เรื่องราวความสำเร็จต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่า การยกเลิกพื้นที่อุตสาหกรรมในท้องทะเล นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลต่อระบบนิเวศในมหาสมุทร

มหาสมุทรของเรานั้นกว้างใหญ่ ไร้ซึ่งพรมแดนขวางกั้นแตกต่างกับแผ่นดินที่เราอาศัยอยู่โดยสิ้นเชิง มหาสมุทรเอื้อให้สัตว์ทะเลชนิดต่างๆ เดินทางข้ามไปยังอีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างอิสระเสรี ซึ่งน่าเศร้าที่รวมถึงขยะพลาสติกด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” จะช่วยปกป้องผืนน้ำที่กว้างใหญ่ของเราได้จริงหรือ

คำตอบสั้นๆคือ ได้! ถ้าไม่เชื่อ นี่คือหลักฐานที่พิสูจน์ให้เห็นว่า “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับผืนน้ำสีน้ำเงินนี้จริง

1.อ่าวมอนเทอเรย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

© Mike Baird

เรื่องราวของอ่าวมอนเทอเรย์นั้น เป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของการกำหนด “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” เพราะครั้งหนึ่งการล่าสัตว์และการประมงอย่างหนัก ทำให้สัตว์ป่าในพื้นที่เกือบสูญพันธุ์ ทว่าหลังเขตคุ้มครองทางทะเลแห่งชาติ (the National Marine Sanctuary) ได้รับการจัดตั้งขั้น เมื่อ พ.ศ.2535 พื้นที่ดังกล่าวรวมทั้งสัตว์ในบริเวณนั้นจึงกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

ปัจจุบันอ่าวแห่งนี้เป็นบ้านของสิงโตทะเล นกกระยาง ตัวนากแสนน่ารัก และยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสาหร่ายทะเล

อ่าวมอนเทอเรย์ยังเป็นจุดดูวาฬยอดนิยมอีกด้วย เพราะน่านน้ำแห่งนี้เต็มไปด้วยแหล่งอาหารดึงดูดวาฬที่อพยพตลอดทั้งปี เช่นฝูงวาฬหลังค่อมไปจนถึง วาฬสีน้ำเงิน วาฬพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวาฬทั้งหมด โดยนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มาดูวาฬให้เหตุผลว่านี่เป็นสาเหตุที่ต้องอนุรักษ์พื้นที่พิเศษนี้เอาไว้

2.อนุสรณ์แห่งชาติทางทะเล Papahānaumokuākea มลรัฐฮาวาย

เต่าตนุ แหวกว่ายในทะเล © John Burns / NOAA

เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล  แห่งนี้ตั้งอยู่ในใจกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่มากกว่า 1.5 ล้านตารางกิโลเมตร โดยได้รับขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ในสมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เมื่อ พ.ศ. 2549 ต่อมา ต่อมาประธานาธิบดี บารัค โอบามา ได้ขยายพื้นที่เขตคุ้มครองแห่งนี้ให้กว้างขึ้นกว่าเดิม นับเป็นผลงานที่น่าชื่นชมของอดีตผู้นำทั้งสอง

ปัจจุบัน อนุสรณ์แห่งชาติทางทะเล papahānaumokuākea เป็นเขตคุ้มครองทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นบ้านของสัตว์ทะเลมากกว่า 7,000 สายพันธุ์ โดย 1 ใน 4 ของสัตว์ที่พบเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นของหมู่เกาะฮาวาย เขตคุ้มครองแห่งนี้เป็นพื้นที่หลบภัยของ เต่าตนุ เป็ดและแมวน้ำสายพันธุ์ฮาวายที่ใกล้สูญพันธุ์ นกทะเลหลายล้านตัว ปะการัง และยังเป็นพื้นที่มีความหมายทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชนพื้นเมือง

ทั้งนี้ เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลยังเป็นที่ตั้งของแนวปะการังชื่อดังแห่งเกาะ มิดเวย์อะทอลล์ (Midway Atoll) และเป็นแหล่งทำรังของนกอัลบาทรอสที่บินไปมาข้ามมหาสมุทร

