All articles
-
พูดคุยกับ วรรณิศา จันทร์หอม กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่น และการใช้ศิลปะ เกียวทาคุสื่อสารเรื่องราวของชุมชน
“เราไม่ได้มองแค่รายได้ เพราะจริง ๆ การได้สื่อสารเรื่องราวของชุมชนมันมากกว่ารายได้”
-
อุณหภูมิมหาสมุทรออสเตรเลียร้อนขึ้นเป็นประวัติการณ์ เกิดอะไรขึ้นเมื่อมหาสมุทรกลายเป็นหม้อต้มน้ำเดือด
ล่าสุด อุณหภูมิมหาสมุทรออสเตรเลียสูงขึ้นจนอยู่ในภาวะฉุกเฉิน โดยปีที่ผ่านมา (2567) อุณหภูมิผิวน้ำของทะเลสูงจนทำลายสถิติที่เคยบันทึกได้ ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดสำหรับมหาสมุทรออสเตรเลีย ซึ่งสถิติดังกล่าวไม่ได้เป็นเพียงตัวเลขชี้วัด แต่บ่งบอกถึงวิกฤตที่เป็นคลื่นใต้น้ำ คุกคามชีวิตของสัตว์ทะเล แนวปะการัง และวิถีชีวิตชุมชนชายฝั่งซึ่งพึ่งพาทะเลอันอุดมสมบูรณ์
-
เครือข่ายประชาชนไม่เอากฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ยื่นหนังสือคัดค้าน “กฎหมายพิเศษ เพื่อคนพิเศษ”
เครือข่ายประชาชนไม่เอากฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในฐานะพื้นที่กลางขององค์กรชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ 14 จังหวัด และองค์กรเครือข่ายภาคีระหว่างภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 94 องค์กร ยื่นหนังสือคัดค้านการร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)
-
“Land bridge Effect ผลกระทบโครงการท่าเรือน้ำลึกแลนด์บริดจ์ชุมพร ระนอง” เปิดข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภัยคุกคามต่อชุมชนชายฝั่ง
ชุดข้อมูลนี้เป็นชุดข้อมูลที่นักวิชาการร่วมทำงานเก็บข้อมูลกับชุมชนเพื่อแสดงให้เห็นถึงข้อห่วงกังวลต่อผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชุมชนที่อาจเกิดขึ้นหากเกิดโครงการท่าเรือน้ำลึก Land Bridgeใน จ.ชุมพรและ จ.ระนอง
-
UN จัดประชุม CBD COP16 อีกครั้ง สรุปประเด็นกองทุนพิทักษ์ระบบนิเวศก่อนกำหนดมาตรการคุ้มครองธรรมชาติใหม่ให้ CBD COP17
คณะผู้แทนจากรัฐบาลจากหลายประเทศจะรวมประชุมเจรจาด้านความหลากหลายทางชีวภาพเป็นเวลา 3 วัน เพื่อหาข้อสรุปสุดท้ายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนกองทุนพิทักษ์ระบบนิเวศ แม้จะมีความคืบหน้าในมาตรการการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในการประชุม CBD (Convention on Biological Diversity) COP16 [1] เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 แต่เหตุการณ์การระงับประชุมในชั่วโมงสุดท้ายที่เกิดขึ้นที่โคลอมเบียสร้างความผิดหวังให้ทั้งพรรคการเมืองหลายพรรคและกลุ่มภาคประชาสังคม ข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นในการเจรจาครั้งนี้จะต้องเป็นกองทุนที่รับประกันได้ว่าจะสามารถปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศในช่วงหลายสิบปีข้างหน้าได้เท่าเทียมกัน
-
โลกยังมีหวัง ! : รวมชัยชนะด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกในปี 2567
นี่คือชัยชนะด้านสิทธิและสิ่งแวดล้อมจากทั่วโลกในปี 2024 ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เรายังคงรณรงค์เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมต่อไป
-
จดหมายเปิดผนึก กฎหมายประมงต้องนำไปสู่การประมงที่ยั่งยืน ระบบนิเวศสมดุล เคารพสิทธิมนุษยชน โดยเครือข่ายองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน และขาดการควบคุม ตลอดจนปัญหาการจับสัตว์น้ำเกินกำลังการผลิตของทะเล รวมถึงการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมการประมงของประเทศไทย เนื้อหาและการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวส่งผลให้การประมงทะเลไทย รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกและให้การรับรอง
-
ต้อนรับปีใหม่ 2568 พร้อมความสำเร็จในงานรณรงค์ของกรีนพีซ
เราขอขอบคุณผู้สนับสนุนกรีนพีซทุกคนที่เป็นคนสำคัญต่อความสำเร็จในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา ตลอดปีกรีนพีซรณรงค์และมีความสำเร็จอะไรบ้างมาดูกันดีกว่า
-
สุดช็อก! กรีนพีซเผยชุดภาพธารน้ำแข็งในอาร์กติกละลายในช่วงศตวรรษนี้
กรีนพีซเผยชุดภาพธารน้ำแข็งละลายที่แสดงให้เห็นว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาธารน้ำแข็งในอาร์กติกละลายลงไปจำนวนมาก
-
การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางทะเลของ บังนี จากชุมชนจะนะ ในการประชุม CBD COP16 ว่าด้วยการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ชายฝั่ง และเกาะ
นักต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อมและตัวแทนชาวประมงจากจะนะ จังหวัดสงขลาอย่าง "บังนี รุ่งเรือง ระหมันยะ" ได้แบ่งปันเรื่องราวการต่อสู้และความหวังของชุมชนภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมวิธีการที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ชายฝั่ง และเกาะ” ซึ่งเป็นเวทีให้ชุมชนที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องระบบนิเวศที่เปราะบางเหล่านี้ได้แสดงออกถึงประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่พวกเขาเผชิญอยู่