ราเชล คาร์สัน นักชีววิทยาทางทะเลชาวอเมริกันเคยกล่าวไว้ว่า ในธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดแยกจากกัน ทุกสิ่งทุกอย่างเชื่อมโยงกัน เช่นเดียวกันกับมนุษย์ พืช สัตว์ สิ่งแวดล้อม พวกเราเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว การกระทำของสิ่งใดสิ่งหนึ่งย่อมส่งผลต่อสิ่งอื่นๆ เช่นเดียวกัน กิจกรรมของมนุษย์กลายเป็นแรงกระทำที่มีผลต่อธรรมชาติ กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของโลกอย่างมหาศาล

จากมหาฟ้าสีครามไปสู่สมุทรสีน้ำเงิน ในโอกาสของ Earth Day 2019 : Protect Our Species เราขอนำเสนอผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์เราที่เกิดขึ้นกับโลกในสัปดาห์คุ้มครองโลก (Earth Week) และขอชวนทุกคนมาปกป้อง คุ้มครองโลกใบนี้ร่วมกัน

Earth Day matters Ep2. : หมีขาวทางตอนเหนือ กับเพนกวินทางตอนใต้

หมีขาวขั้วโลกเหนือ

Polar Bear Family in the Arctic. © Sandra Walser / Greenpeace

อาร์กติกในเขตขั้วโลกเหนือมีอุณหภูมิติดลบจนไม่น่าเชื่อว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ แต่ก็ยังมีสัตว์น่าอัศจรรย์อีกหลายชนิดอาศัยอยู่ที่นี่รวมทั้ง หมีขาวขั้วโลก

หมีขั้วโลกได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของภูมิภาคอาร์กติกด้วยความน่ารักและสง่างามของมัน เจ้าหมีขาวร่างยักษ์นี้ก็เป็นหนึ่งในหลายสายพันธุ์ที่ได้รับการพิจารณาให้อยู่ในระดับ “เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์” และได้รับการคุ้มครองโดยสหรัฐแบบเดียวกับวาฬเบลูกา โดยอ้างอิงจากองค์กร U.S. Fish and Wildlife Service

Polar Bears in Canada. © Bernd Roemmelt / Greenpeace

แม้ว่ารูปร่างหน้าตาที่ดูน่ารักของหมีขั้วโลกนี้จะทำให้เรารู้สึกว่ามันเป็นสัตว์ที่น่ารัก แต่หมีขั้วโลกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินเนื้อ ซึ่งของโปรดของมันก็คือ แมวน้ำ

Polar Bear in Svalbard. © Rasmus Törnqvist / Greenpeace

หมีขั้วโลกกำลังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างร้ายแรง ปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญต่างแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะโลกร้อนที่มีต่อความเป็นอยู่ของหมีขั้วโลกเพราะน้ำแข็งที่ละลายเร็วเนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้หมีล่าเหยื่อได้ยากขึ้น ทำให้หมีขั้วโลกเผชิญกับความอดอยาก และการขาดแคลนอาหาร

เพนกวิน นกแห่งขั้วโลกใต้

นอกจากสัปดาห์นี้จะเป็นสัปดาห์คุ้มครองโลกแล้ว ในวันที่ 25 เมษายนของทุกปียังเป็น “วันเพนกวินโลก” อีกด้วยนะ เจ้าเพนกวินเหล่านี้มีสายพันธุ์ทั้งหมดถึง 17 สายพันธุ์ด้วยกันและทุกสายพันธุ์มีขั้วโลกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย สายพันธุ์ที่โด่งดังก็มี เพนกวินจักรพรรดิ เพนกวินเจนทู เพนกวินร็อกฮอปเปอร์ เป็นต้น

Colony of Penguins in the Antarctic. © Roie Galitz

นกเพนกวินแม้ว่าจะบินไม่ได้แต่กลับขึ้นชื่อเรื่องความเก่งกาจในการว่ายและดำน้ำ อย่างเรื่องการดำน้ำต้องยกให้เพนกวินจักพรรดิเลยเพราะสามารถดำน้ำลงไปจับปลาได้ลึกราวๆ 500 เมตร

ตอนนี้ บ้านเพนกวินเหล่านี้กำลังถูกภัยคุกคามจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์เราที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เช่น การเผาถ่านหินมาผลิตพลังงาน และพวกมันเองก็ยังตกอยู่ในอันตรายจากอุตสาหกรรมประมง  

แม้ว่าเพนกวินในแอนตาร์กติกกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต แต่ยังคงมีความพยายามช่วยเหลือปกป้องเพนกวินและบ้านของพวกมันด้วยการเสนอให้มีการกำหนดมหาสมุทรแอนตาร์กติกเป็นเขตปกป้องระบบนิเวศทางทะเล

King Penguins in Chile. © Paul Hilton / Greenpeace

Adélie Penguins in the Antarctic. © Daniel Beltrá / Greenpeace

Weddell Seal and Gentoo Penguin. © Paul Hilton / Greenpeace

ติดตามการสำรวจมหาสมุทรตั้งแต่ขั้วโลกเหนือจรดขั้วโลกใต้ในบทความ ร่วมเดินทางไปกับเรา กับภารกิจเพื่อปกป้องมหาสมุทร

แม้จะเป็นเรื่องน่าหดหู่ใจที่สิ่งมีชีวิตอันอัศจรรย์เหล่านี้กำลังถูกคุกคามจากมนุษย์เรา แต่เรายังคงต้องคิดบวกและมีความหวัง เรายังพอจะชะลอการสูญพันธุ์ของสัตว์เหล่านี้ (และสัตว์อีกหลากหลายที่ไม่ได้กล่าวถึง) ด้วยการลดการคุกคามสัตว์ป่า แทนที่การทำลายด้วยการฟื้นฟู คุ้มครองโลกร่วมกัน

 

Earth Day Matters EP1 : Under the Ocean

Earth Day Matters EP3 : เรื่องของนก

Earth Day Matters EP4 : ผึ้ง นักปรุงอาหารของโลก

Earth Day Matters EP5 : ชีวิตในป่าฝนเขตร้อน

#EarthDay #ProtectOurSpecies

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม