จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 เราทุกคนต้องเผชิญกับความเปราะบางในระบบการผลิตอาหารบนยุคโลกาภิวัตน์ ที่ขึ้นกับห่วงโซ่อุปทานและกลุ่มแรงงานย้ายถิ่นจากทั่วโลกมาเป็นเวลานาน ผลความเปราะบางจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานที่เห็นได้ชัด คือ การที่ต้องต่อแถวยาว ๆ ในห้างสรรพสินค้า การกักตุนอาหาร การคัดแยกและชำแหละเนื้อสัตว์จากปศุสัตว์ ผู้คนสูญเสียหน้าที่การงานและมีความไม่มั่นคงด้านอาหารเพิ่มขึ้น

สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แม้ว่าอาหารจะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่ตลาดโลกที่ถูกครอบงำโดยกลุ่มองค์กรที่ทรงอำนาจ คอยกำหนดว่าอาหารประเภทใดจะผลิตที่ไหน ผลิต หรือ จัดจำหน่ายอย่างไร เหล่านี้คือความไม่สมดุลกันของการถือครองอำนาจระหว่างเกษตรกรรายย่อยและผู้บริโภค และการที่ธุรกิจการเกษตรและบริษัทอาหารขนาดใหญ่ทุ่มลงทุนในที่ดินการเกษตรและอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ก่อให้เกิดปัญหาการล้มหายตายจากของผู้ผลิตและเกษตรกรรายย่อย

กรีนพีซเรียกร้องให้สหภาพยุโรป ผู้นำทางการเมืองของสหภาพยุโรปและรัฐบาลระดับนานาชาติดำเนินการดังนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ชัดว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ยุติธรรมและเป็นธรรม โดยกำหนดทิศทางการระดมทุนสาธารณะให้เกษตรกรท้องถิ่นและเกษตรกรเชิงนิเวศที่มีความยืดหยุ่นในระบบการผลิตก่อนเป็นอันดับแรก เช่นเดียวกันสำหรับคนงานในฟาร์มที่อาจมีความเสี่ยงต้องสูญเสียวิถีการทำมาหากินไป
  • ยุติการสนับสนุนอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ หันมาส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนการผลิตเพื่ออุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ นมและไข่ ไปผลิตในพืชอาหารอื่นๆให้มากขึ้นแทน โดยมีการกำหนดระดับความหนาแน่นของจำนวนปศุสัตว์สูงสุดที่มีผลผูกมัดตามกฎหมาย เช่น จำนวนสัตว์สูงสุดที่ฟาร์มมีได้ต่อหน่วยเฮกตาร์ หากเกินไปจากนี้ จะไม่มีฟาร์มใดในสหภาพยุโรปที่จะได้รับรับเงินอุดหนุนด้านการเกษตร
  • แจ้งการรับรู้ถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายของระดับการบริโภคและผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมของสหภาพยุโรปในปัจจุบัน และกำหนดเป้าหมายทางการเมืองที่ชัดเจนเพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์และนม เป็นตัวเลขอย่างน้อย 70% ภายในปี พ.ศ. 2573 และ 80% ภายในปี พ.ศ. 2593 เมื่อเทียบกับตัวเลขในปัจจุบัน
  • ประเมินและนำเสนอมาตรการที่ครอบคลุมเพื่อนำไปสู่การบริโภคอาหารที่อุดมด้วยพืชมากขึ้น เปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ผลิตในเชิงนิเวศ รวมถึงการใช้นโยบายส่งเสริมการขาย ทำการตลาดและการจัดซื้อจัดจ้าง ตลอดจนการกำหนดแนวทางการบริโภคอาหารและมีแผนการกำหนดราคาที่เป็นธรรม
  • ยกเลิกรูปแบบข้อตกลงการค้าเสรีในปัจจุบันที่เติบโตอย่างไร้แบบแผน เปลี่ยนไปสู่นโยบายการค้าที่มีหลักเหตุผลที่คำนึงถึงต้นทุนของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากรูปแบบการบริโภค โดยตั้งเป้าหมายเพื่อการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนและสร้างความยืดหยุ่นในห่วงโซ่อุปทานของอาหาร เริ่มต้นด้วยการปฏิเสธข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรปและกลุ่มตลาดร่วมอเมริกาใต้ตอนล่าง (EU-Mercosur) 
ถึงเวลาปฏิวัติระบบอาหาร

ร่วมเรียกร้องให้ภาครัฐออกกฎหมายติดฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทุกประเภทโดยเปิดเผยถึงข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ ที่มาอาหารสัตว์ว่าเชื่อมโยงกับการทำลายป่าและก่อหมอกควันพิษหรือไม่ รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และการตกค้างในเนื้อสัตว์

มีส่วนร่วม