All articles
-
ดินที่อุดมสมบูรณ์คือดินที่หล่อเลี้ยงโลก
ความอุดมสมบูรณ์ของดินอาจเป็นสิ่งที่เรามองข้ามไป หากนึกถึงสิ่งแวดล้อมที่ดี เราคงมักนึกถึงป่าไม้ สายน้ำที่สะอาด อากาศดี และบรรดาสัตว์ แต่ดินนั้นคือรากฐานของชีวิต และสะท้อนถึงความอุดมสมบูรณ์ที่เกื้อกุลกันของธรรมชาติ
-
กฎหมายเอาผิดบริษัทต่อการก่อเกิดไฟป่า คือจิ๊กซอว์แก้ปัญหาหมอกควันข้ามพรมแดน
มลพิษทางอากาศไม่มีขอบเขตแดนประเทศ เป็นเวลาหลายปีมาแล้วที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เผชิญกับคุณภาพอากาศที่เลวร้ายในช่วงเวลาหลายเดือนของปี ไม่ว่าจะเป็นช่วงต้นปีที่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงหรือกลางปีจากการเผาป่าที่อินโดนีเซีย ราว 6 ประเทศของภูมิภาคต้องทนกับวิกฤตสุขภาพนี้ราวกับเป็นเรื่องปกติของปี
-
มีอะไรในเนื้อสัตว์ที่เรากิน?
‘ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน’ เป็นคำถามติดตลกที่ใครหลายคนต้องเคยได้ยินอย่างแน่นอน อาจทำให้ปวดหัวเสียมากกว่าด้วย แต่สิ่งที่น่าสงสัยมากกว่านั้นทำไมไม่มีใครตั้งคำถามเลยว่า แล้วอะไรอยู่ในไก่กับไข่บ้าง นอกจากเนื้อของไก่ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และไข่ที่ประกอบไปด้วยไข่ขาว และไข่แดง มันมีอะไรมากกว่านั้นอีกหรือเปล่า
-
อาเซียนรวมใจ แต่ทำไมจัดการมลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามแดนไม่ได้สักที?
“ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลใน ASEAN ต้องพิจารณามลพิษทางอากาศจากหมอกควันข้ามพรมแดนเป็นเรื่องเร่งด่วน”
-
กรีนพีซเรียกร้องผู้นำอาเซียนลงมือจัดการมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดนเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชน
กรีนพีซและองค์กรภาคประชาสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกร้องผู้นำประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ให้ดำเนินการแก้ปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดนโดยเร่งด่วน และเพื่อยุติหายนะภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อคนนับล้านและความเสียหายทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
-
การกินเนื้อสัตว์ของเรา ทำให้โลกร้อนได้อย่างไร?
ทุกวันนี้มนุษย์เรามีการผลิตเนื้อสัตว์มากกว่าเมื่อ 50 ปีก่อนประมาณ 6 เท่าตัว [1] ซึ่งถามว่าโลกเราก็พื้นที่เท่าเดิม เราผลิตเนื้อสัตว์มากขนาดนี้ได้ยังไง คำตอบง่าย ๆ ก็คือก็เพราะเราถางป่าเพื่อจะสร้างพื้นที่ในการเลี้ยงสัตว์และสร้างพื้นที่ในการปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์มากขึ้น ซึ่งการใช้ผืนป่าปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์นี่แหละคือภัยเงียบที่เรามักจะมองไม่เห็น
-
กรีนพีซร่วมกับ Documentary Club ฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Eating Animals ในวันอาหารโลก
กรุงเทพฯ, 16 ตุลาคม 2562 - เนื่องในวันอาหารโลกหรือ World Food Day กรีนพีซร่วมกับ Documentary Club ฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Eating Animals เปิดเผยเบื้องหลังอุตสาหกรรมปศุสัตว์ ที่มุ่งผลิตเนื้อสัตว์ประเภทต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยไม่คำนึงถึงวิธีการหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น
-
ชีวิตของผมในเมืองแห่งหมอกควัน ที่ อินโดนีเซีย
คุณภาพอากาศที่เราหายใจอยู่ในระดับที่เลวร้าย และเราต้องสูดอากาศที่เต็มไปด้วยสารพิษจากควันไฟป่านี้ทุกวัน ดัชนีคุณภาพอากาศ (the air quality index (AQI)) พุ่งสูงจากระดับที่ปลอดภัยไปแตะที่ตัวเลข 300 ซึ่งสถิติตัวเลขที่สูงที่สุดที่วัดได้นั้นสูงถึง 2,000
-
คำแถลงการณ์ของกรีนพีซ สนับสนุนให้รัฐบาลมีมติยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายทางการเกษตร และมีนโยบายระยะยาวส่งเสริมเกษตรที่เปลี่ยนมาวิถีเกษตรอินทรีย์
พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซตเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่สามารถตกค้างได้ในสิ่งแวดล้อม อาหาร น้ำดื่ม หรือแม้แต่ในร่างกายของคนและถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกได้ โดยคณะกรรมการวัตถุอันตราย และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำเป็นต้องเด็ดขาดในการเลือกตัดสินใจเพื่อปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และจะต้องดำเนินการห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายนี้กับอาหารของประชาชน
-
นายกเทศมนตรี 14 เมืองใหญ่ทั่วโลกมุ่งมั่นที่จะลดการบริโภคเนื้อสัตว์ในเมืองของตน
14 เมืองใหญ่ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นปารีส ลอสแอนเจลิส ลิมา โตเกียว และโซล ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะเป็น “เมืองอาหารดี” (Good Food Cities) โดยการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ตามโรงอาหารหน่วยงานของรัฐเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเร่งด่วนเพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