิญชวนคุณมาแสดงสัญลักษณ์เพื่อสื่อสารถึงบริษัทว่าคุณคิดผิด มาร่วมส่งเสียงและร่วมเป็นหนึ่งในพลังในการบอกใ้ห้ผู้ก่อมลพิษต้องเป็นผู้รับผิดชอบ

อ้างอิง
[1] Energy Transfer Equity, L.P. v. Greenpeace International (2017 case). Link to full complaint.
[2] Energy Transfer LP v. Greenpeace International (2019 case). Link to full complaint.
[3] 2017 complaint, p. 6. “The Enterprise exploited the impoverished Tribe’s cause for its own end.”
[4] 2017 complaint, p. 137. “In the final analysis the Enterprise, exploited the Native American tribes, permitting the protestors it purposefully incited to destroy the very lands the Native Americans hold sacred.”
[5] 2019 complaint, p. 10. “First, the Greenpeace Defendants and Banktrack disseminated false statements […] inciting thousands of protestors to descend on Lake Oahe to halt construction of DAPL.”
[6] 2019 complaint, p. 17. “In or around August 2016, in response to the Defendants’ misinformation campaign, thousands of protestors from around the country and the world traveled to North Dakota to join what to date had been small, local protests against DAPL.”