รู้หรือไม่ว่าการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมในปัจจุบัน เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมเพียงอย่างเดียวได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกพอ ๆ กันกับภาคการคมนาคมขนส่ง หากเราไม่ลงมือทำอะไรเลย ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบอาหาร ในปี พ.ศ. 2593 อาจเพิ่มเป็นครึ่งหนึ่งของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของการผลิตและการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมเชิงอุตสาหกรรม ยังส่งผลต่อสุขภาวะของพวกเราทั่วโลก การบริโภคเนื้อแดงมีความเชื่อมโยงกับการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอ้วน และโรคเบาหวาน การปศุสัตว์เชิงอุตสาหกรรมยังเกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะซึ่งองค์การอนามัยโลกประกาศว่าเป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพทั่วโลก” และเป็นแหล่งของเชื้อโรคร้ายแรงที่มาจากอาหาร กรีนพีซรณรงค์สนับสนุนให้เมืองต่างๆ ร่วมลดการบริโภคเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรมและหันมาบริโภคอาหารอุดมพืชผักมากขึ้น “ลด” เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรม “เพิ่ม” สุขภาวะที่ดีของมนุษย์และโลก
ปฏิวัติระบบอาหารเริ่มได้ที่จานของเรา
-
ท้องถิ่นภาคเหนือรวมตัว ชวนคิดข้อเสนอนโยบายในงาน People’s Policy Hub อดบ่ไหว แก้ไขสักกำเต๊อะ : คนเหนือชวนคิดนโยบายแก้ฝุ่นพิษ PM2.5
กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ และสภาลมหายใจเชียงใหม่ พร้อมกับพี่น้องประชาชนภาคเหนือ นักวิชาการ นักกฎหมาย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร่วมนำเสนอและแชร์ไอเดียเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดน รวบรวมเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายจากประชาชนต่อพรรคการเมืองและผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ให้แก้ไขวิกฤตนี้ในภาคเหนืออย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
-
มองน้ำท่วมในมุม Climate Injustice เมื่อกลุ่มคนที่ปล่อยคาร์บอนน้อยสุดต้องรับแบกรับผลจากภัยพิบัติจากโลกเดือดมากที่สุด
ข้อถกเถียงสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่มและโคลนที่ตามมาจากมวลน้ำที่ไหลมาจากพื้นที่ภูเขา ในสายตาของสังคมพุ่งไปยังชุมชนคนกับป่าที่อาศัยอยู่บนดอยว่าเป็นต้นเหตุของการทำลายป่า อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่ทำให้หลายพื้นที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับพายุรุนแรงและน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้มีที่มาเพียงแค่การหายไปของพื้นที่ป่าไม้ แต่ยังเป็นผลของการก่อก๊าซเรือนกระจกมหาศาลและอย่างยาวนานของอุตสาหกรรมหลายภาคส่วน
-
ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่ยังคงเลือนรางต่อไป ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ต่อรัฐสภาวันที่ 12 กันยายน 2567
check list เปรียบเทียบ ข้อเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมที่รวบรวมจากการทำงานรณรงค์อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมากับคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนล่าสุด
Hazibition : นิทรรศการใต้ฝุ่น เปิดต้นตอปัญหาฝุ่นควัน