โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ กลับมาเป็นประเด็นความสนใจของสังคมไทยอีกครั้งหลังจากกระทรวงพลังงานได้วางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า พ.ศ 2550-2564 โดยนำเสนอทางเลือกของการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทั้งหมด 9 แนวทาง แต่มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ในทุกแนวทาง และในที่สุดรัฐบาลก็อนุมัติแผนดังกล่าวรวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อเตรียมการและประชาสัมพันธ์การก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

‘ทั่วโลกมุ่งสู่การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์’ ‘โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีต้นทุนถูกที่สุด’ หรือ ‘เทคโนโลยีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีการพัฒนาชุมชนปลอดภัยแล้ว’ เป็นตัวอย่างบางส่วนของการประชาสัมพันธ์ที่ภาครัฐเลือกสื่อสารข้อมูลเฉพาะบางส่วนเพื่อให้สังคมไทยคล้อยตามเท่านั้น 

หากแต่การตัดสินใจในเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าจะคิดพิจารณากันบนพื้นฐานความเข้าใจข้อมูลเพียงด้านเดียวเพราะการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต้องใช้เงินลงทุนนับแสนล้านบาทเชื้อเพลิงก็มีกัมมันตภาพรังสีที่ต้องระมัดระวังตั้งแต่นำเข้าไปจนถึงกากนิวเคลียร์ที่ใช้แล้วและยังมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุซึ่งถ้าหากเกิดขึ้นจะเป็นโศกนาฏกรรมของสังคมไทยที่ไม่มีใครรับผิดชอบได้

เอกสาร ‘โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ : อย่าปิดแผ่นฟ้าด้วยฝ่ามือ’ เล่มนี้ ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้ได้ แต่พยายามให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งรวมทั้งทางเลือกที่เป็นไปได้ของสังคมไทยในกรณีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและรอบด้านมากขึ้นอันเป็นเงื่อนไขสำคัญของการตัดสินใจร่วมกันของสังคม

คณะผู้จัดทำมุ่งหวังกระบวนการตัดสินใจร่วมกันของสังคมที่ไม่ถูกปิดกั้นด้วยอำนาจข้อมูล อำนาจเงินทุน และอำนาจรัฐ แต่เป็นกระบวนการที่เปิดกว้างกับข้อมูลและข้อคิดเห็นของทุกภาคส่วน มีการสะท้อนคิดอย่างรอบด้านและใช้ปัญญาร่วมกันในการตัดสินใจ

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม