All articles
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนไม่สามารถนำมาใช้ได้เร็วพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
การคาดการณ์ที่ผิดพลาดมาโดยตลอดในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา พลังงานหมุนเวียนขยายตัวอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมายของใครหลายๆคน รวมถึงกลุ่มที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างบริษัทบีพี (BP) และทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) (ดูที่ figure 4) โดยสถิติชี้ว่า ในช่วงระหว่างปี 2551-2559 ที่สหรัฐอเมริกา มีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่าตัว ในขณะที่การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการใช้สอยเองก็เพิ่มขึ้นถึง 40 เท่า ในปี 2559 เพียงปีเดียว จีนได้ติดตั้งแผงโซลาร์มากถึง 34 กิกะวัตต์ เกือบสองในสามของกำลังผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาในปี 2559 มาจากพลังงานหมุนเวียน…
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกของคนรวยเท่านั้น อย่างไรเสียถ่านหินก็เหมาะสมกว่าในการผลิตไฟฟ้าในประเทศยากจน
เรื่องนี้นับเป็นข้อโต้แย้งหลักที่อุตสาหกรรมถ่านหินมักยกขึ้นมาใช้ แต่อย่างไรก็ดี คำกล่าวอ้างนี้ได้ถูกลบล้างโดยผลการวิจัยมากมาย แม้กระทั่งทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ซึ่งเคยประเมินการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงมาโดยตลอด ยังกล่าวว่าพลังงานหมุนเวียนจะช่วยให้ผู้คนมีไฟฟ้าใช้ได้มากกว่าถ่านหิน ถ่านหินไม่ใช่แค่ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากไร้ให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังขังพวกเขาไว้ให้อยู่สภาพที่ย่ำแย่เช่นเดิม โดยรายงานฉบับหนึ่งของอ็อกซ์แฟมในปี 2560 ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า: “ยิ่งมีการใช้ถ่านหินมากเท่าใด ยิ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นต้องตกอยู่ในสภาพยากไร้ ทั้งจากผลกระทบร้ายแรงของความเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ และความสูญเสียโดยตรงจากการทำเหมืองและการเผาไหม้ถ่านหินที่มีต่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ทำกิน มลพิษ และสุขภาพที่เสื่อมโทรมลง” การพัฒนาที่ยั่งยืน การเข้าถึงแหล่งพลังงานที่มั่นคงและราคาจับต้องได้เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งถ่านหินไม่อาจทำให้ได้ อีกทั้งยังขัดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นๆอย่างการมีสุขอนามัยที่ดีและการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดอีกด้วย ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนนั้นอาจช่วยให้ไปถึงเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนนี้ได้ทั้งหมด หรืออาจกล่าวได้ว่าการใช้พลังงานหมุนเวียน 100%คือหนทางเดียวที่เราจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้สำเร็จทุกประการ ที่มา: World Future…
-
พลังงานหมุนเวียน 100% กระบี่ทำได้แน่ หากมีการสนับสนุนจากผู้กำหนดนโยบาย
“ภายในปี 2569 ถ้าไม่ถูกกีดกัน กระบี่จะสามารถพึ่งตนเองด้วยพลังงานหมุนเวียน 100% ตลอด 24 ชม ตลอดทั้งปี และปี 2564 ก็สามารถเริ่มได้แล้ว 100% ในบางชั่วโมง ทุกคนทำได้ และช่วยทำให้เกิดขึ้นจริงได้” คุณศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัยพลังงานและอุตสาหกรรม มูลนิธินโยบายและสุขภาวะ หนึ่งในคณะทำงาน Krabi Goes Green
-
กระบี่สามารถมีระบบพลังงานหมุนเวียน 100% ได้ภายในปี พ.ศ. 2569
กระบี่สามารถเป็นผู้นำเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทยและบรรลุเป้าหมายระบบพลังงาน หมุนเวียน 100% ได้ภายในปี 2569 รายงานที่ทำขึ้นโดยเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ และกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่าวิสัยทัศน์นี้ทำให้เกิดขึ้นจริงได้โดยระบบพลังงานแบบผสมผสานจากชีวมวล แก๊สชีวภาพ แสงอาทิตย์ ลม และพลังงานน้ำขนาดเล็กที่จัดการโดยระบบสายส่งอัจฉริยะ (smart grid)
-
Krabi goes green
พบว่าจังหวัดกระบี่มีศักยภาพกำลังผลิตติดตั้งได้สูงสุดรวม 1,676 เมกะวัตต์ และสามารถเป็นจังหวัดต้นแบบที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนได้อย่างสมบูรณ์ 100%
-
การจ้างงานพลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย
รายงานการเปรียบเทียบการจ้างงานโดยตรงของพลังงานหมุนเวียนแต่ละประเภทจะพิจารณา อัตราการจ้างงานโดยตรงคิดเป็นตำแหน่งงานต่อการผลิตไฟฟ้าหนึ่งล้านหน่วย (หรือ 1 GWh)
-
ระบบพลังงานหมุนเวียน 100% สามารถสร้างงานในประเทศไทยได้ราว 170,000 ตำแหน่งภายในปี พ.ศ. 2593
รายงานล่าสุดระบุว่าการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน 100% จะสร้างงานได้ราว 170,000 ตำแหน่งในอีก 30 ปีข้างหน้า
-
มายาคติ: ระบบสายส่งไฟฟ้าต้องการการผลิตไฟฟ้า 24 ชั่วโมง(ไฟฟ้าฐาน)ซึ่งพลังงานหมุนเวียนทำไม่ได้
ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียกกันว่า ‘baseload power’ มักจะถูกใช้เป็นข้ออ้างเพื่อให้เราต้องอาศัยการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลขนาดใหญ่และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
-
“ควน ป่า นา เล ควรหวงแหน” ปกป้องตือโละปาตานี
“ควน ป่า นา เล ควรหวงแหน” ชุมชนเทพาขอเลือกเทใจให้พลังงานหมุนเวียน
-
ตือโละปาตานี วิถีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตือโละปาตานีมีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตอาหารไม่เพียงแต่สำหรับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนตือโละปาตานีให้มีความมั่นคงทางอาหารเท่านั้น แต่หากมีการจัดการที่ดี ตือโละปาตานีสามารถเป็นแหล่งผลิตอาหารสำหรับอาเซียนและสำหรับภูมิภาคอื่นๆ ได้ด้วย