การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ชีวิตประจำวันของผู้คนเปลี่ยนไปในเกือบทั่วทุกมุมโลก แต่สำหรับคนอีกหลายล้านคน ความน่ากลัวเรื่องการขาดแคลนอาหาร และการเข้าถึงอาหารนั้นยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น ล่าสุดทางองค์การสหประชาชาติได้ได้ประกาศเตือนเรื่อง ภาวะสินค้าอาหารขาดตลาด และการสูญเสียรายได้และการดำรงชีวิตในอนาคต ลูกจ้างมากกว่า 1.6 พันล้านคนได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ธนาคารอาหาร (Food Bank) และองค์กรชุมชนกำลังพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน แต่เมื่อการแพร่ระบาดเกิดขึ้นพร้อมกับความเหลื่อมล้ำและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ นั่นแสดงให้เห็นว่าพวกเราต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในปัจจัยเรื่องอาหารและการเกษตรกรรม

Ecological Farmer in Kenya. © Cheryl-Samantha Owen / Greenpeace
เกษตรกรชาวเคนย่าได้มีการประยุกต์ใช้การทำฟาร์มเชิงนิเวศวิทยาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการกลับคืนสู่สภาพเดิมและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศ © Cheryl-Samantha Owen / Greenpeace

ความมั่นคงทางอาหารนั้นล้มเหลวมานานก่อนการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  เพียงแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้นได้ทำให้เห็นช่องว่างทางเศรษฐกิจ จึงต้องมีการจัดการกับต้นเหตุของปัญหาอย่างเร่งด่วน นั่นหมายความว่าเราจะต้องตั้งคำถามและขุดลงไปให้ลึกขึ้นเพื่อหาทางออกของปัญหา  เป็นไปได้อย่างไรที่ยังคงมีอาหารเหลือทิ้ง 30% ทั่วโลก และอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพยังคงทำให้เกิดโรคอ้วนและเบาหวาน ในขณะที่อีก 820 ล้านคน นั้นกำลังขาดแคลนอาหาร และทำไมผู้คนนับล้านถึงถูกบีบให้เลือกระหว่างความอดอยากหรือความอยู่รอดในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ระบบอุตสาหกรรมอาหารและสินค้าโภคภัณฑ์นั้นล้มเหลวที่จะจัดหาอาหารให้เพียงพอกับประชากรนับล้านบนโลก ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากการขาดแคลนอาหารแต่เกิดจากความเหลื่อมล้ำที่มีมาก และการผลิตอาหารที่ไม่จำเป็น การทำการค้าและการส่งเสริมการค้าโดยบริษัทที่มีอำนาจผูกขาดในอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้นทำให้เราได้เห็นถึงปัญหาของความมั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นเมื่อเราปล่อยให้เหล่านายทุนมีอำนาจในการจัดหาอาหาร

Ecological Produce at Farmers Market in Paris. © Peter Caton / Greenpeace
ผู้คนจับจ่ายซื้อของในตลาดราสปายล์ ใจกลางเมืองปารีส ซึ่งเป็นตลาดออร์แกนิคที่ใหญ่ที่สุดในกรุงปารีส © Peter Caton / Greenpeace

การเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร

มุมมองทางเลือกที่กำลังได้รับแรงผลักดัน คือ ระบบอาหารที่มีการร่วมมือกันทางสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  โดยที่ชุมชนสามารถควบคุมหรือกำหนดที่ทางการเป็นไปได้ เมื่อเงินงบประมาณถูกจ่ายเข้าไปในการกระตุ้นเศรษฐกิจ บางหน่วยงานรัฐบาลหรือองค์กรกำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถฟื้นฟูชุมชนให้ดีขึ้นกว่าเดิม และสามารถรับมือกับวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ความยืดหยุ่นของระบบอาหารเป็นระบบอาหารเชิงนิเวศ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยผู้คนและสิ่งแวดล้อมมากกว่าการที่จะสร้างผลกำไรให้กับบริษัทนายทุนข้ามชาติ ความยืดหยุ่นของอาหารนั้นช่วยสนับสนุนความเป็นธรรมทางอาหาร ไปพร้อมกับการที่ชุมชนได้ใช้สิทธิของพวกเขาในการ ปลูก ขาย และบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ และยอมรับในความแตกต่าง เช่น ชนชั้น เชื้อชาติ และเพศ ในการหาทางออกเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารของพวกเขา ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในบางแห่ง

สิทธิ์ในการเข้าถึงอาหาร

เราต้องการระบบที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นการเข้าถึงอาหารและการบริการขั้นพื้นฐาน และการไม่ละเลยของผู้ใช้แรงงาน และความเคารพในขอบเขตทางเศรษฐศาสตร์ที่เราจะต้องพึ่งพา นี่คือความมั่นคงทางอาหาร ที่หน่วยงานภาครัฐไม่ว่าจะระดับท้องถิ่นหรือระดับโลก องค์กรในประเทศหรือระหว่างประเทศ จะต้องช่วยผลักดันให้เกิดระบบอาหารที่ยั่งยืน เพื่อช่วยเหลือเราในช่วงวิกฤติ Covid และวิกฤตในอนาคตต่อไป

เกษตรกรอุ้มรวงข้าวที่เก็บเกี่ยวได้จากโครงการกรีนพีซศิลปะบนนาข้าว ที่จังหวัดราชบุรี

เรามี 5 วิธี ที่จะช่วยเปลี่ยนระบบอาหารที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นให้เกิดความยั่งยืนขึ้นได้ดังนี้

