CPTPP ในชื่อภาษาไทยคือ “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership” ฟังเผิน ๆ แล้วอาจดูไกลตัว แต่จริงๆแล้วหากไทยเข้าร่วมความตกลงนี้ เส้นทางอาหาร 1 จานบนโต๊ะของเราอาจเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
ในวันนี้เรามีโอกาสพูดคุยกับคุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือ ไบโอไทย ในประเด็นที่น่าเป็นห่วงของ CPTPP ซึ่งอาจส่งผลกระทบมากกว่าอาหารบนโต๊ะที่จะมีราคาสูงขึ้น แต่จะส่งผลต่อความหลากหลายทางพืชพันธุ์อาหารและนำไปสู่การล่มสลายของวิถีเกษตรกรไทย
![วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี](https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2020/06/da78f6b4-witoon-biothai-2.jpg)
ธรรมชาติของประเทศไทยตั้งอยู่บนคำว่า อู่ข้าวอู่น้ำ
ในสังคมแห่งความเร่งรีบและการถูกตัดให้ขาดจากแหล่งที่มาของอาหารแต่ละมื้อ ทำให้เราไม่ได้นึกถึงความเป็นประเทศเกษตรกรรมสักเท่าไรนัก ซึ่งหากเราจะเข้าใจว่า CPTPP จะส่งผลกระทบอย่างไรกับเราสิ่งที่เราต้องรับรู้และตระหนักร่วมกันนั่นก็คือ ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพรรณธัญญาหารจริงๆ ซึ่งความหลากหลายนี้เกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกคือ ไทยตั้งอยู่ในเส้นศูนย์สูตรซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากตามสภาพภูมิศาสตร์ เนื่องจากไทยอยู่ในเขตร้อน มีป่าร้อนชื้นหลงเหลืออยู่
ด้วยความสมบูรณ์นี้ทำให้ต่อมาเกิดปัจจัยอีกข้อก็คือวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ระบบเกษตรของไทยมีความหลากหลายทางพันธุ์พืชสูง แวดวงการเกษตรนั้นทราบกันดีว่าพันธุ์พืชพันธุ์ดีจำนวนมากที่เรามีอยู่นั้นไม่ได้เกิดจากสถาบันวิจัย ไม่ได้เกิดจากบริษัทใหญ่ อย่างเช่น ข้าวพันธุ์ดีทั้งหลายที่มีอยู่ในประเทศเช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวสังข์หยด ข้าวเล้าแตก หรือพันธุ์ผลไม้ เช่น ทุเรียนหมอนทอง มะม่วงยายกล่ำ และมะม่วงอีกหลายชนิดที่มาจากชุมชนเกษตรกรรมทั้งนั้น เพราะฉะนั้นกระบวนการที่ชาวบ้านเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อรวมทั้งการคัดสายพันธุ์พืชเองซึ่งยังคงเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันจึงมีความสำคัญมากต่อเกษตรกรรมของเรา
เขาว่ากันว่า CPTPP ผูกขาดอาหาร?
![เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านชนิดถั่ว © Peter Caton / Greenpeace เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านชนิดถั่ว © Peter Caton / Greenpeace](https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2020/06/ceddf59f-gp0stp6ez-1024x683.jpg)
เดิมที CPTPP มีสหรัฐอเมริกาและอีก 11 ประเทศร่วมด้วย รวมเป็น 12 ประเทศ ต่อมาการเจรจาความต้องการที่ไม่ลงตัวจึงทำให้สหรัฐอเมริกาถอนตัวออกจากข้อตกลงนี้ เหลือเพียง 11 ประเทศ ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นกำลังสำคัญให้ความตกลงนี้เดินหน้าต่อ
ร่างความตกลงนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับ ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ เพราะหากเรายอมรับความตกลง CPTPP แล้ว เราจะต้องยอมรับอนุสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ หรือ UPOV 1991 ด้วย ซึ่งอนุสัญญา UPOV1991 นี่แหละที่จะส่งผลกระทบต่ออาหารในประเทศเยอะ
แล้วอนุสัญญา UPOV1991 นี้มีอะไรที่น่ากังวล ?
คำตอบคือเมื่อเรายอมรับอนุสัญญาฉบับนี้เท่ากับเรายอมให้บริษัทเมล็ดพันธุ์ขยายการผูกขาดมากขึ้นนั่นเอง โดยเนื้อหาของ UPOV1991มีเป้าหมาย “ขยายสิทธิผูกขาดเรื่องพันธุ์พืชและลดทอนสิทธิเกษตรกร” อีกนัยหนึ่งมันก็เป็นการให้สิทธิผูกขาดแก่นักปรับปรุงพันธุ์หรือบริษัทเมล็ดพันธุ์ นั่นเอง
![เด็กนักเรียนเรียนรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ © Roengchai Kongmuang / Greenpeace เด็กนักเรียนเรียนรู้เรื่องเมล็ดพันธุ์ © Roengchai Kongmuang / Greenpeace](https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2020/06/5a1af490-gp0str411-1024x683.jpg)
UPOV1991 ผูกขาดอาหารอย่างไร?
ก่อนอื่นอาจจะต้องเล่าที่มาให้ทุกคนเข้าใจกันก่อนว่า UPOV1991 นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร อนุสัญญาพัฒนาขึ้นมาหลายทศวรรษแล้วโดยมีการอัพเดทเรื่อยมาเป็นระยะ ๆ เลข 1991 เป็นเลขระบุว่าอนุสัญญานี้ถูกแก้ไขล่าสุดในปีอะไร ประเทศที่เป็นสมาชิก UPOV ทั้ง UPOV1991 และ UPOV1978 มีทั้งหมด 74 ประเทศ โดยข้ออ้างที่ผู้ผลักดันมักใช้เพื่อให้ประเทศต่างๆ คือบอกว่ามันเป็นมาตรฐานการค้าระหว่างประเทศ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ มาตรฐานการค้าในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาเรื่องพันธุ์พืชคือ ความตกลง TRIPs ใน WTO แต่การเรียกร้องให้เป็นสมาชิกในอนุสัญญา UPOV1991 มักเป็นการเรียกร้องเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าของบริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่มากกว่า โดยจะแลกกับผลประโยชน์อื่น
นอกจากนี้แล้วหากเรายอมรับข้อตกลงนี้ เท่ากับเราเปิดประเทศให้กลุ่มบรรษัทยักษ์ใหญ่ของโลกทางด้านเมล็ดพันธุ์เข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ได้ จึงมีคำถามว่า การยอมรับ UPOV 1991 ก็ดีหรือการยอมรับเรื่องสิทธิบัตรยาก็ดี เท่ากับว่าเรากำลังเอาเรื่องใหญ่เรื่องสำคัญของประชาชนไปแลกกับการเปิดเสรีสินค้ากับประเทศแค่ไม่กี่ประเทศ แน่นอนว่าไม่คุ้มค่าเลย
แล้วถ้าเราเข้าร่วมความตกลง CPTPP ล่ะ อนุสัญญา UPOV1991 จะทำให้อาหารในประเทศเราเปลี่ยนไปมากแค่ไหน? ซึ่งรายละเอียดเงื่อนไขของ UPOV1991ง่าย ๆ สั้นเลยนั่นคือ หากเราเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งไม่ได้จบแค่การผูกขาดสายพันธุ์พืชใหม่เท่านั้น แต่จะขยายขอบเขตไปสู่สิ่งที่เขาเรียกว่า EDVs (Essentially Derived Varieties)ด้วย เช่น สายพันธุ์ที่กลายพันธุ์จากพันธุ์พืชใหม่ของเขา หรือสายพันธุ์ที่ยังมีลักษณะสำคัญของพันธุ์พืชใหม่ของบริษัทไปปรากฏอยู่ เป็นต้นยิ่งไปกว่านั้นยังผูกขาดไปถึงผลผลิตที่ได้จากพันธุ์พืชที่อยู่ในความคุ้มครอง รวมทั้งการนำผลผลิตดังกล่าวไปแปรรูปก็ถือว่าผิด รวมถึงการแปรรูปอย่างการทำเป็นยา ซึ่งประเทศไทยเรามีการผลิตยาจากสมุนไพรไม่น้อย หากเขาปรับปรุงพันธุ์สมุนไพรแล้วขอรับการคุ้มครองเป็นพันธุ์พืชใหม่ หากเขาเห็นว่าเกษตรกรเก็บพันธุ์สมุนไพรนั้นไปปลูกต่อ ยาจากสมุนไพรก็เป็นกรรมสิทธิ์เขาด้วย
สมมติว่าเราเอาพันธุ์ทุเรียนใหม่ที่ปรับปรุงพันธุ์จากพันธุ์หมอนทอง หากเกษตรกรเอาสายพันธุ์ที่ซื้อมาปลูกและเอาเมล็ดหรือกิ่งพันธุ์มาขยายพันธุ์ต่อ เมื่อได้ลูกทุเรียนออกมา เราก็เอามาทำทุเรียนกวน หรือขนมขาย ก็ถือว่าผิดและจะถูกยึดทั้งหมด เราทำได้แค่ซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทมาปลูกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น เราไม่สามารถมาขยายพันธุ์เองได้ โดยระยะเวลาการคุ้มครองเมล็ดพันธุ์ตามอนุสัญญาคือ 20-25 ปี แน่นอนว่าเป็นการทำลายวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของเกษตรกรตามที่ได้เคยพูดไปและเป็นการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ
![Organic Rice Art at Ratchaburi in Thailand. © Greenpeace / Athit Perawongmetha Organic Rice Art at Ratchaburi in Thailand. © Greenpeace / Athit Perawongmetha](https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2019/09/1b16e835-gp01uoc-1024x683.jpg)
พอจะสรุปผลกระทบต่างๆได้ ดังนี้
- การห้ามเกษตรกรนำเอาเมล็ดพันธุ์พืชไปปลูกต่อ ห้ามคัดเลือกสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ในแปลงปลูก เป็นการลดทอนการเกิดสายพันธุ์พืชใหม่ ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ
- อาหารแพงขึ้นเพราะต้นทุนในการปลูกสูงขึ้น ยกตัวอย่างในสหรัฐอเมริกาที่เข้าร่วมภาคีอนุสัญญา UPOV1991 ในปี 1999 และใช้กฎหมายนี้ควบคู่กับกฎหมายสิทธิบัตรจะเห็นแนวโน้มได้เลยว่า เมล็ดพันธุ์ที่ให้สิทธิผูกขาดแบบเข้มข้นแก่บริษัทเมล็ดพันธุ์นั้นราคาสูงกว่าหลายเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบเมล็ดพันธุ์ชนิดที่ไม่ได้อยู่ในความคุ้มครองของระบบทรัพย์สินทางปัญญา ประเมินว่าหากเราเข้าร่วมความตกลงแล้ว เมล็ดพันธุ์ในประเทศไทยที่เราปลูกอยู่จะมีราคาสูงขึ้น 2-6 เท่า แล้วแต่ชนิดของพืช
- เมล็ดพันธุ์ที่ส่งเสริมตามระบบแบบ UPOV1991 นั้น ส่วนใหญ่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมเกษตรเชิงเดี่ยว และกระจุกตัวอยู่ในบริษัทไม่กี่บริษัท โลกจะสูญเสียความหลากหลายทางพืชพรรณธัญญาหารในระยะยาว
