All articles
-
กรีนพีซย้ำ นโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง 2566 ต้องอยู่บนรากฐานของความเป็นธรรมทางสังคมและไม่นำไปสู่การฟอกเขียว
กรีนพีซ ประเทศไทยได้เปิดตัวแคมเปญ #VoteForClimate เข้าคูหากาสิ่งแวดล้อม พร้อมกับชูประเด็น “ข้อเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมต่อพรรคการเมือง”
-
12 ปีหลังหายนะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ การหันกลับไปใช้พลังงานนิวเคลียร์อาจก่อภาระในอนาคต
ครบรอบ 12 ปีของเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางตะวันออกของญี่ปุ่นซึ่งทำให้เกิดเหตุการณ์หายนะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะตามมาซึ่งสร้างความเสียหายมหาศาลให้กับญี่ปุ่น กรีนพีซ ญี่ปุ่น ขอใช้เวลานี้เพื่อระลึกถึงผู้คนที่ต้องสูญเสียคนที่รักจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างสุดซึ้ง และขอส่งความห่วงใยของเราไปยังทุก ๆ คนที่ได้รับผลกระทบ ตลอดเวลา 12 ปีที่ผ่านมา หลายภาคส่วนได้พยายามฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบตามระบบ แต่ขณะเดียวกัน รัฐบาลญี่ปุ่นกลับมีท่าทีชัดเจนว่าจะนำโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กลับมาอีกครั้ง
-
วันสตรีสากล: กรีนพีซร่วมกับชาวประมงหญิงเรียกร้องสิทธิสตรีในมหาสมุทร
ดาการ์, เซเนกัล 8 มีนาคม 2566 - กรีนพีซลงนามเป็นส่วนหนึ่งในข้อเรียกร้องของชุมชนประมงชายฝั่งถึงผู้นำและรัฐบาล ในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากร รวมถึงรับประกันสิทธิผู้หญิงในกระบวนการจัดการทรัพยากร
-
กรีนพีซและอีโคแอคชั่นเปิดเผยแผนที่หายนะสิ่งแวดล้อมจากสงครามรัสเซียในยูเครน
แผนที่แสดงการทำลายสิงแวดล้อมในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาของสงคราม และเป็นข้อมูลให้รัฐบาลยูเครนและคณะกรรมาธิการยุโรปซึ่งประสานงานในการวางแผนและการลงทุน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติของยูเครนในอนาคต
-
เจรจาสนธิสัญญาทะเลหลวงจะเริ่มขึ้นในวันจันทร์นี้ เพื่อหาข้อสรุปกฎหมายปกป้องมหาสมุทรโลก
การเจรจาเพื่อหาข้อสรุปสนธิสัญญาทะเลหลวงจะเริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งหากการประชุมครั้งนี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ จะทำให้เป้าหมายในการปกป้องพื้นที่ร้อยละ 30 ของมหาสมุทรทั้งหมด ภายในปี 2573 ล้มเหลว
-
กลุ่มชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศในฟิลิปปินส์และผู้สนับสนุนเรียกร้อง เชลล์ หยุดการขุดเจาะน้ำมันและชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหาย
กลุ่มผู้รอดชีวิตและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เกิดขึ้นเพราะวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และผู้สนับสนุนจากกรีนพีซ ฟิลิปปินส์ เดินทางมายังสำนักงานใหญ่ของเชลล์ ยื่นจดหมายเรียกร้องให้เชลล์หยุดการแสวงหาผลกำไรจากการทำลายสภาพภูมิอากาศและต้องจ่ายเงินชดเชยค่าความสูญเสียและเสียหายที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
-
นักกิจกรรมด้านสภาพภูมิอากาศของกรีนพีซปีนแท่นขุดเจาะน้ำมันขนาดใหญ่ของเชลล์ เรียกร้องให้เชลล์ ‘หยุดขุดเจาะและจ่ายค่าความสูญเสียและความเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ’
หลังจากเชลล์ประกาศแสวงหาน้ำมันเพื่อผลกำไรในมหาสมุทร นักกิจกรรมกรีนพีซสากล 4 คน ขึ้นไปบนแท่นขุดเจาะ ไวท์ มาร์ลิน (White Marlin) ในทะเลตอนเหนือของเกาะคันนารี่ และประท้วงโดยสันติเพื่อคัดค้านการทำลายสภาพภูมิอากาศทั่วโลกที่เกิดขึ้นโดยเชลล์และกลุ่มอุตสาหกรรมฟอสซิล โดยที่บริษัทเหล่านี้ไม่ต้องรับผิดชอบความสูญเสียและเสียหายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศแม้แต่น้อย
-
เกรียตา ทุนแบร์ยและกลุ่มประชาชนรวมตัวประท้วงแผนการขยายเหมืองถ่านหิน การ์ซไฟเลอร์ ในลูทเซรัท เยอรมนี
พื้นที่ของหมู่บ้านลูทเซรัทคือถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคาร์บอนที่ก่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศมากที่สุด เหมืองลิกไนต์ไรน์แห่งนี้ถือเป็นแหล่งที่เก็บคาร์บอนและหากขุดขึ้นมาใช้จะเป็นแหล่งกำเนิดของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป การที่บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล RWE วางแผนที่จะทำลายชุมชนเพื่อขยายเหมืองถ่านหินเป็นการกระทำที่คิดถึงผลประโยชน์มาก่อนชีวิตประชาชน
-
ผลวิเคราะห์ล่าสุดระบุ การประชุม World Economic Forum 2022 มีเครื่องบินส่วนตัวปล่อยก๊าซเพิ่มขึ้น 4 เท่า
กลุ่มคนร่ำรวยและมีอำนาจรวมตัวเดินทางไปที่ดาวอสเพื่อเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศและความไม่เท่าเทียม แต่กลับใช้วิธีการเดินทางที่ก่อมลพิษมากที่สุดซึ่งก็คือ เครื่องบินเจ็ทส่วนตัว ขณะที่ตอนนี้ยุโรปต้องเจอกับอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้แม้จะเป็นช่วงฤดูหนาวในเดือนมกราคม นอกจากนี้ชุมชนทั่วโลกยังต้องเผชิญกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วซึ่งเป็นผลพวงของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
-
ความเห็นของกรีนพีซกรณีการแต่งตั้งซีอีโอบริษัทน้ำมันให้เป็นประธาน COP28 ที่ดูไบ
กรีนพีซรู้สึกตระหนกอย่างยิ่งต่อการแต่งตั้งซีอีโอบริษัทน้ำมันให้เป็นผู้นำการเจรจาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ถือเป็นแบบอย่างที่เป็นอันตราย สุ่มเสี่ยงต่อความน่าเชื่อถือของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และความไว้วางใจที่สหประชาชาติมอบให้ในนามของประชาชน