All articles by ธารา บัวคำศรี
-
ภาพสองด้านของวิกฤตมลพิษทางอากาศไทยในสถานการณ์ COVID-19
ประเด็นแรกสุดและสำคัญมากที่สุดในเรื่องการระบาดของโคโรนาไวรัส(COVID-19) คือประเด็นว่าด้วยสาธารณสุขและความปลอดภัย แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและแบบแผน ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการระบาดก็ได้ส่งผลกระทบที่ลึกซึ้งต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกัน อาจยังมีความเข้าใจและการสื่อสารข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนในเรื่องดังกล่าว และต่อไปนี้คือ ภาพสองด้านของวิกฤตมลพิษทางอากาศไทยในสถานการณ์ COVID-19
-
ไฟป่าอนุรักษ์ : ผลพวงของนโยบายที่ผิดพลาดและสัญญานเตือนของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ
ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา เกิดปรากฏการณ์ไฟรุนแรงในพื้นที่ป่าหลายแห่ง เริ่มจาก อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จ.เลย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่งผลให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ป่าสนเขาเป็นวงกว้าง
-
สถานการณ์น้ำในวิกฤตโลกร้อน
วันน้ำโลกในปี พ.ศ.2563 นี้ยกประเด็น น้ำในวิกฤตโลกร้อน เป็นเรื่องสำคัญ สหประชาชาติระบุว่า การรับมือกับวิกฤตน้ำจากผลกระทบที่เป็นหายนะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะช่วยปกป้องสุขภาพและช่วยชีวิตผู้คน การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและกู้วิกฤตโลกร้อน
-
ถึงเวลาประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ
ไทยเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของโลกที่มีความเสี่ยงสูงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 องศาเซลเซียส จำนวนวันแห้งแล้งในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นและรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
-
วิกฤตไฟป่ามหากาฬในออสเตรเลีย
ไฟป่ามหากาฬที่ออสเตรเลียสร้างความเสียหายครั้งใหญ่ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ประเมินโดยรวมว่ามีสัตว์ป่า 480 ล้านตัวได้รับผลกระทบนับตั้งแต่เกิดไฟป่านับในรัฐนิวเซาท์เวลล์ตั้งแต่เดือนกันยายน 2562 จนถึงเดือนธันวาคม 2562
-
ไม่มี “สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” หากไร้ซึ่ง “ความเป็นธรรมทางสังคม” : พินิจสถานะสิ่งแวดล้อมไทยปี 2562
การเปลี่ยนผ่านของภูมิทัศน์ทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ.2562 ในด้านหนึ่ง ดูเหมือนจะช่วยขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมของพลเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการทางรัฐสภา แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเปลี่ยนผ่านนี้มีความซับซ้อน ย้อนแย้ง และท้าทายอย่างยิ่ง ดังนั้น บทความนี้จะพินิจสถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยแตกต่างจากปีที่ผ่านมา
-
จับตาแหล่งกำเนิดไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2) คู่หู PM2.5 ในประเทศไทย
เมื่อฝุ่น PM2.5 ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติที่มีแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน มาตรการสำคัญที่ท้าทายศักยภาพของรัฐบาลในการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน คือ จะลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดอย่างไร และหนึ่งในบรรดามลพิษทางอากาศหลัก(Criteria Pollutants) นั้นคือ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(precursor) ตัวสำคัญของฝุ่น PM2.5
-
ความอิหลักอิเหลื่อของวาระแห่งชาติว่าด้วยฝุ่น PM2.5
9 เดือนผ่านไป หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ที่มีมติให้การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ เราก็ได้เห็นแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติที่กรมควบคุมมลพิษเผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา
-
ทำไมดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยไม่ได้บอกคุณภาพอากาศ ณ เวลานั้น
ประเทศไทยเริ่มใช้ดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI)ใหม่ที่รวม PM2.5 เข้าไปด้วยในช่วงเดือนตุลาคม 2561 เป็นต้นมา ดัชนีคุณภาพอากาศทำให้เราทราบว่าคุณภาพอากาศเป็นอย่างไรโดยเฉลี่ยในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยจะต่างจากดัชนีคุณภาพอากาศขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา(U.S. AQI) ที่มีความเข้มงวดมากกว่า
-
ส่องมาตรการของภาครัฐในวันที่ฝุ่น PM2.5 ถล่มเมือง (อีกครั้ง)
หลังจากฤดูกาลฝุ่นช่วงต้นปี 2562 ในหลายพื้นที่ของประเทศได้ผ่านพ้นไปท่ามกลางคำถามของสาธารณะชนต่อมาตรการรับมือของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ช่วงเดือนกันยายน 2562 ที่ผ่านมามลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามพรมแดนในสุมาตราและกาลิมันตันของอินโดนีเซียส่งผลให้คุณภาพอากาศรวมถึง PM2.5 อยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อประชาชนหลายจังหวัดทางภาคใต้