All articles
-
อุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นทำให้เต่ามะเฟืองต้องเดินทางหาอาหารไกลขึ้น
งานวิจัยล่าสุดพบ เต่ามะเฟืองหลังจากวางไข่บริเวณหาดฝั่งในประเทศเฟรนซ์เกียนา ในทวีปอเมริกาใต้เสร็จ พวกมันต้องเดินทางไกลขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเต่ากำลังเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิของน้ำทะเลที่สูงขึ้นและกระแสของมหาสมุทรที่เปลี่ยนไปอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
-
วิกฤตไฟป่ามหากาฬในออสเตรเลีย
ไฟป่ามหากาฬที่ออสเตรเลียสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ประเมินโดยรวมว่ามีสัตว์ป่า 480 ล้านตัวได้รับผลกระทบนับตั้งแต่เกิดไฟป่านับในรัฐนิวเซาท์เวลล์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 จนถึงเดือนธันวาคม 2562
-
การกินเนื้อสัตว์ของเรา ทำให้โลกร้อนได้อย่างไร?
ทุกวันนี้มนุษย์เรามีการผลิตเนื้อสัตว์มากกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนประมาณ 6 เท่าตัว [1] ซึ่งถามว่าโลกเราก็พื้นที่เท่าเดิม เราผลิตเนื้อสัตว์มากขนาดนี้ได้ยังไง คำตอบง่าย ๆ ก็คือก็เพราะเราถางป่าเพื่อจะสร้างพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์และสร้างพื้นที่ในการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์มากขึ้น ซึ่งการใช้ผืนป่าปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์นี่แหละคือภัยเงียบที่เรามักจะมองไม่เห็น
-
9 วิธีที่มนุษย์เปลี่ยนสภาพภูมิอากาศยุคปัจจุบันไปตลอดกาล
อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมปีนี้สูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยในต้นศตวรรษที่ 19 ผู้คนที่ปฏิเสธโลกร้อนต่างอ้างว่าการแปรผันของอุณหภูมิตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่ใช่เรื่องผิดปกติของความผันผวนของอุณหภูมิในยุคโฮโลซีน หรือช่วง 11,700 ปีก่อนนับตั้งแต่ยุคน้ำแข็ง พวกเขาจึงอ้างว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยมนุษย์ไม่ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มหาสมุทรและชั้นบรรยากาศของโลกนั้นร้อนขึ้น
-
ภาวะโลกร้อน น้ำแข็งละลาย กับเครื่องดนตรีที่(เกือบ)ไม่ได้บรรเลง
นักดนตรี 4คน และศิลปินแกะสลักน้ำแข็ง เดินทางมายังขั้วโลกเหนือเพื่อสร้างเสียงดนตรีจากน้ำแข็ง สะท้อนถึงความเปราะบางของดินแดนแห่งนี้ และสื่อสารถึงผลกระทบจากโลกร้อน
-
เรากำลังเผชิญกับ “การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่”
“เราทราบดีว่าจะเกิดสถานการณ์ที่เลวร้าย แต่เราคาดไม่ถึงว่าจะเลวร้ายขนาดนี้ เรากำลังเผชิญกับ การสูญพันธุ์ใหญ่ครั้งที่ 6
-
สัญญาณปลุกจากพายุหมุนเขตร้อน อิดาอี เมื่อเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วทำลายบ้านของเรา
เป็นเรื่องยากเหลือเกินที่จะเชื่อคำพูดของพ่อหลังจากที่ฉันเห็นข่าวเกี่ยวกับภัยพิบัติในซิมบับเวที่เพิ่งเกิดขึ้น ไซโคลน “อิดาอี” ได้พัดเข้าถล่มและสร้างความเสียหายอย่างหนักใน โมซัมบิก มาลาวี และ ซิมบับเว ผู้คนกว่าหลายล้านได้รับผลกระทบอย่างหนัก
-
โลกร้อนก่อภัยพิบัติไปทั่วโลก
เหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้วหรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Extreme Weather Event ฟังดูแล้วอาจเป็นคำศัพท์ใหม่สำหรับใครหลายๆคน แต่เหตุการณ์สภาพภูมิอากาศสุดขั้วนั้นเป็นผลพวงมาจากสิ่งที่เราคุ้นเคยดีนั่นคือ Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ ภาวะโลกร้อนนั่นเอง
-
5 ข้อต้องรู้! หากโลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส
เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้วที่รัฐบาลจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมประชุมที่จัดขึ้นที่ปารีสเพื่อลงความเห็นว่าไม่เพียงแค่วางแผนจัดการกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแต่ยังจะต้องพยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มมากไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม จากเป้าหมาย 2 องศาเซลเซียสที่เคยวางไว้
-
มหาพายุหมุนเขตร้อนในโลกเรือนกระจก
พายุมังคุดเริ่มก่อตัวเป็นพายุไต้ฝุ่นวันที่ 9 กันยายน 2561 ในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุสร้างความเสียหายให้กับโครงข่ายไฟฟ้าเกือบทั้งหมดของเกาะกวม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาในวันที่ 13 กันยายน จากนั้นทวีความรุนแรงขึ้นเป็นมหาพายุไต้ฝุ่นโดยมีความเร็ว 205 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ศูนย์กลางที่เรียกว่าตาของพายุกว้าง 50 กิโลเมตร ขนาดของพายุวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 900 กิโลเมตร มุ่งตรงไปยังเกาะลูซอนด้านเหนือสุดของฟิลิปปินส์ในพื้นที่ที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำแถบจังหวัดคากายัน (Cagayan) โดยความเร็วลมเพิ่มขึ้นเป็น 269 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หลังจากนั้นข้ามทะเลจีนใต้เข้าถล่มฮ่องกงและมณฑลกวางตุ้งของจีนแผ่นดินใหญ่ สร้างผลกระทบและความเสียหายต่อผู้คนนับล้านที่อยู่อาศัยบริเวณชายฝั่งทะเลตามแนวเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นมังคุดลูกนี้