กลุ่มอนุรักษ์นิยมขวาจัดในเยอรมนี  โจมตี เกรียตา ทุนแบร์ย นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ

Greta Thunberg Leads Student March for Climate in Paris. © Elsa Palito / Greenpeace

นักเรียนไฮสคูลกว่า 5,000 – 6,000 คนเดินรณรงค์เพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศในกรุงปารีส การรณรงค์ครั้งนี้มีเกรียต้า ทุนเบรย์ นักเรียนชาวสวีเดนเป็นผู้นำในการเดินรณรงค์

พรรคทางเลือกเพื่อเยอรมนี หรือ AfD เป็นพรรคขนาดเล็กแนวทางขวาจัด ซึ่งเพิ่งสร้างประวัติศาสตร์ได้ที่นั่งในสภาเป็นครั้งแรกในรอบ 56 ปี  และกลายเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงมากเป็นอันดับ 3 ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในประเทศเยอรมนี หลังจากชูนโยบายหาเสียงที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายต้อนรับผู้อพยพของนาง Merkel นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน  

สำหรับการเลือกตั้งสภายุโรปที่จะจัดขึ้นในวันที่ 23 – 26 พฤษภาคม นี้ พรรค AfD ได้หันมาชูนโยบายใหม่ ที่พุ่งเป้าไปที่การโจมตี เกรียตา ทุนแบร์ย เยาวชนนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศชื่อดัง

จากการสืบสวนของนักข่าวกรีนพีซ ร่วมกับสถาบันการสานเสวนาเชิงยุทธศาสตร์ (Institute for Strategic Dialogue : ISD) พบว่า พรรค AfD หันมาให้ความสนใจในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะเชื่อมโยงไปเครือข่ายต่อต้านแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ คาดว่า นาย Karsten Hilse โฆษกด้านสิ่งแวดล้อมประจำพรรค AfD จะเริ่มปล่อยแคมเปญโจมตีเกรียตา ทุนแบร์ย ในเวทีการประชุม ที่จัดโดยสถาบันด้านการเปลี่ยนแปลงทางอากาศและพลังงาน ( the European Institute for Climate and Energy – EIKE)  สถาบันแห่งนี้จัดตั้งขึ้นมาในประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยมีแนวคิดหลักคือต่อต้านแนวคิดที่ว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศเกิดจากมนุษย์

แผนการโจมตีเกรียตา สอดคล้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ social media  ของพรรค AfD ซึ่งจะเห็นว่า มีการพูดถึงชื่อเกรียตา ทุนแบร์ย เป็นจำนวนครั้งมากที่สุด

ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกา แนวคิดที่ปฏิเสธเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศถือเป็นเรื่องใหม่ในยุโรป จากข้อมูล สถาบัน EIKE ได้รับเงินสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสถาบัน Heartland และจากคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาในอนาคต (Committee for Constructive Tomorrow – CFACT) ซึ่งเป็นกลุ่มไม่เชื่อโลกร้อนในสหรัฐอเมริกา ซึ่งที่ตั้งของสถาบัน EIKE ก็เป็นที่อยู่เดียวกับสำนักงานของ CFACT ประจำภูมิภาคยุโรป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีข้อมูลว่า สถาบัน Heartland และคณะกรรมการ CFACT มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมถ่านหิน แต่ก็ยากที่จะระบุถึงแหล่งเงินทุนที่ชัดเจนว่ามาจากกองทุน (Trusts) ใดเพราะไม่มีการเปิดเผยแหล่งที่มาของเงินบริจาค

โฆษกของกลุ่ม CFACT ระบุว่า “4% ของรายได้ของกลุ่มมาจากบริษัท แต่ก็ไม่ใช่บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมถ่านหินหรือน้ำมันเลย อีก 45% มาจากเงินบริจาคจากกลุ่มคนที่สนับสนุนแนวคิดของกลุ่ม ที่ต้องการให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า สิ่งแวดล้อมนิยมโดยกลไกตลาด (free-market environmentalism) และพัฒนาด้านเทคโนโลยี เพื่อความก้าวหน้าของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม”

ประธานของสถาบัน EIKE นาย Holger  ระบุกับนักข่าวของกรีนพีซว่า “การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของกลุ่มเป็นมีลักษณะไม่เป็นทางการ เพราะปัจจุบันคณะกรรมการ CFACT ภาพพื้นยุโรปยุติการดำเนินงานไปตั้งแต่ปี 2556”

