เวลา 8.15 น. ของวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2488   กองกำลังทหารสหรัฐฯ ได้ทิ้งระเบิดปรมาณูลงบริเวณเมืองฮิโรชิมา ของประเทศญี่ปุ่น และหลังจากนั้นเพียง 3 วัน ระเบิดปรมาณูลูกที่ 2 ได้ถูกทิ้งที่เมืองนางาซากิ

แรงระเบิดได้เผาผลาญเมืองทั้งสองอย่างราบคาบ ผลกระทบยังรวมถึงแรงระเบิดที่รุนแรง รังสีความร้อน และกัมมันตรังสี ที่กระจายเป็นวงกว้าง ผลกระทบของการปนเปื้อนรังสียังคงส่งผลกระทบจนถึงปัจจุบัน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2488 ประชาชนเมืองฮิโรชิมาประมาณ 140,000 คนและชาวเมืองนางาซากิกว่า 74,000 สังเวยชีวิตให้กับเหตุการณ์ครั้งนี้ ในขณะที่คนอื่น ๆ นับไม่ถ้วนยังคงได้รับผลกระทบจากรังสี

Hiroshima Atomic Bombing 60th Anniversary. Japan 2005. © Greenpeace / Jeremy Sutton-Hibbert

โดนปรมาณูเป็นอาคารที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลางการระเบิดมากที่สุดในบรรดาอาคารที่ยังตั้งทนต่อแรงระเบิด ตัวอาคารได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพหลังจากถูกระเบิด ปัจจุบันได้กลายเป็นอนุสรณ์เตือนให้ระลึกถึงพลังทำลายล้างของระเบิดปรมาณู และเป็นสัญลักษณ์แห่งความหวังในสันติภาพและการต่อต้านการใช้อาวุธปรมาณู

ในปี พ.ศ. 2496 ดไวต์ ดี ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower ) ประธานาธิบดีของสหรัฐ ฯ กล่าวสุนทรพจน์เรื่องปรมาณูเพื่อสันติภาพ เพื่อพยายามที่จะทำให้พลังงานนิวเคลียร์เป็นที่ยอมรับของสาธารณชนมากขึ้น ในเนื้อความของสุนทรพจน์ได้เรียกร้องให้มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติและมีการควบคุม ในช่วงเวลาเดียวกันประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศรวมถึงญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาแผนการขนาดใหญ่เพื่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

และในเดือนเมษายนปีถัดมา สภาไดเอต โดยสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติของญี่ปุ่น ได้ผ่านงบประมาณการพัฒนานิวเคลียร์ครั้งแรกเพื่อสร้างอาณาจักรโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หลังจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โตไค (Tokai) แห่งแรกของประเทศในปีพ.ศ. 2509 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพิ่มเติมแพร่หลายเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศในยุค 60 และ 70

แม้ว่าเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์บนเกาะทรีไมล์ในปีพ.ศ. 2522 และอุบัติภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในปี พ.ศ. 2529 ได้สร้างความเสียหายต่อประเทศและประชาชนอย่างเห็นได้ชัด รัฐบาลญี่ปุ่นยังคงพยายามเพิ่มจำนวนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในขณะเดียวกันก็เพิกเฉยต่อเสียงของประชาชนที่ไม่เห็นด้วยที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รวมทั้งหมด 54 แห่งในญี่ปุ่นซึ่งครอบคลุมความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศร้อยละ 30 และในวันเดียวกันนั้นเองหนึ่งในหายนะภัยนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดในโลกก็เกิดขึ้นนั่นก็คืออุบัติเหตุของบริษัทพลังงานไฟฟ้า Tokyo Electric Power Fukushima Daiichi หรือ TEPCO เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้คนกว่า 160,000 คนต้องอพยพออกจากที่อยู่อาศัยและอีกแปดปีต่อมายังมีประชาชนกว่า 40,000 คนหรือมากกว่านั้นที่ยังคงไม่ได้กลับไปบ้านของตัวเอง

Abandoned Houses in Namie, Fukushima. © Christian Åslund / Greenpeace

บ้านและร้านค้าที่รกร้างในตำบลนามิเอะ เมืองฟุกุชิมะ หลังจากรัฐบาลต้องย้ายประชาชนออกจากพื้นที่หลังจากหายนะภัยโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

นิวเคลียร์สร้างความสันติสุขได้จริง ๆ หรือ?

74 และ 8 เป็นจำนวนปีที่ผ่านไปนับตั้งแต่เกิดการทิ้งระเบิดปรมาณูฮิโรชิมาและหายนะภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นระเบิดปรมาณูหรือโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อยู่ การมีอยู่ของพลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้หมายถึงความสันติสุข ในวันนี้เราต้องเผชิญหน้ากับความจริงว่าการใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันตินั้นเป็นเพียงแค่จินตนาการ 

Peace Doves - Hiroshima Atomic Bombing 60th Anniversary. Japan 2005. © Greenpeace / Jeremy Sutton-Hibbert

ภาพนกพิราบสันติภาพจำลองถูกปล่อยสู่ท้องฟ้าเนื่องในวันครบรอบ 60 ปีเหตุการณ์ทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อปี พ.ศ. 2548

ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามและซ้ำต้องเผชิญกับหายนะภัยนิวเคลียร์ที่ร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ประเทศญี่ปุ่นควรบอกลาพลังงานนิวเคลียร์ และในทางกลับกันควรจะเป็นประเทศที่เป็นผู้นำในการใช้พลังงานหมุนเวียน นี่คือพลังงานแห่งความสันติที่แท้จริง

การใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานธรรมชาติที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์นั้นไม่เพียงสร้างแต่ความสงบสุขและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังเป็นการปูทางสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าสังคมของพลังงานหมุนเวียน 100% อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมของพวกเรา

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ต้องประกาศใช้ระบบ Net Metering

ร่วมเรียกร้องให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ออกมาตรการ net metering รับซื้อไฟฟ้าโซลาร์รูฟจากบ้านเรือนของประชาชนทั่วไป

มีส่วนร่วม