3.อ่าวแลมลัช เกาะอาร์ราน ประเทศสก๊อตแลนด์

อ่าวแลมลัช © Mike Peel

บางครั้งเรื่องราวดีๆ ก็ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เสมอไป เช่นในกรณีของอ่าวแลมมัช ซึ่งมีพื้นที่คุ้มครองเพียง 2.5 ตารางกิโลเมตร อ่าวแลมลัชอาจไม่ได้มีชื่อเสียงในระดับโลก แต่พื้นที่คุ้มครองแห่งนี้เกิดจากการรณรงค์อย่างจริงจัง จนได้รับรางวัล Goldman Enviromental Prize รางวัลที่มอบให้แด่วีรบุรุษและวีรสตรีในระดับรากหญ้าที่ช่วยปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ชาวเกาะอาร์รานใช้ทุกวิธีทางเพื่อปกป้องบ้านของพวกเค้า ไม่ว่าจะผ่านการล็อบบี้นักการเมือง งานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ การพูดคุยกับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน และต่อสู้กับกลุ่มนักลงทุนที่จะเข้ามาในพื้นที่ อ่าวแลมลัชแห่งนี้เป็นบ้านของพืชทะเลและสัตว์ทะเลหลายชนิด ซึ่งระบบนิเวศในพื้นที่ดังกล่าวขึ้นอยู่กับสาหร่ายทะเลสายพันธุ์ที่เติบโตเฉพาะในอ่าวแห่งนี้  ชาวบ้านทุกคนจึงรู้ดีว่า ต้องหยุดยั้งการใช้เครื่องมือประมงแบบทำลายล้างให้ได้ เพื่อ ปกป้องสาหร่ายทะเลและสัตว์น้ำที่สำคัญ เช่น ปลาหมึก หอยสแกลลอบ และปลาชนิดต่างๆ

4.ทะเลโรสส์มหาสมุทรแอนตาร์กติก

Adeli Penguins in the Southern Ocean. © Greenpeace / Jiri Rezac

กลุ่มเพนกวินอาเดลีกำลังเดินบนธารน้ำแข็ง เพนกวินอาเดลีพบได้แค่ในทะเลน้ำแข็งแอนตาร์กติกเท่านั้น

ทะเลโรสส์เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอนตาร์กติก และเป็นบ้านของวาฬออก้า เพนกวินและแมวน้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา ทะเลโรสส์ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน เป็น “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” เพื่อปกป้องสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแอนตาร์กติก

จะเกิดอะไรขึ้นหากเรามีเขตคุ้มครองในทุกๆที่?

เรื่องราวความสำเร็จของ “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” ข้างต้น คือ สิ่งเตือนใจที่ดีถึง “ความเป็นไปได้”  ที่เราจะยังสามารถช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลได้ทัน นอกเหนือจากทะเลโรสส์ พื้นที่ทางทะเลส่วนใหญ่เป็นเขตอาณาธิปไตยของแต่ละประเทศ  อย่างไรก็ตาม ยังมีพื้นที่มหาสมุทรอีกหลายแห่งซึ่งยังไม่ได้รับการคุ้มครอง และตอนนี้เป็นโอกาสสำคัญที่เราจะได้ช่วยกันปกป้องมหาสมุทร

โครงการฟื้นฟูมหาสมุทร ซึ่งร่างโดยเหล่านักวิทยาศาสตร์เป็นโครงการที่ไม่ซับซ้อนใดๆ แม้แต่น้อย โดยใช้การกำหนด “เขตคุ้มครองทางทะล” ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลถึง 1 ใน 3 ส่วนทั่วโลก ไม่ให้มีทำประมงแบบทำลายล้าง การทำเหมืองแร่ในทะเล และการขุดเจาะน้ำมันหรือการทำอุตสาหกรรมแบบทำลายล้างรูปแบบอื่นๆ

หากโครงการนี้เกิดขึ้นจริง จะเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ  ในด้านการอนุรักษ์ทางทะเล เพราะเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลจะครอบคลุมพื้นที่หลายล้านตารางกิโลเมตร

ขณะนี้รัฐบาลทั่วโลกกำลังทำงานในเรื่อง สนธิสัญญาทะเลหลวง หลังการประชุม ณ องค์การสหประชาชาติเมื่อปีที่ผ่านมา  และหากข้อเสนอนี้ได้รับการสนับสนุน ก็จะช่วยให้เราสามารถกำหนด “เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล” ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ดังนั้น ในปีนี้ เรามาช่วยกันสานต่องานของปีที่แล้ว ผ่านงานรณรงค์ Protect the Ocean ร่วมกับผู้คนจากทั่วโลก ผลัดดันให้สนธิสัญญาทะเลหลวงเกิดขึ้นจริง

 

ร่วมลงชื่อผลักดัน เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล ร่วมปกป้องมหาสมุทรของเรา

Humpback Whale in the Indian Ocean. © Paul Hilton / Greenpeace
ร่วมผลักดันเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลก

ด้วยวิกฤตหลายๆด้านที่กำลังคุกคามมหาสมุทร เราจึงจำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรโลกอย่างน้อย 1 ใน 3 ส่วนภายในปี พ.ศ.2573 

มีส่วนร่วม