- กฎหมายที่ให้สิทธิผูกขาดเช่นนี้ จะนำไปสู่ความล่มสลายของวิถีการปรับปรุงพันธุ์และอาชีพนักปรับปรุงพันธุ์พืชรายย่อย
การเข้าร่วม CPTPP นั้นเท่ากับว่าเรากำลังเอาเรื่องใหญ่ไปแลกกับการเปิดเสรีการค้าแค่สองประเทศ เนื่องจากประเทศที่เหลือได้ร่วมทำเสรีการค้ากันอยู่แล้ว โดยการแก้กฎหมายของไทยให้เป็นไปตาม UPOV1991 เป็นการเปิดให้บริษัทในประเทศอุตสาหกรรมทั้งหมดที่เป็นสมาชิก WTO เช่น Monsanto และ Syngenta ได้ประโยชน์ไปพร้อมๆกันด้วย
UPOV1991 กับสมุนไพรและยา
ยังจำได้ไหมว่าเงื่อนไขของ UPOV1991 นั้นครอบคลุมไปถึงผลิตผลของพันธุ์พืชรวมทั้งสินค้าที่แปรรูปจากผลิตผลนั้น ๆ ด้วย ข้อนี้เองที่ทำให้ ยา ที่ผลิตจากสมุนไพรและพืชจะถูกผูกขาดไปด้วย สุดท้ายก็จะมีผลกระทบต่อการครอบครองผลิตภัณฑ์ยาหรือสูตรยาจากสมุนไพร
ข้อโต้แย้งจากกรมวิชาการการเกษตร
กรมวิชาการเกษตรออกมาโต้แย้งว่าการที่เกษตรกรพื้นบ้านไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไปปลูกต่อได้ไม่เป็นเรื่องจริงเพราะสามารถมีข้อยกเว้นได้ แต่การโต้แย้งของเขาไม่ได้บอกความจริงทั้งหมด เพราะในข้อกำหนดของ UPOV1991 กล่าวไว้ว่าในบางกรณีรัฐสามารถยกเว้นให้เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อได้โดยมีเงื่อนไข 3 ประการ คือ
1.ต้องปลูกในพื้นที่ของตัวเอง
2.อนุญาตเฉพาะที่เป็นธัญพืชที่มีเมล็ดขนาดเล็ก
3. ต้องเป็นการปลูกเพื่อยังชีพเท่านั้น
จากเงื่อนไขที่กล่าวมาแสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์พืชที่เป็น ผัก ผลไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพรและอื่น ๆ ไปปลูกต่อได้ และรวมทั้งชาวนาด้วย มันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้วเพราะในประเทศไทยมีชาวนากี่คนที่ปลูกข้าวแล้วไม่ขายข้าวเลย? และนี่คือสิ่งที่กรมวิชาการเกษตรไม่ได้บอกเราทั้งหมด
ญี่ปุ่นกับ CPTPP
หากไม่กล่าวถึงก็คงจะไม่ได้ เพราะญี่ปุ่นถือเป็นหัวเรือสำคัญในการผลักดันความตกลง CPTPP ที่มีอนุสัญญา UPOV1991 พ่วงท้ายมาด้วย ปัจจุบันญี่ปุ่นเองเป็นภาคีในอนุสัญญานี้และได้มีการประกาศชนิดเมล็ดพันธุ์ที่อยู่ในความคุ้มครองของ UPOV1991 ไปบ้างแล้วเช่น ในช่วงปี 2559 ได้ประกาศไปแล้วมากกว่า 80 ชนิด และล่าสุดในปี 2562 ได้ขยายจำนวนเมล็ดพันธุ์ที่ห้ามนำไปปลูกต่อมากกว่า 300 ชนิด สำหรับญี่ปุ่นแล้วตอนนี้สถานการณ์ของเกษตรกรรายย่อยถือว่าน่าเป็นห่วง เนื่องจากไม่ทราบว่าจะเก็บเมล็ดพันธุ์ใดไปปลูกต่อได้บ้าง เพราะถูกห้ามเก็บเมล็ดพันธุ์ไปเกือบทุกชนิดแล้ว ช่องทางในการต่อสู้นั้นเหลือน้อยลงทุกวัน เราจึงเห็นอดีตรัฐมนตรีเกษตร และดารานักร้องชื่อดัง ออกมาตั้งคำถามกับรัฐบาลเกี่ยวกับทั้งเรื่อง CPTPP และ UPOV1991
![A Seedling for Ecological Farm in Japan. © Kayo Sawaguchi / Greenpeace A Seedling for Ecological Farm in Japan. © Kayo Sawaguchi / Greenpeace](https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2020/06/8a0bdd1e-gp0stqhdl-1024x683.jpg)
สถานการณ์การรณรงค์คัดค้าน CPTPP ในประเทศไทยท่ามกลางวิกฤตโรคระบาด
ประเด็นความตกลง CPTPP กลายเป็นประเด็นร้อนท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาด คุณวิฑูรย์ตั้งข้อสังเกตที่น่าสนใจไว้ว่าก่อนหน้านี้เรื่องของพันธุ์พืช เกษตรกรรมและอาหาร เป็นประเด็นที่คนพูดถึงไม่มากนัก แต่ตอนนี้ CPTPP ถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง มีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ออกมาร่วมคัดค้านการเข้าร่วมความตกลงนี้ในพื้นที่ออนไลน์ อาจเพราะพวกเขาเข้าใจอาหารมากขึ้น คนเมืองหลาย ๆ คนหันมาปลูกพืชผักกินเองและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับตัวเอง
หนึ่งประโยคที่คุณวิฑูรย์เล่าให้เราฟังคือประโยคจากภาพกำปั้นมือเกี่ยวพันธุ์ด้วยใบไม้เลื้อย บนกำปั้นมือเขียนว่า “การเก็บรักษาพันธุ์พืชไปปลูกต่อ ไม่ใช่อาชญากรรม” รูปนี้คุณวิฑูรย์บอกว่าถูกแชร์ไปในหลายช่องทางอย่างกว้างขวาง
![](https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2020/06/bdfecdcf-98133160_3079074138797753_3618759334156042240_o.jpg)
“จริง ๆ แล้วยอมรับเลยว่าที่คนรู้จัก CPTPP และมาร่วมรณรงค์คัดค้านส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ COVID-19 เราพบว่าคนให้ความสนใจกับการพึ่งพาตนเอง ให้ความสนใจกับการปลูกผักปลูกต้นไม้ ดูแลรักษาผักและต้นไม้ของตัวเอง คนตั้งคำถามกับเรื่อง ความมั่นคงด้านอาหาร ในช่วงนี้การพูดถึงเรื่องการผูกขาดสายพันธุ์และความหลากหลายทางชีวภาพกลายเป็นเรื่องที่คนเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงเหตุและผลถึงกันได้อย่างที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน อย่างเช่นการเคลื่อนไหวในทวิตเตอร์ เป็นต้น”
การทำลายวิถีชีวิตและวัฒนธรรมเดิมที่เกษตรกรเคยเก็บเมล็ดพันธุ์ได้ คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ได้นั้นในที่สุดก็จะไปทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและปากท้องของคนทุกคน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาหารในแต่ละมื้อของพวกเรา
#NoCPTPP
![เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านชนิดถั่ว © Peter Caton / Greenpeace เมล็ดพันธุ์พื้นบ้านชนิดถั่ว © Peter Caton / Greenpeace](https://www.greenpeace.org/static/planet4-thailand-stateless/2020/06/ceddf59f-gp0stp6ez-1024x683.jpg)
ร่วมส่งเสียงบอกนายกรัฐมนตรี/คณะรัฐมนตรีให้ยุติการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (CPTPP) ในทันที เพื่อปกป้องสิทธิของเกษตรกร ความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพของไทย จากการครอบงำของบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย และบรรษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ของโลก
มีส่วนร่วม
Discussion
ถ้าผ่านเตรียมตายจริง ค่าข้าวจะแพงขึ้น ค่าครองชีพจะแพง แต่เราจะมีรายได้น้อยลง ไทยจะล่มสลายก็คราวนี้ สนใจกันหน่อย มันสำคัญนะ เกษตรกรต้องซื้อพันธุ์พืชราคาสูง ช่วยด้วย แค่นี้เกษตรกรเราจนไม่พอ ลำบากไม่พอหรอ
ไม่เห็นด้วย เนื่องจากค่าครองชีพแพงขึ้น รายได้เท่าเดิม เสียเปรียบประเทศอื่น
แค่นี้ก็ไม่มีจะกินแล้ว
ใช่ค่ะ เห็นด้วย แค่นี้เศรษฐกิจไทยก็แย่มากเกินไปแล้ว เห็นใจคนจนๆด้วยค่ะ
คัดค้าน CPTPP
คัดค้าน cptpp ครับ
คัดค้าน
พวกเราไม่ต้องการCPPTT #NOCPPTT ประชาชนคนไทยไม่ต้องการ
พวกเราไม่ต้องการCPPTT
ขอคัดค้าน ถ้ายังทำอยู่เราจะตายกันหมดค่ะ
พวกเราไม่ต้องการCPPTT #NOCPPTT ประชาชนคนไทยไม่ต้องการค่ะ โปรดฟังเสียงการคัดค้านของประชาชนบ้าง พวกคุณอย่าเห็นเเกตัว เสียงประชาชนพวกคุณเคยฟังไหม ถ้าคุณเซนอนุมัติ ประเทศนี้ประชากรคงน้อยลง ทุกคนต่างต้องย้ายประเทศ เพราะประเทศนี้มันไม่เคยจะเจริญขึ้นเลยใน7ปี มีเเต่เเย่ลงอย่างเดียว อาหารไทยเป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก ต่อไปคงไมาไช่เเล้วค่ะถ้าคุณเซนอนุมัติ โปรดคิดให้เยอะไนะคะ #อย่าเป็นคนเห็นเเกตัวเพราะเเค่นี้ประชาชนก็เกลียดคุณมากพอเเล้วค่ะอย่าทำให้มันเเย่ไปกว่านี้นะคะลุง
คัดค้านการเข้าร่วม CPTPP ชุติมา นิ่มน้อย
คัดค้านcptpp
ไม่เอาcptpp
ขอคัดค้านค่ะ
ขอคัดค้าน ไม่มีตังละ
ฉันไม่เห็นด้วยที่สุดค่ะ!!!!
ขอคัดค้านเรื่องที่จะเข้าร่วมCPPTT
คัดค้านCPTPP
ปชช.ไม่ต้องการCPTPP!!
คัดค้านค่ะ แค่นี้ก็ลำบากกันจะตายแล้ว ยังจะให้ค่าต่างๆแพงขึ้นอีกหรอคะ ไม่เห็นแก่ตัวเกินไปหน่อยหรอคะ จะเอาแก่ได้กันเกินไปมั้ย จะโกงกินกันขนาดไหน เอาให้ตายเลยหรอคะ ลองมาเป็นคนที่โดนกดขี่เองมั้ยคะ? รีบๆออกไปสักทีนะคะ ถ้าอยู่แล้วดีขึ้นจะไม่ว่าอะไรเลย อยู่ไปก็มีแต่แย่ลง คนที่ทำหน้าที่ดีกว่าลุงมีอีกเยอะค่ะ คนที่จะทำให้ประเทศพัฒนามากกว่านี้ ขอล่ะค่ะ ออกไปสักที ยุคลุงทำให้หนูหมดความหวังมาก ไม่มีอะไรดีสักอย่าง