ที่ผ่านมา ประชากรที่อาศัยอยู่ในอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถาน จีน ไนจีเรีย อินโดนีเซียและเม็กซิโก ต้องสัมผัสกับระดับมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ที่สูงเกินกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ นอกจากพื้นที่ดังกล่าวแล้วยังมีผู้คนอีกร้อยละ 75 ในทวีปยุโรปที่ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับฝุ่นละออง PM2.5 เกินกว่าค่ามาตรฐาน

https://energydesk.carto.com/builder/ed9ffc19-5e5b-424a-9587-ebe058983174/embed

PM2.5 ยิ่งสูง ยิ่งอันตราย

ผลการศึกษาระดับฝุ่นละออง PM2.5 และมลพิษในโอโซนทั่วโลกจากรายงานฉบับใหม่ ซึ่งเผยแพร่โดยสถาบันวิจัยด้านผลกระทบทางสุขภาพ (the Health Effects Institute) จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ระบุว่า

‘ฝุ่นละออง PM2.5 คือฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีต้นกำเนิดมาจากหลายแหล่ง หนึ่งในนั้นเป็นผลพวงจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลและถ่านหิน เนื่องจากมีขนาดเล็กจึงทำให้พวกมันลอยอยู่ในอากาศได้หลายวันและสามารถลอยไปไกลหลายพันไมล์ นั่นหมายความว่า แม้ว่าคุณไม่ได้อาศัยอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่คุณก็มีสิทธิ์ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้ด้วยเช่นกัน’

Coal Power Plants in Suralaya, Indonesia. © Kasan Kurdi / Greenpeace
โรงไฟฟ้าถ่านหิน Suralaya ในอินโดนีเซีย © Kasan Kurdi / Greenpeace

โดยรายงานฉบับนี้มีชื่อว่า ‘State of Global Air’ ทั้งนี้ยังมีผลการศึกษาว่า หากโลกยังคงพึ่งพิงอุตสาหกรรมพลังงานฟอสซิลอยู่ มลพิษทางอากาศจะทำให้เด็กที่เกิดในปัจจุบันนี้มีชีวิตสั้นลง 20 เดือน 

จากผลวิจัยในรายงาน ในปี 2560 คุณภาพอากาศที่แย่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตของคน 1 ในทุกๆ 10 คน และยังเป็นสาเหตุการตายที่ทำให้คนเสียชีวิตทั่วโลกมากกว่าโรคอ้วนหรือการดื่มแอลกอฮอลล์อีกด้วย แม้ว่าการเชื่อมโยงสาเหตุการเสียชีวิตกับมลพิษทางอากาศยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่ก็มีรายงานวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เปิดเผยว่าฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับสูงเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ด้วยขนาดที่เล็กทำให้ PM2.5 สามารถแทรกซึมเข้าไปอยู่ในปอดและเข้าไปในกระแสเลือดได้ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ PM2.5 มีส่วนทำให้เกิดโรคหัวใจวาย ภาวะสมองเสื่อม และโรคอัลไซเมอร์ นอกจากนี้เป็นครั้งแรกที่มีวิจัยหลายฉบับระบุว่า PM2.5 มีส่วนเชื่อมโยงกับโรคเบาหวาน ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานมากกว่า 1 ใน 4 ของ 1 ล้านคนมีส่วนเชื่อมโยงกับมลพิษทางอากาศ และถึงแม้ว่าจะไม่มีระดับของการสัมผัสกับ PM2.5 ที่ปลอดภัย แต่หากเราได้รับฝุ่นละอองนี้ในระดับที่มากขึ้น เราก็จะยิ่งได้รับผลกระทบทางสุขภาพมากขึ้นเช่นกัน

Motorcyclist with N95 Respirator in Chhattisgarh. © Sri Kolari / Greenpeace
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินในรัฐฉัตตีสครห์ ประเทศอินเดีย © Sri Kolari / Greenpeace

โดยส่วนใหญ่การวัดระดับมลพิษทางอากาศทั่วโลกมักจะวัดเป็นจุด ๆ ในบริเวณเมืองใหญ่หรือเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่มากในประเทศที่เจริญแล้ว รายงานนี้รวบรวมข้อมูลตัววัดคุณภาพอากาศประมาณ 10,000 เครื่อง เก็บข้อมูลจากที่สถานีวัดคุณภาพอากาศ และข้อมูลจากแบบจำลองสภาพอากาศของโลกเพื่อประเมินระดับคุณภาพอากาศจากทั่วโลก

เอเชียในละอองฝุ่น

ในรายงานฉบับใหม่นี้ระบุว่า ผู้คนทั่วไปที่อาศัยในประเทศจีนเผชิญกับมลพิษทางอากาศสูงกว่าค่าที่องค์การอนามัยโลกถึง 5 เท่า แม้ว่าระดับฝุ่นละอองจะลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญจากช่วงวิกฤตในปี 2554

Spraying Crops in front of Steel Plant in Jiangsu. © Lu Guang / Greenpeace
วิถีชีวิตของชุมชนที่อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าถ่านหินในเจียงซู ประเทศจีน เกษตรกรที่ปลูกพืชในบริเวณนี้บอกกับกรีนพีซว่าเขาไม่เคยบริโภคเมล็ดพืชที่ปลูกเหล่านี้เลย © Lu Guang / Greenpeace

อันเอิร์ธ เปิดเผยตัวเลขที่น่าตกใจนั่นคือ มีเมืองกว่า 2,000 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศอยู่ในระดับอันตราย โดยมีหลายเมืองตั้งอยู่ใน จีน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคเอเชียใต้ ยิ่งไปกว่านั้น จากข้อมูลของกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เก็บข้อมูลจาก AirVisual พบว่าใน 20 เมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลกนั้น มี 18 เมืองที่ตั้งอยู่ในอินเดีย ปากีสถานและบังคลาเทศ

ค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด

ปัจจุบัน องค์การอนามัยโลกเสนอว่าค่าเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ควรไม่เกิน 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ควรอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพของมนุษย์ให้มากที่สุดจากฝุ่น PM2.5 ขณะเดียวกันองค์การอนามัยโลกก็เน้นย้ำว่าไม่มีการสัมผัส PM2.5 ในระดับใดที่ปลอดภัยจากผลกระทบต่อสุขภาพ

การกำหนดมาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปและการระบายมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม จากแหล่งกำเนิดเป็นมาตรการแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ปัจจุบันประเทศทั่วโลกนำมาใช้ในการป้องกัน บรรเทาและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ ถือเป็นค่ามาตรฐานในการควบคุมไม่ให้ผู้ปล่อยมลพิษ ปล่อยมลพิษมากเกินไปจนกระทบต่อสุขภาพประชาชนซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาด 

ดังนั้นนอกจากการป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 แล้ว การร่วมผลักดันในเชิงนโยบายเพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรมก็เป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากต้นตออีกข้อหนึ่ง ที่ประชาชนจะสามารถเรียกร้องกับภาครัฐให้แก้ไขตัวเลขค่ามาตรฐานของประเทศให้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับมาตรฐานที่องค์การอนามัยแนะนำได้

กรีนพีซเรียกร้องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติยกระดับมาตรฐานฝุ่น PM2.5ให้เทียบเท่าหรือใกล้เคียงที่สุดกับเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก เพื่อควบคุมและลดการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่างๆ เพื่ออากาศสะอาดของคนไทยทุกคน

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม