ความสวยงามของทะเลไทยขึ้นชื่อติดอันดับโลก แต่ในขณะเดียวกันประเทศของเราก็ติดอันดับที่ 6 ของประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก มากถึง 1 ล้านตันต่อปี
แล้วขยะที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเลเหล่านี้มาจากไหน?
จากการเปิดเผยของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชี้ว่าขยะในทะเลส่วนใหญ่มาจากแหล่งท่องเที่ยว เช่น ขวดน้ำพลาสติก ขวดแก้ว โฟม เป็นต้น ถัดมาคือขยะจากการทำการประมง เช่น อวน เชือก เป็นต้น ยังไม่รวมขยะอื่นๆที่พบได้ในทะเล เช่น ถุงพลาสติก ฝาน้ำ และเศษบุหรี่
ไม่เฉพาะแค่การท่องเที่ยว แต่รวมไปถึงขยะที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นจากบุคคล ครัวเรือน อุตสาหกรรม ขยะเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำต่างๆ จากลำคลอง สู่แม่น้ำ ท้ายที่สุดแล้วก็จะมีขยะส่วนหนึ่งลงสู่ท้องทะเล
ปัญหาขยะล้นทะเลไทยเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัญหาที่สะท้อนให้เห็นว่าบ้านเรายังขาดการจัดการขยะอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สวนทางกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเติบโตของเศรษฐกิจ
ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษในปี 2556 ซึ่งได้สำรวจปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยรวม 26.77 ล้านตัน แต่ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 7.2 ล้านตัน มีขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์อยู่ที่ 5.1 ล้านตัน ในขณะที่ขยะมูลฝอยจำนวน 6.9 ล้านตันไม่ได้นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง ส่วนอีก 7.6 ล้านตันคือปริมาณขยะมูลฝอยที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ จะเห็นได้ว่าเกินครึ่งของขยะมูลฝอยในประเทศไทยไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี
ขยะที่ไม่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธีเป็นปัญหาใหญ่ของการจัดการขยะของไทย ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น
- ขาดจิตสำนึกเพื่อสาธารณะ เมื่อประชาชนยังเห็นแก่ความสะดวกสบาย จึงสร้างขยะมากมายโดยไม่รู้ตัว (คนไทยสร้างขยะประมาณ 1.1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน) โดยเฉพาะการใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ยากและเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม
- ขาดแรงจูงใจในการจัดการขยะ เนื่องจากคนไทยไม่ได้เห็นประโยชน์ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากพอ เช่น เรื่องการแยกขยะ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแยกประเภทขยะก่อนทิ้งเพราะไม่ได้เห็นผลอย่างชัดเจนว่าการแยกขยะก่อนทิ้งนั้นสำคัญอย่างไร หรือจะเป็นเรื่องการนำของกลับมาใช้ใหม่ คนส่วนใหญ่ยังมองว่าการทิ้งขยะเป็นวิธีกำจัดขยะที่ง่ายที่สุด
- ขาดการส่งเสริมทัศนคติที่ดีและความเข้าใจในเรื่องการจัดการขยะที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม
- ขาดมาตรการทางกฎหมายที่จะลดการใช้ขยะอย่างจริงจัง เช่น การห้ามใช้ถุงพลาสติก หรือ การเพิ่มภาษีของบริษัทผู้ผลิตพลาสติก เป็นต้น
- ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนในการลงทุนเพื่อการจัดการขยะอย่างถูกวิธี
- นวัตกรรมที่จะนำไปสู่การลดขยะยังไม่แพร่หลาย เช่น การออกแบบเพื่อใช้บรรจุภัณฑ์ให้น้อยที่สุด หรือการออกแบบบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้จริงโดยไม่มีส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
แต่ท้ายที่สุดแล้วทางแก้ที่ยั่งยืนของปัญหานี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทั้งการแก้ไขปัญหาในเชิงระบบ ไปจนถึงการเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมในระดับบุคคล เช่น มีการจัดการขยะที่ดี การออกแบบที่ใช้พลาสติกให้น้อยที่สุด หรือแม้แต่การที่สาธารณชนมีความตระหนักในการบริโภค ลดและเลิกใช้พลาสติกตั้งแต่ต้นทาง เพราะการจัดการที่ปลายเหตุหลังจากขยะเกิดขึ้นแล้วนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
Discussion
ค่ะ ทิศทางของการพัฒนาประเทศ ในด้านอุตหกรรมและการระตุ้นการบริโภคผลิตภัณ ไม่ว่าสื่อ อินเตอร์เน็ท มีเดียต่างๆ ในด้านใด ทำให้เรามนุษย์เป็นมนุษย์บริโภคนิยม ทำให้การใช้ชีวิตขงคนเรามีแต่จะเพิ่มขยะมากขึ้นๆ ทุกที ทับถมลงไปบนที่มีอยู่แล้ว กลายเป็นปัญหาโลกซึ่งไม่รู้่ว่าจะเริ่มจัดการอย่างไร เริ่มที่ผู้ผลิต หรือผุุู้บริโภค ถ้ามีคาถาวิเศษได้คงอยากให้ผู้ผลิตคำนึงถึงกำไรให้น้อยลง มีจริยธรรมนึกถึงผลกระทบต่อโลกและสภาพแวดล้อมที่เราอยู่ให้มากขึ้น และผู้บริโภคต้องทันต่อกลไกลการหลอกล่อโฆษณาชวนเชื่อให้เราใช้ ให้กิน ให้แต่ง ให้เป็นเหมือนในภาพโฆษณา ทุกคนต้องการความสะดวกสบายแต่เรากำลังทำร้ายโลกที่เราอยู่ และผลกระทบย้อนกลับมาที่ตัวเราเราควรกลับมาดูว่า จริงแล้วสิ่งที่สำคัญในชีวิตมันคืออะไรกันแน่ เวลาแผนโยบายพัฒนาเกิดขึ้น ไม่ว่าเล็ก ใหญ่ ส่วนตัว หรือส่วนรวม รัฐ หรือ เอกชน ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยได้มองไปข้างหน้าถึงผลกระทบที่จะตามมา แค่ต้องการให้แผนนั้นสำเร็จ อย่างไรก็ตามเราทุกคนต้องเริ่มคิดถึงระบบบริโภคนิยมที่กำลังเป็นอยู่ตอนนี้ ตอนนี้ทุกอย่างเร็วมาก ออนไลน์ และ ขยะก็จะเพิ่มเร็วมากขึ้น นี่เรายังไม่ได้่กล่าวถึง ขยะดิจิตอล อุปกรณ์คอม ต่างๆถ้าเราช้าลง และใช้เทคโนโลยีที่มีมาทำแผนพัฒนารักษาโลก ระบบวิธีการคิด และการศึกษาและให้ความรู้กับคนรุ่นใหม่สำคัญมาก รวมทั้งคนรุ่นเก่า สมัยก่อนคุณยายคนนึงใช้ใบตองห่อของทิ้งแล้วมันก็ย่อยสลาย ทุกวันนี้จับใส่ถุงพลาสติกหมด แม่บ้านเป็นคนสำคัญที่จะจัดการเรื่องขยะต้องเข้าใจถึงปัญา และรู้วิธีจัดการ คนในประเทศต้องมีแนวทางเดียวกัน บางคนทำ บางคนไม่ทำ ก็ไม่มีทางแก้ปัญาได้ ถึงราจะมีงานต้องทำมากขึ้น แต่เราก็ต้องทำ รัฐต้องช่วยให้บริษัทเอกชน เข้ามามีบทบาทในการจัดการนี้ ทุกประเทศที่ได้รับผลกระทบต้องรวมตัวกันและมีจุดยืนของตัวเองเพื่อประเทศของตน ประชาชานต้องเข้าใจผลเสียที่กำลังป็นอยู่ สมัยเด็กๆ ที่โรงเรียนหลังจากออกกำลังกายเข้าแถวเดินเข้าชันเรียนนัเรียนจะต้องเดินเก็บขยะรอบโรงเรียน นมถั่วเหลืองที่ได้ร้บมาดื่มก็มาเป็นถังจากสวนจิตร ทุกคนเอาแก้วตัวเองไปรับมาดื่ม ก็ไม่มีกล่องขยะ ขอให้โลกของเราขยะน้อยลง