-
มหาพายุหมุนเขตร้อนในโลกเรือนกระจก
พายุมังคุดเริ่มก่อตัวเป็นพายุไต้ฝุ่นวันที่ 9 กันยายน 2561 ในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุสร้างความเสียหายให้กับโครงข่ายไฟฟ้าเกือบทั้งหมดของเกาะกวม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 13 กันยายน จากนั้นทวีความรุนแรงขึ้นเป็นมหาพายุไต้ฝุ่นโดยมีความเร็ว 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ศูนย์กลางที่เรียกว่าตาของพายุกว้าง 50 กิโลเมตร ขนาดของพายุวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 900 กิโลเมตร มุ่งตรงไปยังเกาะลูซอนด้านเหนือสุดของฟิลิปปินส์ในพื้นที่ที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำแถบจังหวัดคากายัน (Cagayan) โดยความเร็วลมเพิ่มขึ้นเป็น 269 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นข้ามทะเลจีนใต้เข้าถล่มฮ่องกงและมณฑลกวางตุ้งของจีนแผ่นดินใหญ่ สร้างผลกระทบและความเสียหายต่อผู้คนนับล้านที่อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลตามแนวเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นมังคุดลูกนี้
-
กรีนพีซเผยผลการสำรวจ: แบรนด์ระดับโลกเกี่ยวโยงกับการตัดไม้ทำลายป่าฝนเขตร้อนในอินโดนีเซีย
จาการ์ตา, 19 กันยายน 2561 - จากผลการรวบรวมข้อมูลเชิงสืบสวนของกรีนพีซสากลระบุว่า ผู้ค้าน้ำมันปาล์มหลายรายและแบรนด์ระดับโลกได้แก่ ยูนิลีเวอร์(Unilever), เนสท์เล่(Nestlé), คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ(Colgate-Palmolive) และมอนเดลีซ(Mondelez) ได้ทำลายผืนป่าฝนเขตร้อนไปเป็นจำนวนมาก โดยมีขนาดเกือบสองเท่าของประเทศสิงคโปร์ในช่วงเวลาน้อยกว่าสามปี
-
เราจะมีมาตรการทำให้อาหารปลอดภัยได้อย่างไร
หลังตรวจเลือดและปัสสาวะหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชปนเปื้อนในร่างกายของเด็กในโรงเรียนพบว่า เด็กในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกว่าร้อยละ 90 มีสารเคมีปนเปื้อนอยู่ในร่างกาย และเป็นที่น่าตกใจอย่างยิ่งคือการพบสารเคมีปนเปื้อนในร่างกายของเด็กตั้งแต่ในระดับชั้นอนุบาล
-
ปัญหาขยะพลาสติกที่ผู้ผลิตต้องร่วมรับผิดชอบ
“อยากกินขนมยี่ห้อนี้มาก แต่ไม่อยากสร้างขยะพลาสติก บางทีก็ตัดปัญหาด้วยการไม่ซื้อกินเลย แต่บางทีก็ทนไม่ไหวต้องซื้อกิน เป็นการสร้างขยะที่เรารู้สึกผิด”
-
ตัดไฟตั้งแต่ต้นลม เราต้องหยุดขยะพลาสติกจากต้นทาง
เมื่อสองปีก่อน ผมเคยมีโอกาสไปสอนหลักสูตรการดำน้ำให้กับเด็กๆในประเทศไทยในหมู่เกาะหนึ่งที่ผมชื่นชอบ ระหว่างที่เราว่ายน้ำอยู่ในหมู่เกาะ ผมสังเกตความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ผมสังเกตเห็นกองขยะพลาสติกลอยอยู่เต็มพื้นที่บริเวณนั้น
-
“สนธิสัญญาทะเลหลวง” โอกาสสุดท้ายของมหาสมุทร
สนธิสัญญาทะเลหลวง (Global Ocean Treaty) โดยสหประชาชาติกำลังเกิดขึ้นในวันที่ 4-17 กันยายนนี้ นักวิจัยต่างบอกว่า “นี่เป็นโอกาสสุดท้ายของมหาสมุทร”
-
YWM36 ไอดอลหน้าใหม่ หัวใจปลอดขยะพลาสติก
YWM36 คือตัวย่อที่มาจากชื่อโครงการ Youth Wavemakers ตอน Break Free From Plastic และตัวเลข 36 ก็คือจำนวนของน้อง ๆ เยาวชนจาก 1,200 คน ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนี้
-
กาแฟสัญญาใจ แทนคำสัญญาว่าขยะของเราจะไม่เป็นภาระของคนที่อยู่ข้างหลัง
พูดถึงเรื่องราวการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติแล้ว ผู้คนมักหลงใหลการเดินเข้าป่าเพื่อหาความสวยงามของธรรมชาติ บ้างก็อยากไปสนุกกับกลุ่มเพื่อน บ้างก็อยากขึ้นไปถ่ายภาพสวย ๆ บ้างก็เพียงแค่อยากท้าทายตัวเอง รีเฟรชตัวเองอีกครั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่บรรลุสิ่งที่อยากทำแล้วเบื้องหลังนั้น เป็นอะไรไปไม่ได้ก็คือขยะต่างๆ ที่หลาย ๆ คนนำไปเข้าไปได้แต่ดันหลงลืมที่จะหยิบมันติดกลับมา ผมเองก็เป็นคนนึงที่หลงใหลในการเดินไปเรื่อย ๆ บนเขา เพียงแค่อยากสูดอากาศดี ๆ พูดคุยสนุก ๆ กับกลุ่มเพื่อน ในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าป่าอีกครั้ง ที่น้ำตกปิตุ๊โกร จังหวัดตาก การเดินทางครั้งนี้ก็เหมือนการเดินป่าขึ้นเขาเหมือนครั้งก่อน ๆ แต่ต่างกันที่ว่าได้มาเจอกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า นอกจากการท่องเที่ยวแล้ว…
-
เมื่อพลาสติกไม่เพียงแต่ทำลายมหาสมุทร หากยังปล่อยก๊าซเรือนกระจก
Sarah-Jeanne Royer นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาวาย พร้อมทีมวิจัย พบว่าพลาสติกที่กำลังย่อยสลายสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกชนิดใหม่ที่ทำลายชั้นบรรยากาศโลก
-
ฉลามเสือดาวที่กำลังจะหายไป
ปลาฉลามอีกชนิดในประเทศไทยที่นับเป็นฉลามใจดี ขวัญใจนักดำน้ำ คือ ฉลามเสือดาว ฉลามชนิดนี้เคยพบได้ค่อนข้างบ่อยและอยู่ค่อนข้างประจำที่จึงกลายเป็นไฮไลท์การท่องเที่ยวดำน้ำที่สำคัญ แต่ช่วง 10-15 ปีที่ผ่านมารายงานการพบฉลามเสือดาวน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เกิดอะไรขึ้นกับฉลามเสือดาว และฉลามเสือดาวหายไปไหน