  1. อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ดังนั้นจึงควรจัดให้เป็นสินค้าจำเป็นพื้นฐาน ไม่ใช่สินค้าทั่วไปเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีหลักการเหมือนกับเรื่องความมั่นคงทางอาหารที่เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟูสภาวะวิกฤตทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงเป็นระบบอาหารเชิงนิเวศ เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นอุตสาหากรรมการเกษตร ได้เกิดขึ้นแล้วในบางมุมของโลก ซึ่งจะต้องถูกผลักดันสนับสนุนและขยายเพื่อให้เกิดเป็นกระแสหลักขึ้นมา
  2. ภาครัฐต้องเข้ามามีบทบาท ทั้งระดับประเทศและระดับจังหวัดจะต้องทำการปฏิบัติเชิงรุกเพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงอาหารได้ ยกตัวอย่าง เช่น เมืองวิคตอเรียในประเทศแคนนาดา มอบหมายให้คนงานดูและสวยสาธารณะให้เริ่มปลูกพืชผักสวนครัว มาส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ เหมือนกับ Milan Urban Food Policy Pact, CityFood และ C40 เพื่อให้การเข้าถึงอาหารและโภชนาการดีขึ้นสำหรับทุกคน
  3. ความไม่มั่นคงทางอาหารเชื่อมโยงกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างมีนัยยะสำคัญ ทุกคนควรมีสิทธิ์เข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจที่ว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงอาหารที่ดี เพื่อสุขภาพที่ดี เราจำเป็นจะต้องมีมาตรการทางสังคมเช่นรายได้ขั้นพื้นฐานสากลเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางอาหารและความเหลื่อมล้ำ ลดปัญหาความยากจนและกระจายรายได้
  4. ชดเชยและให้คุณค่ากับผู้ปฏิบัติงานหลัก เพื่อให้เกิดความแข็งแรงในความสามารถที่จะรับมือกับสถานการณ์วิกฤตในปัจจุบันและอนาคต เราจะต้องให้ความสำคัญกับแรงงานทุกคนในอุตสาหกรรมอาหารในฐานะผู้ปฏิบัติงานหลัก คนที่ปลูก ผลิต แบ่งปัน และแจกจ่ายอาหารควรได้รับรายได้ที่เหมาะสมตามหน้าที่ นโยบายการช่วยเหลือจะต้องครอบคลุมถึงเกษตรกร คนงานในฟาร์ม และอื่นๆที่ทำหน้าที่ผลิตอาหารให้เรา เพื่อทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นธรรมไปเป็นระบบอาหารที่มีความยืดหยุ่นทางด้านนิเวศวิทยาและสังคมมากขึ้น นโยบายภาษีการอุดหนุนและการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องถูกเปลี่ยนเส้นทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านี้
  5. เราสามารถสร้างความมั่นคงทางอาหารได้โดยเริ่มจากตัวเอง นอกเหนือจากภาครัฐจะมีส่วนเข้ามาช่วยแล้วนั้น การเริ่มเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวตัวเองก็สามารถทำให้คนรอบตัวเราเห็นคุณค่าทางอาหารและการผลิตอาหารที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
เด็ก ๆ กำลังเก็บเกี่ยวผักออร์แกนิคจากฟาร์มในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

นี่คือแนวทางปฏิบัติที่เราสามารถทำได้เพื่ออาหารที่ดีกว่าเดิม:

  • ลดการเกิดขยะจากอาหาร โดยอาจเลือกทานอาหารที่มีในท้องถิ่นหรือการทานผักผลไม้ตามฤดูกาล และยังรวมไปถึงการเน้นอาหารที่มาจากพืชเป็นหลัก
  • เมื่อทำอาหารทานเองที่บ้าน ให้เลือกใช้วัตถุดิบที่สดใหม่แทนการออกไปซื้อ อาหารแปรรูป หรืออาหารกึ่งสำเร็จรูป จากร้านสะดวกซื้อ
  • การปลูกผักทานเองเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เมื่อเราลงมือปลูกผักต่างๆเหล่านั้นด้วยตัวเอง การได้ทานผลผลิตที่ตัวเองเป็นคนปลูกนับเป็นรางวัลที่ดี และควรได้รับการสนับสนุนและขยายเป็นวงกว้างต่อไปในอนาคต
  • การเลือกซื้อผลผลิตทางการเกษตรกับเกษตรกรโดยตรงนั้นเป็นการช่วยสนับสนุนเกษตรกรทางหนึ่ง ทำให้เกิดความมั่นใจว่าแผนการฟื้นฟูได้ครอบคลุมการลงทุนที่มีมูลค่าสำหรับระบบดังกล่าวเพื่อทำให้เกิดเป็นกระแสหลักขึ้นมา และหันมาซื้ออาหารโดยตรงจากเกษตรกรที่ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบอาหารที่ดีขึ้นแล้ว

อย่าปล่อยให้วิกฤตนี้ผ่านไปโดยที่เราไม่ได้เพาะเมล็ดพันธุ์ที่ดี เพื่ออาหารที่ดีในวันข้างหน้า เราทุกคนสามารถเข้าร่วมกับการเปลี่ยนแปลงความมั่นคงทางอาหารได้

ถึงเวลาปฏิวัติระบบอาหาร

ร่วมเรียกร้องให้ภาครัฐออกกฎหมายติดฉลากผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทุกประเภทโดยเปิดเผยถึงข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ ที่มาอาหารสัตว์ว่าเชื่อมโยงกับการทำลายป่าและก่อหมอกควันพิษหรือไม่ รวมถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และการตกค้างในเนื้อสัตว์

มีส่วนร่วม