All articles
-
อย่าลืม ‘จะนะ’ และทะเลไทย : เพราะการพัฒนาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งต้องฟังเสียงชุมชนในพื้นที่
ในการออกแบบนโยบายปกป้องทะเลและมหาสมุทร ผู้ออกแบบหรือพรรคการเมืองควรจะต้องให้ความสำคัญกับสิทธิชุมชนและการกระจายอำนาจสู่ประชาชนในการกำหนดอนาคตตนเอง บนข้อมูลด้านทรัพยากรและหลากหลายทางชีวภาพของทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งศักยภาพของชุมชน
-
วันสตรีสากล: กรีนพีซร่วมกับชาวประมงหญิงเรียกร้องสิทธิสตรีในมหาสมุทร
ดาการ์, เซเนกัล 8 มีนาคม 2566 - กรีนพีซลงนามเป็นส่วนหนึ่งในข้อเรียกร้องของชุมชนประมงชายฝั่งถึงผู้นำและรัฐบาล ในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากร รวมถึงรับประกันสิทธิผู้หญิงในกระบวนการจัดการทรัพยากร
-
ทำไมคนจะนะออกมาค้านคำสั่งย้าย “หมอสุภัทร”
ชาวจะนะกว่าห้าสิบชีวิตเดินทางกว่าสิบห้าชั่วโมงมาที่กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี เรียกร้องให้กระทรวงทบทวนคำสั่งย้าย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ หรือ “หมอสุภัทร"
-
A year in pictures : เล่าเรื่องผ่านรูป ปี 2565 ประเทศไทยเกิดอะไรขึ้นบ้าง
จากสถานการณ์น้ำมันรั่วระยอง ไปจนถึงการประชุม APEC ปี 2565 ประเทศไทยผ่านอะไรมาบ้าง มาดูกัน!
-
จากอ่าวไทยถึงรัฐสภา : บันทึกเดินเรือทวงคืนน้ำพริกปลาทู
ปลาทูเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่อยู่คู่ครัวไทยมานาน เพราะราคาถูก รสชาติอร่อย และเต็มไปด้วยสารอาหาร มันจึงช่วยเลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนไทยมานานหลายชั่วอายุคน แต่ปลาทูไทยวันนี้ไม่ได้มีราคาถูกและหาง่ายเหมือนดังแต่ก่อน ที่วางขายในตลาดหรือห้างร้านนับวันยิ่งตัวเล็กลง และส่วนมากนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อเทียบปี 2557 และ 2562 ผลผลิตปลาทูไทยลดลงเกือบ 6 เท่า[1] และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเราปล่อยให้มีการทำประมงเกินขนาดและจับสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยไร้การควบคุม หลายปีที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านจึงรวมตัวกันรณรงค์ให้หยุดซื้อ-จับ-ขาย สัตว์น้ำวัยอ่อน พวกเขาร่วมกันทำบ้านปลา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน สร้างข้อตกลงในชุมชนไม่จับสัตว์น้ำบริเวณดังกล่าว สื่อสารวิกฤตครั้งนี้กับสังคม หรือแม้กระทั่งเดินทางมายื่นหนังสือต่อห้างร้านในกรุงเทพฯ เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน “ปัจจุบันมีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนมากขึ้น ทำให้ประมงพื้นบ้านที่เป็นประมงขนาดเล็ก ที่จับปลาตัวใหญ่ได้ผลกระทบโดยตรง รวมถึงผู้บริโภคที่ต้องซื้ออาหารทะเลในราคาที่แพงขึ้น การรณรงค์ในเรื่องของการห้ามซื้อห้ามขายสัตว์น้ำวัยอ่อนทั่วกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงทางอาหารในอนาคต” ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านทุ่งน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เล่าให้เราฟังขณะรอยื่นหนังสือต่อห้างสรรพสินค้าให้หยุดรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน ความพยายามเหล่านี้ช่วยสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้บริโภคและชาวประมงในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ปิยะมองว่า มาตรการควบคุมจากภาครัฐเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ตลอดเวลาที่ชาวประมงร่วมกันรณรงค์ ภาครัฐกลับไม่มีส่วนร่วมในการผลักดันและควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน แม้จะมี “กุญแจ” สำคัญอยู่ในมือ กุญแจสำคัญที่ว่า คือพระราชกําหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตราที่ 57 ซึ่งระบุว่า…
-
#SaveChana ‘มะยะ’ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น กับการปกป้องบ้านเกิดผ่านอวนปูและอาหาร
มะยะ เป็นชาวบ้านมีอาชีพทำอวนปูอยู่ใน ต.สะกอม อ.จะนะ จังหวัดสงขลา อีกทั้งยังเป็นบุคคลหลักที่คอยปรุงอาหารให้กับขบวนการขับเคลื่อนจะนะรักษ์ถิ่น เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ
-
#SaveChana : SEA จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของจะนะได้จริงหรือไม่?
การศึกษา SEA จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของชุมชนชาวจะนะหรือไม่? เพราะเป็นเวลาเกือบครึ่งปีแล้วแต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ชาวบ้านกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นจึงได้เปิดเวทีร่วมพูดคุยถึงความคืบหน้าของ SEA รวมทั้งสื่อสารกับคนเมืองผ่านงาน ‘อะโบ๊ยหมะ ครั้งที่ 7 เลจะนะบุกกรุง’ เพื่อย้ำว่าจะนะนั้นมีดีเกินกว่าที่จะกลายเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม
-
#SaveChana เรื่องราวการปกป้องบ้านเกิดของ ครูเฉม เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
เรื่องราวการ #SaveCHANA ผ่านครูเฉม ครูสอนคัมภีร์ สอนศาสนาและความรู้วิชาการให้กับเด็ก ๆ ใน ต.สะกอม อ.จะนะ จ.สงขลา และยังเป็นนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน
-
ประมงพื้นบ้านล่องเรือจากทะเลถึงรัฐสภาไทยริมแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกร้องให้บังคับใช้กฎหมายเลิกจับสัตว์น้ำวัยอ่อน
กรุงเทพฯ, 8 มิถุนายน 2565 — ภาคีเครือข่ายทวงคืนน้ำพริกปลาทูล่องเรือจอดหน้ารัฐสภาไทย และ ยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หลังเดินทางกว่า 14 วัน รวมระยะทางราวหนึ่งพันกิโลเมตร เรียกร้องภาครัฐออกมาตรการควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน แก้วิกฤตทรัพยากรประมง
-
“ปลาเงี่ยน” ซาซิมิไทยที่เกือบหายไปเพราะปลาหมดทะเล
การนำปลาแร่สดมาทานคู่กับเครื่องเคียง คือเมนูอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมในไทยที่เรียกกันติดปากว่า “ซาซิมิ” แต่รู้หรือไม่ว่ามีปลาทะเลไทยที่ถูกนำมาทำ “ซาซิมิ” เช่นกัน โดยเมนูนี้ทางภาคใต้เรียกว่า ปลาเงี่ยน ปลาเงี้ยน ปลาจิ้ม หรือแล้วแต่บางพื้นที่จะเรียก