พวกเรากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุข การศึกษาล่าสุดระบุว่าประชาชนราว 4.5 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตซึ่งมีสาเหตุโดยตรงจากมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล ขณะที่ตัวการสำคัญของมลพิษทางอากาศซึ่งคือ อุตสาหกรรมน้ำมัน ถ่านหิน และยานยนต์ต่างกอบโกยผลกำไร แต่เรากลับต้องจ่ายด้วยสุขภาพทั้งของเรา และของโลก
เนื้อหาโดยสรุป
- มลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลไม่เพียงส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศแต่ยังส่งผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์
- ประชาชนทั่วโลกต่างลุกขึ้นมาปกป้องสุขภาพของตนเองและของโลกจากมลพิษทางอากาศ ในจาการ์ตามีการฟ้องร้องรัฐบาลในการเพิกเฉยต่อการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ ในเบลเยี่ยมผู้กลุ่มพ่อแม่เดินขขบวนปิดถนนหน้าโรงเรียนในเช้าวันศุกร์เพื่อลดมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ หรือในไทยเองที่มีการระดมทุนจากภาคประชาชนทำให้โรงพยาบาลทั่วประเทศสร้างระบบหลังคาจากโซลาร์เซลล์ ลดการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล
นอกจากการก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลยังเป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก ทว่าบริษัทอุตสาหกรรมที่เร่งเร้าให้มลพิษทางอากาศรุนแรงขึ้น และรัฐบาลผู้ที่มีอำนาจก็ยังไม่ได้ทำอะไรมากพอที่จะสร้างการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน
ข่าวดีก็คือผู้คนเช่นคุณนับล้านคนทั่วโลก กำลังร่วมกันเรียกร้องการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ แม้บริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่จะเพิกเฉยต่อปัญหา แต่ผู้คนก็มารวมตัวกันสู้เพื่ออนาคตที่เราทุกคนจะสามารถสูดอากาศที่ไม่มีอันตรายต่อเรา ลูกหลานของเรา หรือโลกใบนี้ได้ ตามที่เกรย์ต้า ทุนแบรย์ กล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงกำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม” ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของกลุ่มคนที่ลุกขึ้นเป็นผู้นำเสนอทางออก
1. ประชาชน 31 คนรวมกลุ่มเพื่อฟ้องรัฐบาล

จาการ์ตาเป็นหนึ่งในเมืองที่มีปัญหามลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก และเมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 ที่ผ่านมา หลังจากที่คุณภาพอากาศในจาการ์ตาเลวร้าย ประชาชนในจาการ์ตา 31 คนรวมตัวกันฟ้องรัฐบาลเพราะรัฐบาลขาดการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเรื่องมลพิษทางอากาศ คนกลุ่มนี้หรือที่เรียกว่า Coalition for the Clean Air Initiative รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องกฏหมายอากาศสะอาดจากรัฐบาล รวมถึงประธานาธิบดีและกระทรวง ผ่านทางการฟ้องร้องคดี
ในการฟ้องร้องคดี มีผู้คน 26,000 คนร่วมลงนามในคำร้องเพื่อขอให้กระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้นำข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลกมาใช้เป็นมาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศ สมาคมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในอินโดนีเซียได้กล่าวถึงความกังวลเรื่องผลกระทบที่เป็นอันตรายจากมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพของเด็ก แพทย์จากทั่วอินโดนีเซียร่วมสนับสนุนอย่างล้นหลามเพื่อต้องการให้เกิดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างเร่งด่วน ผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตาตอบรับความต้องการของประชาชนและสัญญาว่าจะปฎิบัติตามข้อเรียกร้องที่ระบุไว้ในคำฟ้องร้องคดีเป็นส่วนใหญ่
2. แม่เป็นผู้นำการรณรงค์ระดับชาติ

