All articles
-
Fake My Catch: ความไม่น่าเชื่อถือของการตรวจสอบย้อนกลับทูน่ากระป๋อง
รายงานฉบับนี้พบว่าข้อมูลของบัมเบิล บีในเว็บไซต์ “Trace My Catch” ที่จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ปลาทูน่าของตนตั้งแต่การจับจนมาถึงเป็นกระป๋องนั้น มีไม่เพียงพอและในบางกรณีก็ไม่ถูกต้อง
-
การเจรจาสนธิสัญญาทะเลหลวงล่ม… อีกแล้ว
การประชุมหารือเพื่อลงมติรับรองสนธิสัญญาทะเลหลวงไปไม่ถึงเป้าหมาย แม้ในช่วง 48 ชั่วโมงที่ผ่านมาจะมีความคืบหน้าในหลายประเด็น ส่งผลให้แผนการปกป้องมหาสมุทรให้ได้ 30% ภายในปี พ.ศ. 2573 ยังต้องล่าช้าต่อไปอีก แม้เจรจากันมายาวนานกว่า 20 ปี
-
ประชุม IGC5 : ความหวังสุดท้ายของทะเลหลวง
มหาสมุทรทั่วโลกกำลังเผชิญสารพัดภัยคุกคาม ขณะที่พื้นที่เพียง 1% ของทะเลหลวงเท่านั้นที่ได้รับการปกป้อง
-
จากอ่าวไทยถึงรัฐสภา : บันทึกเดินเรือทวงคืนน้ำพริกปลาทู
ปลาทูเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่อยู่คู่ครัวไทยมานาน เพราะราคาถูก รสชาติอร่อย และเต็มไปด้วยสารอาหาร มันจึงช่วยเลี้ยงปากเลี้ยงท้องคนไทยมานานหลายชั่วอายุคน แต่ปลาทูไทยวันนี้ไม่ได้มีราคาถูกและหาง่ายเหมือนดังแต่ก่อน ที่วางขายในตลาดหรือห้างร้านนับวันยิ่งตัวเล็กลง และส่วนมากนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อเทียบปี 2557 และ 2562 ผลผลิตปลาทูไทยลดลงเกือบ 6 เท่า[1] และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเราปล่อยให้มีการทำประมงเกินขนาดและจับสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยไร้การควบคุม หลายปีที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านจึงรวมตัวกันรณรงค์ให้หยุดซื้อ-จับ-ขาย สัตว์น้ำวัยอ่อน พวกเขาร่วมกันทำบ้านปลา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน สร้างข้อตกลงในชุมชนไม่จับสัตว์น้ำบริเวณดังกล่าว สื่อสารวิกฤตครั้งนี้กับสังคม หรือแม้กระทั่งเดินทางมายื่นหนังสือต่อห้างร้านในกรุงเทพฯ เพื่อขอความร่วมมือให้หยุดรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน “ปัจจุบันมีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อนมากขึ้น ทำให้ประมงพื้นบ้านที่เป็นประมงขนาดเล็ก ที่จับปลาตัวใหญ่ได้ผลกระทบโดยตรง รวมถึงผู้บริโภคที่ต้องซื้ออาหารทะเลในราคาที่แพงขึ้น การรณรงค์ในเรื่องของการห้ามซื้อห้ามขายสัตว์น้ำวัยอ่อนทั่วกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับความมั่นคงทางอาหารในอนาคต” ปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านทุ่งน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ เล่าให้เราฟังขณะรอยื่นหนังสือต่อห้างสรรพสินค้าให้หยุดรับซื้อสัตว์น้ำวัยอ่อน ความพยายามเหล่านี้ช่วยสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้บริโภคและชาวประมงในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ ปิยะมองว่า มาตรการควบคุมจากภาครัฐเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลง แต่ตลอดเวลาที่ชาวประมงร่วมกันรณรงค์ ภาครัฐกลับไม่มีส่วนร่วมในการผลักดันและควบคุมการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน แม้จะมี “กุญแจ” สำคัญอยู่ในมือ กุญแจสำคัญที่ว่า คือพระราชกําหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตราที่ 57 ซึ่งระบุว่า…
-
ทำประมงในทะเลหลวงแล้วไม่ค่อยมีกำไร จะอยู่รอดได้ต้องกดขี่แรงงาน?
เขียนโดย Mallika Talwarแปลและเรียบเรียงโดย อารีญา ยอดดำเนิน
-
นักกิจกรรมกรีนพีซชุมนุมหน้างานประชุมสนธิสัญญาทะเลหลวงของสหประชาชาติ
นักกิจกรรมกรีนพีซสากลพยายามวางป้ายรณรงค์ขนาดใหญ่บริเวณหน้าอัลติสอารีนา ในกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส ซึ่งเป็นสถานที่จัดการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของโลก
-
แรงงานประมงข้ามชาติอินโดฯ ประกาศชัยชนะหลังรัฐบาลบังคับใช้กฎหมายประกันสิทธิและความปลอดภัย
อินโดนีเซียประกาศบังคับใช้กฎหมายปกป้องสิทธิและการจ้างงานแรงงานข้ามชาติบนเรือประมง ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) และการละเมิดในอุตสาหกรรมประมง
-
#SaveChana ‘มะยะ’ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น กับการปกป้องบ้านเกิดผ่านอวนปูและอาหาร
มะยะ เป็นชาวบ้านมีอาชีพทำอวนปูอยู่ใน ต.สะกอม อ.จะนะ จังหวัดสงขลา อีกทั้งยังเป็นบุคคลหลักที่คอยปรุงอาหารให้กับขบวนการขับเคลื่อนจะนะรักษ์ถิ่น เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุติโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ
-
6 สัตว์ทะเลที่แสดงให้เห็นว่าความหลากหลายทางเพศคือเรื่องธรรมชาติ
ความหลากหลายทางเพศไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในมนุษย์เท่านั้น เนื่องในเดือนไพรด์ เราจึงเลือก 6 สิ่งมีชีวิตในทะเล ที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางเพศในธรรมชาติมาเล่าให้ฟัง
-
#SaveChana : SEA จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของจะนะได้จริงหรือไม่?
การศึกษา SEA จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของชุมชนชาวจะนะหรือไม่? เพราะเป็นเวลาเกือบครึ่งปีแล้วแต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ชาวบ้านกลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นจึงได้เปิดเวทีร่วมพูดคุยถึงความคืบหน้าของ SEA รวมทั้งสื่อสารกับคนเมืองผ่านงาน ‘อะโบ๊ยหมะ ครั้งที่ 7 เลจะนะบุกกรุง’ เพื่อย้ำว่าจะนะนั้นมีดีเกินกว่าที่จะกลายเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม