กรณีศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มการรับรังสีนิวเคลียร์ตลอดช่วงชีวิตในพื้นที่อิตาเตะ จังหวัดฟุกุชิมะ
ปลายเดือนมีนาคม 2560 นี้ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวเมืองอิตาเตะ จังหวัดฟุกุชิมะ จะได้กลับบ้านเดิมของตนหลังจากหายนะภัยนิวเคลียร์พิอันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในปี 2554  รัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดวันนี้เป็นวันยกเลิกคำสั่งอพยพหลังจากที่ทางรัฐบาลได้ยกเลิกการจ่ายเงินทดแทนไปเมื่อปีก่อน อย่างไรก็ตาม ประชาชนเมืองอิตาเตะมากกว่า 6,000 คน ยังคงไม่มั่นใจและกังต่อการกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมของตนซึ่งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือจากเตาปฏิกรณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิที่ถูกทำลาย
อิตาเตะมีพื้นที่มากกว่า 200 ตารางกิโลเมตรและร้อยละ 75 ของพื้นที่เป็นป่าเขา ระดับรังสีที่พบในเขตพื้นทีป่าในเมืองอิตาเตะ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของผู้คนก่อนที่หายนะภัยนิวเคลียร์เกิดขึ้นนั้น สามารถเปรียบเทียบได้กับระดับรังสีภายในระยะ 30 กิโลเมตรในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน ซึ่งพื้นที่นี้ยังคงปิดตายมานานกว่า 30 ปี หลังจากเกิดหายนะภัยขึ้น

ความพยายามกำจัดการปนเปื้อนรังสีเน้นไปที่บริเวณรอบๆ บ้านเรือนของผู้คน พื้นที่เพาะปลูก และแนวถนนระยะประมาณ 20 เมตร แต่ความพยายามนี้กลับทำให้เกิดกากนิวเคลียร์นับล้านตันตกค้างในพื้นที่นับพันแห่งในเขตจังหวัดและไม่ได้ทำให้ลดระดับรังสีในอิตาเตะอยู่ในระดับที่ปลอดภัย สำหรับประชาชนที่กำลังตัดสินใจที่จะย้ายกลับไปนั้น ยังเป็นคำถามที่ยังคงไม่มีคำตอบจากรัฐบาลญี่ปุ่นว่าถ้าเขาเลือกกลับบ้านของตัวเอง ผลกระทบที่จะได้รับจากรังสีจะมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งไม่ใช่แค่หนึ่งปี แต่โดยความเป็นจริงแล้ว หลายสิบปี หรืออาจจะตราบชั่วชีวิต ซึ่งคำถามนี้เป็นคำถามที่ทีมสำรวจรังสีของกรีนพีช กำลังหาคำตอบในปี 2559

กรีนพีชได้สำรวจเมืองอิตาเตะตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม 2554 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการสั่งอพยพ ในผลการสำรวจล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2559  วัตถุประสงค์คือการตรวจวัดระดับรังสีนับพันจุดตามบ้านเรือนต่างๆในเขตที่ถูกกำหนดไว้เป็นพื้นที่ 2 ของอิตาเตะ พื้นที่ดังกล่าวนี้จะได้รับการยกเลิกคำสั่งอพยพในเดือนมีนาคม 2560 ที่จะถึงนี้ ตามที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้กล่าวไว้

นอกจากข้อมูลการวัดระดับรังสีซึ่งทำให้ได้ค่าเฉลี่ยของพื้นที่แล้ว งานสำรวจนั้นรวมถึงการเก็บตัวอย่างดินพร้อมกับการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการที่โตเกียว รวมถึงการวัดรังสีในบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง และการปรับปรุงเครื่องวัดรังสีที่ติดตั้งไว้ในบ้านสองหลังในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2559

จากข้อมูลของเครื่องวัดรังสีสำหรับประชาชนเมืองอิตาเตะ นายโทรุ อันไซ แนะว่าการประเมินค่าที่เกินจริงของเกราะกำบังรังสีที่ติดตั้งโดยเจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นที่บ้านไม้ ซึ่งจะลดรังสีภายในมากกว่าร้อยละ 40 จากรังสีภายนอก  ขณะที่ระดับค่าเฉลี่ยภายนอกตัวบ้าน คือ 0.7 ไมโครซีเวิร์ต(µSv)ต่อชั่วโมง ซึ่งจะเท่ากับ 2.5 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)ต่อปี โดยขึ้นอยู่กับการคาดคะเนเกราะกำบังกัมมันตรังสีของรัฐบาล เครื่องวัดกัมมันตรังสีภายในตัวบ้านแสดงค่าตั้งแต่ 5.1 ถึง 10.4 มิลลิซีเวิร์ต(mSv)ต่อปี โดยแผนการกำจัดการปนเปื้อนรังสีระยะยาวของรัฐบาลญี่ปุ่น ตั้งเป้าไว้ที่  0.23 ไมโครซีเวิร์ต(µSv)ต่อชั่วโมง ซึ่งจะมีรังสีจำนวน 1มิลลิซีเวิร์ต(mSv)ต่อปี ระดับรังสีจากบ้านที่ถูกสำรวจในเมืองอิตาเตะแสดงให้เห็นว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่จะกำจัดการปนเปื้อนรังสียังไกลกว่าที่คิดนัก นอกจากนี้ปริมาณรังสีที่มีระดับสูงทั้งในบ้านและนอกบ้านยังแสดงถึงความเสี่ยงสูงจากการสัมผัสรังสีสำหรับประชาชนที่จะกลับไปเมืองอิตาเตะ และเป็นความเสี่ยงที่รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงเพิกเฉย

ข้อสรุปของเราคือด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินทางรังสีที่มีความซับซ้อนในเมืองอิตาเตะ ประกอบกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่ยังคาดเดาไม่ได้ที่มีแนวโน้มสูงนั้น หมายถึงเมืองอิตาเตะ จังหวัดฟุกุชิมะยังไม่อาจกลับคืนเป็นอย่างเดิม

ข้อเสนอของกรีนพีซ:

  • รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ควรเดินหน้านโยบายให้ผู้คนกลับสู่ภูมิลำเนาเดิมซึ่งมองข้ามความเสี่ยงของชาวเมืองฟุกุชิมะและมองข้ามการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงของการรับรังสีนิวเคลียร์ตลอดช่วงชีวิต
  • รัฐบาลญี่ปุ่นควรมีกระบวนการที่โปร่งใสเพื่อที่จะพิจารณาความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัยเกี่ยวกับมาตรการการอพยพ รวมถึงเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสำหรับประชาชนและผู้อพยพ
  • รัฐบาลญี่ปุ่นควรที่จะสนับสนุนด้านการเงินอย่างเต็มที่สำหรับผู้อพยพ และดำเนินการที่จะลดความเสี่ยงจากการสัมผัสรังสีบนพื้นฐานของหลักการป้องกันไว้ก่อน เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของประชาชน และเอื้ออำนวยให้ประชาชนเลือกได้ว่าจะกลับหรือย้ายถิ่นฐาน โดยปราศจากการบีบบังคับและการบังคับทางการเงิน

 

อ่านรายงานฉบับเต็มที่นี่