กรีนพีซ เบลเยี่ยมเปิดตัวโครงการตรวจสอบมลพิษทางอากาศในโรงเรียน 222 แห่งทั่วประเทศ จากข้อมูลในรายงานระบุว่าสองในสามของโรงเรียนที่เข้าร่วมได้รับความเดือดร้อนจากคุณภาพอากาศที่เลวร้าย มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการลดมลพิษทางอากาศในบริเวณโรงเรียนเหล่านี้ สถานีโทรทัศน์แห่งชาติได้ติดตามข้อมูลของโครงการนี้และได้เปลี่ยนแปลงผังรายการเป็นสารคดีที่แสดงให้เห็นถึงวิกฤตมลพิษทางอากาศที่เด็ก ๆ ต้องเผชิญ แอนคาเทรียนเป็นคุณแม่ที่ห่วงใยสุขภาพของเด็ก ๆ ได้รวมตัวกันกับกลุ่มพ่อแม่เพื่อปิดถนนหน้าโรงเรียนในเช้าวันศุกร์
แอนคาเทรียนเรียกร้องให้ผู้ปกครองและโรงเรียนอื่นเข้าร่วมกิจกรรมนี้ การรณรงค์ของเธอได้จุดประกายให้เกิดความเคลื่อนไหวระดับชาติ ผู้ปกครองทั่วประเทศมารวมตัวกันและปิดถนนหน้าโรงเรียนของลูกพวกเขาทุกสัปดาห์จนกระทั่งถึงวันเลือกตั้งท้องถิ่นเพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลง การรณรงค์ของพวกเขาทำให้ประเด็นมลพิษทางอากาศกลายเป็นวาระทางการเมืองในการเลือกตั้งที่กรุงบรัสเซลล์ นอกจากนี้การปิดถนนหน้าโรงเรียนในช่วงเวลาเร่งด่วนได้กลายเป็นมาตรการยอดนิยมในท้องถิ่นเพื่อรับมือกับมลพิษทางอากาศในเมืองต่าง ๆ ของประเทศ
3. การระดมทุนจากภาคประชาชนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด

© Greenpeace / Arnaud Vittet
ด้วยการสนับสนุนจากประชาชนหลายพันคนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบบไฟฟ้าในโรงพยาบาลด้วยการติดตั้งระบบโซลาร์รูฟบนหลังคาโรงพยาบาล 7 แห่งในประเทศไทยในปี 2562 ความพยายามในการระดมทุนจากภาคประชาชนทำให้โรงพยาบาลทั่วประเทศสร้างระบบหลังคาจากโซลาร์เซลล์ ลดการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และโรงพยาบาลก็สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าได้
พวกเราเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ เราลงมือแก้ปัญหาด้วยกันได้ คุณสามารถเริ่มได้ในตอนนี้ที่นี่
คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง:
- ร่วมลงชื่อผลักดันนโยบายและเปลี่ยนมาตรฐานการปล่อยมลพิษทางอากาศ – มลพิษทางอากาศเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่พวกเราจำนวนมากต้องหายใจเอาอากาศที่มีมลพิษ เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการร่วมกันเรียกร้องให้มีการดำเนินการต่อผู้ก่อมลพิษ
- จัดกิจกรรมรณรงค์ – เริ่มทำกิจกรรมรณรงค์ร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว ส่งข้อเรียกร้องหรือข้อเสนอแนะให้แก่ผู้กำหนดนโยบาย
- เรียกร้องให้ประเทศไทยมีระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ และเรียกร้องให้มีการสร้างพื้นที่สีเขียวมากขึ้น
- กระจายข่าวสารสถานการณ์มลพิษทางอากาศให้กับครอบครัว หรือ เพื่อน ๆ ของคุณ เพื่อทุกคนจะได้ป้องกันและเข้าใจเรื่องมลพิษทางอากาศที่ถูกต้องได้อย่างทันท่วงที
- เรียนรู้เรื่องมลพิษทางอากาศได้ที่นี่ https://www.greenpeace.org/thailand/tag/clean-air/

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่
มีส่วนร่วม-
โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล แหล่งกำเนิดมลพิษ PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ถูกมองข้าม
ทุกๆ ปี พื้นที่กรุงเทพมหานครกำลังเผชิญกับวิกฤตมลพิษทางอากาศอย่างรุนแรง โดยเฉพาะมลพิษ PM 2.5 ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชน งานวิจัยล่าสุดชี้ให้เห็นถึงถึงบทบาทสำคัญของโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลที่มีส่วนทำให้เกิดมลพิษโดยเฉพาะการปล่อยไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO₂) และออกไซด์ของไนโตรเจนอื่นๆ (NOₓ)
-
โรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล: อีกหนึ่งหายนะและต้นตอของ PM 2.5
ค่า PM2.5 จากรายงานคุณภาพอากาศ ณ จุดที่ตั้งของโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิล พระนครเหนือ อ.บางกรวย จังหวัดนนทบุรี และพระนครใต้ อ.เมือง จังหวัดสมุทรปราการ ในวันนี้มีระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและได้เป็นสิ่งที่เตือนใจถึงเรื่องที่เราหลงลืมไปนั้นคือการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลของโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลทั้งสองแห่งคือหนึ่งในแหล่งกำเนิดหลักของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx), ฝุ่นละออง (PM), คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2), ปรอท (Hg) และมลพิษอื่น ๆแม้ว่า ณ ปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานการปล่อยฝุ่นพิษ PM2.5 จากปลายปล่อง แต่มีประกาศโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรื่องกำหนดมาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5…