“ยุวชนนาซี”

ตามข้อมูลของ ISD ในช่วงปี 2560-2561 พรรค AfD พูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านช่องทาง Social Media น้อยกว่า 300 ครั้ง แต่ในช่วงที่ผ่านมา สถิติการพูดถึงเรื่องดังกล่าวมากขึ้นเป็น 3 เท่า และโดยเน้นหนักไปที่การเชื่อมโยงกับเกรียตา ทุนแบร์ย

ผู้ท้าชิงการเลือกตั้งสภายุโรปจากพรรค AfD เรียกเกรียตา ทุนแบร์ยว่า “โรคจิต” และเปรียบเทียบเธอกับ ยุวชนนาซี ขณะที่โฆษกประจำพรรคก็พัวพันกับการเผยแพร่ข้อมูลปฏิเสธเรื่องโลกร้อน ระหว่างกิจกรรมนัดหยุดเรียนประท้วงเพื่อสภาพภูมิอากาศโลก หรือ “Climate School Strike” เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ณ กรุงเบอร์ลิน

Thousands of Students March for Climate in Paris. © Elsa Palito / Greenpeace

ผลจากการรณรงค์ของ เกรย์ต้า ทุนแบรย์ นักเรียนชาวสวีเดนทำให้นักเรียนจากหลายประเทศออกมาเดินรณรงค์เพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศ

เมื่อปีที่แล้ว ความพยายามของบรรดานักการเมืองที่ต่อต้านแนวคิดเรื่องโลกร้อน กลายเป็นเรื่องขำขันในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (Bundestag) ของเยอรมนี หลังผู้แทนคนหนึ่ง อธิบายว่า ทัศนะเรื่องโลกร้อนที่เชื่อว่าเกิดจากมนุษย์เป็นความคิดของพวก “นอกรีต” และเรียกร้องให้ยุติการเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานในเยอรมนี

สถาบันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงานแห่งยุโรป ( the European Institute for Climate and Energy – EIKE)

ในความเป็นจริง สาเหตุที่พรรค AfD หันมาให้สนใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีที่มาจากความสัมพันธ์อันยาวนานกับกลุ่มนักคิดที่อาจไม่เป็นที่รู้จักเท่าไรนักกลุ่มหนึ่ง ซึ่งรองประธานของกลุ่มคือ นาย Michael Limburg เป็นที่ปรึกษาให้กับ นาย Karsten โฆษกพรรค ทั้งนี้นาย Limburg เองก็เป็นผู้สมัครของพรรค AfD และเป็นคณะทำงานด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงาน

แม้ว่า สถาบัน EIKE จะปฏิเสธว่ามีความเกี่ยวข้องกับพรรค AfD ก็ตาม แต่ข้อมูลในเว็บไซต์ที่เผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้ ก็เผยให้เห็นว่า วิทยากรหลายคนที่ขึ้นพูดบนเวทีการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่จัดขึ้นโดยสถาบัน EIKE เป็นสมาชิกของพรรค AfD

หนึ่งในโพสต์บนเว็บไซต์ ซึ่งอ้างอิงคำพูดของนาย Viscount Monckton ระบุชัดว่า “กิจกรรมการรณรงค์หลายกิจกรรมนำโดยสถาบัน EIKE และคณะกรรมการ CFACT ภาคพื้นยุโรป” แต่หลังจากนักข่าวกรีนพีซได้สัมภาษณ์นาย Thuss ไปก็พบว่า ข้อความถูกแก้ไข และนาย Thuss ก็ชี้แจ้งเพิ่มเติมว่า นาย Viccount นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสถาบัน แต่ถือเป็น   “มิตรสหายที่ดีกับสถาบัน” แทน

นาย Ulrich Mueller นักวิเคราะห์ประจำบริษัท LobbyControl ซึ่งทำงานรณรงค์ในประเด็นการล็อบบี้และการเพิ่มความโปร่งใสในเยอรมนนี กล่าวว่า “สถาบัน EIKE และพรรค AfD มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด คนจากสถาบัน EIKE มีบทบาทอย่างมากต่อการกำหนดนโยบายด้านภูมิอากาศและด้านพลังงานกับพรรค AfD ทางมองในภาพรวมของประเทศเยอรมนี สถาบันนี้ไม่ได้มีอิทธิพลทางความคิดใด ๆ กับคนเยอรมนี แต่ความสัมพันธ์ที่ดีกับพรรค เป็นช่องทางให้สถาบันเผยแพร่แนวคิดของตนกับสาธารณะในวงกว้าง”

สายสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา

สถาบัน EIKE นั้นมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มนักคิดสายอนุรักษ์นิยมสุดโต่งในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะสถาบัน Heartland ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนหลักของการประชุมซึ่งปฏิเสธแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศประจำปีของสถาบัน EIKE

หากพิจารณาจากข้อมูล ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ ของสถาบัน Heartland ก็จะพบว่ามีชื่อของนาย Holger Thuss อยู่ในเว็บไซต์ด้วย ก็คงไม่ผิดที่จะกล่าวว่าสมาชิกของสถาบัน Heartland ก็คือคนของสถาบัน EIKE

อย่างไรก็ตาม นาย Holger ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับนักข่าวกรีนพีซ ในประเด็นที่ว่ามีองค์กรสาธารณะสนับสนุนทางการเงินหรือไม่ แต่บอกเพียงว่า “สถาบัน EIKE ทำงานใกล้ชิดกับสถาบัน Heartland มาเป็นระยะเวลายาวนาน และเข้าร่วมในการประชุมระหว่างสถาบันเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปกติ

เมื่อปี พ.ศ. 2553 กลุ่มผู้สงสัยเรื่องโลกร้อน และกลุ่มอนุรักษ์นิยมในสหรัฐอเมริกา รวมกับคณะกรรมการ CFACT  ได้ให้เงินสนับสนุนจำนวนเกือบ1 5,000 เหรียญสหรัฐกับกลุ่ม CFACT ภาคพื้นยุโรป

ทั้งนี้ จากข้อมูล นาย Holger ถือเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ต่อตั้งสถาบัน EIKE และเป็นผู้บริหาร CFACT ภาคพื้นยุโรป สอดคล้องกับที่นาย Craig Rucker หนึ่งในผู้ก่อตั้ง CRAFT ในสหรัฐอเมริกาให้สัมภาษณ์กับสื่อเยอรมนี German outlet Monitor ว่า “ทางกลุ่มจะช่วยสนับสนุนสถาบัน EIKE ทุกวิถีทาง”

โฆษกประจำ CFACT บอกกับนักข่าวกรีนพีซว่า ทางกลุ่มมีทิศทางเดียวกับสถาบัน EIKE ในเรื่องการสร้างความตระหนักรู้ที่ถูกต้องเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ผ่านมา สถาบัน EIKE และคณะกรรมการ CFACT เคยร่วมกันจัดการประชุม ซึ่งนาย Holger นิยามถึงความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน EIKE สถาบัน Heartland และกลุ่ม CFACT ว่า “เราไม่ได้มีความร่วมมือระหว่างสถาบัน เป็นเพียงความสัมพันธ์ฉันท์มิตรเท่านั้น”

อุตสาหกรรมกองทุน?

ในอดีต สถาบัน Heartland และกลุ่ม CFACT เคยได้รับเงินสนับสนุนจากบริษัทในสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมน้ำมัน ที่รู้จักกันดีก็เช่น บริษัท ExxonMobil  มูลนิธิของ “พี่น้องตระกูลโคกช์” และ “ตระกูลเมอร์เซอร์” ซึ่งเป็นกลุ่มทุนฝ่ายขวาที่ให้การสนับสนุนประธานาธิบดีทรัมป์

จากเอกสารทางการเงินพบว่า มูลนิธิของ “พี่น้องตระกูล Koch” และบริษัท ExxonMobil ให้การสนับสนุนทางการเงินกับสถาบัน Heartland มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีการเปิดเผยข้อมูล ขณะที่มูลนิธิของตระกูลเมอร์เซอร์ ยังคงให้การสนับสนุนอย่างเปิดเผย

เว็บไซต์ DeSmog ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ทำงานสืบสวนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้เปิดเผยเอกสารลับระบุว่า ในปี พ.ศ. 2555 สถาบัน Heartland เป็นผู้ให้เงินทุนสนับสนุนกับสื่อกระแสหลักด้านวิทยาศาสตร์ บล็อกเกอร์ และนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เชื่อเรื่องโลกร้อน เพื่อให้เกิดเป็นกระแสในสังคม ซึ่งสถาบัน Heartland ปฏิเสธที่จะตอบในประเด็นนี้ เพียงแต่ระบุว่าเอกสารดังกล่าวไม่ได้รั่วไหลออกไป แต่ถูกขโมยไป

ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม CFACT และ “พี่น้องตระกูลโคกช์”  พบว่า มีการให้เงินสนับสนุนจำนวน 38,000 เหรียญสหรัฐกับทางกลุ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 แต่ข้อมูลการสนับสนุนจากบริษัท Exxon จำนวนเงินกว่า 582,000 เหรียญสหรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 นั้นไม่มีการบันทึกไว้

ข้อมูลการระดมทุนของกลุ่มเหล่านี้ แสดงให้เห็นแหล่งที่มาหลักมาจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เช่น กองทุน DonorsTrust และ กองทุน Donor Capital Fund ซึ่งกองทุนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลแหล่งที่มาของเงินทุน ที่เป็นการบริจาคให้กับกลุ่มที่ทำงานด้านการอนุรักษ์

ศาสตราจารย์ Naomi Oreskes ประจำมหาวิทยาลัย Harvard ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของกรีนพีซว่า  “เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะรู้ได้ว่าบริษัทน้ำมันกำลังทำอะไรอยู่ ในอดีตมีข้อมูลว่า บริษัท ExxonMobil ให้เงินทุนสนับสนุนกลุ่มนักคิด และองค์กรต่าง ๆ เพื่อบิดเบือนข้อมูลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ในรูปแบบของ “งานการกุศล” แต่ปัจจุบันบริษัทเหล่านี้ยังใช้วิธีการเดิมอยู่หรือไม่ เป็นเรื่องที่เรายังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด”

“ในมุมมองของฉัน บริษัทอย่าง ExxonMobil และบริษัทถ่านหินต่าง ๆ ควรยอมให้มีการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบอิสระ ซึ่งถ้าบริษัทเหล่านี้หยุดให้เงินทุนสนับสนุนการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารจริง ก็คงเป็นเรื่องน่ายินดีไม่น้อย”

การเลือกตั้งสภายุโรป

ย้อนกลับไปที่ประเทศเยอรมนี

ประเด็นการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นข้อถกเถียงกันมานาน ซึ่งยุทธศาสตร์ล่าสุดของพรรค AfD คือ การเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ที่ยังไม่ค่อยถูกท้าทายมากนักในประเทศเยอรมนี

Coal Power Plant Niederaussem in Germany. © Bernd Lauter / Greenpeace

โรงไฟฟ้าถ่านหิน นีเดอร์เราเซ็ม (Niederaussem) ในเมือง ไรน์ลันท์ (Rhineland) ประเทศเยอรมนี

ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความโปร่งใส (Transparency Law) ของประเทศเยอรมนี สถาบัน EIKE อาจไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลผู้สนับสนุนทางการเงิน แต่กับพรรค AfD นั้น กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก หลังมีการเปิดเผยว่าพรรคได้รับเงินทุนจากผู้สนับสนุนต่างชาติ หนึ่งในนั้นคือ บริษัทประชาสัมพันธ์ลึกลับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเด็นที่มาของเงินสนับสนุนพรรค AfD จะคลุมเครือ และทางพรรคก็ยังไม่สามารถตอบคำถามของนักสืบกรีนพีซได้ แต่สิ่งหนึ่งที่แน่ชัดคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ที่นำโดย เกรียตา ทุนแบร์ย ได้กลายมาเป็นหัวใจของการหาเสียงของพรรค AfD ไปแล้ว

ในหน้าเพจของพรรค AfD มีการพูดถึง เกรียตา เกือบ 800 ครั้ง และบ่อยครั้งมีเนื้อหาชักจูงให้เชื่อว่า การเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศเป็นกิจกรรมของลัทธิที่มี เกรียตา เป็นผู้นำ

นาย Frank Pasemann สมาชิกพรรค AfD ทวิตว่า “เกรียตาไม่ใช่ “บุคคลแห่งปีปี” แต่เป็นวัยรุ่นที่มีปัญหาทางสติปัญญาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งควรถูกเผา และถูกปั้นให้เป็นตัวแทนของ “ลัทธิโลกร้อน” จากสื่อ”

ขณะที่ นาย Jakob Guhl นักวิจัยประจำสถาบัน ISD สายสุดโต่ง กล่าวว่า “ หากจะย้อนกลับไปดูโพสต์ของพรรค AfD  เมื่อปี 2559 ก็จะเห็นว่า พรรคมีแนวคิดปฏิเสธเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกว่าเกิดจากมนุษย์มาโดยตลอด แต่ในปีนี้จึงจะเน้นสื่อสารเรื่องนี้ให้บ่อยมากขึ้น การเคลื่อนไหวของเกรียตา ทุนแบร์ย ในฐานะผู้นำรณรงค์ด้านวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เป็นเป้าหมายชั้นดีให้กับกลุ่ม ที่จะนำมาใช้โจมตีบนพื้นที่ social media”

Drought Impacts Elbe River's Water Level in Germany. © Chris Grodotzki / Greenpeace

นักกิจกรรมกรีนพีซถือป้ายที่มีข้อความว่า Climate Crisis บริเวณแม่น้ำ ElB ใน เดรสเดน เนื่องจากเกิดภาวะแล้งจัดจนน้ำลดลงเหลือเพียงแค่ 54 เซนติเมตรจากจุดวัดระดับน้ำ

“ความจริงที่ว่า นักการเมืองกระแสหลักจำนวนมาก โดยเฉพาะจากพรรคที่มีความคิดตรงข้ามกับพรรค AfD อย่างพรรคกรีน (The Greens) หรือเมื่อนาย Manfred Weber ผู้สมัครจากพรรคสหภาพสังคมคริสเตียน (Christian Social Union in Bavaria -CSU) ออกมาสนับสนุนนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมวัย 16 ปี ตั้งแต่ในช่วงที่เธอยังไม่เป็นที่รู้จัก ก็กลายเป็นเครื่องมือให้พรรค AfD นำมาใช้เสนอภาพแทนพรรคฝั่งตรงกันข้ามว่า มีแนวคิดแบบลัทธิที่ไร้เหตุผล บ้าคลั่ง วิตกจริต และที่เลวร้ายที่สุดคือ การล้อเลียนเกรียตา ทุนแบร์ยถึงอาการออทิสติกของเธอ”

กลุ่มซึ่งมีแนวคิดสนับสนุนพรรค AfD อย่าง กลุ่ม Compact และกลุ่มนักกิจกรรมฝ่ายขวา Pegida ก็ใช้กระแสนี้โจมตี  เกรียตา ว่าเป็น พวกคลั่งอยากดังไปจนถึงนักต้มตุ๋น นาง Tatjana Festerling หนึ่งในแกนนำกลุ่ม Pegida เรียกเกรียตาว่าเป็น “เด็กปัญญาอ่อน”

แต่ก็ใช่ว่าแค่แนวคิดของพรรค AfD จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเพียงพรรคเดียว เพราะพรรคกรีน  ซึ่งเป็นพรรคที่ยึดแนวทางอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และแนวทางนิเวศวิทยาสังคม ซึ่งกลายมาพรรคการเมืองทางเลือกหนึ่งของเยอรมนีก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากผลการสำรวจ ขณะนี้พรรคกรีนมีคะแนนเป็นอันดับ 2 ตามหลังพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (Christian Democratic Union of Germany -CDU) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล

Fridays for Future Demonstration in Berlin. © Jan Zappner / Greenpeace

เหล่านักเรียนและผู้คนหลายพันคนต่างออกมาเดินรณรงค์ปกป้องสภาพภูมิอากาศ ใน 1.600 เมืองของเยอรมนี ก่อนจะมีการเลือกตั้งในยุโรป โดยมีสโลแกน “โหวตให้ยุโรป” และ “โหวตให้กับสภาพภูมิอากาศ”

Lisa Badum โฆษกด้านพลังงานประจำพรรคกรีน กล่าวในที่ประชุมสภาของเยอรมนีว่า “วิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงชาวเยอรมันให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ  จากผลสำรวจ พบว่า 3 ใน 4 ของผู้ลงคะแนน ตัดสินใจลงคะแนนให้กับพรรคที่มีนโยบายกู้วิกฤตโลกร้อน”

ทางกรีนพีซได้ติดต่อไปทางพรรค Afd เพื่อขอสัมภาษณ์ แต่ไม่ได้รับการตอบกลับ

Brand Audit in Chonburi, Thailand. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
อาสาสมัครกรีนพีซ

ไม่ว่าคุณเป็นใครก็สามารถมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครกรีนพีซได้ ซึ่งคุณสามารถเลือกประเภทของอาสาสมัครได้ตามความสนใจ อาทิ เยาวชนกรีนพีซ (Youth) นักพูดเพื่อสิ่งแวดล้อม (Greenspeaker) นักกิจกรรมเชิงออนไลน์ (Digital Activist) และนักกิจกรรมภาคสนาม (Activist)

มีส่วนร่วม