All articles
-
ความเห็นของกรีนพีซต่อผลการเจรจาสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศที่กลาสโกว์
ผลการเจรจาออกมาแบบครึ่งๆ กลางๆ ไม่หนักแน่น และเป้าหมายเพื่อจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส(เทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรม)ยังปรากฏอยู่ในเนื้อหา ยุคถ่านหินกำลังจะหมดลงคือสัญญานที่ส่งออกมาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
-
กรีนพีซตอบโต้เนื้อหาความตกลงใหม่ที่ COP26
“เนื้อหาความตกลงน่าจะดีกว่านี้ ควรจะดีกว่านี้ และเราเหลือเวลาหนึ่งวันเพื่อทำให้มันหนักแน่นขึ้น ตอนนี้ ร่างเนื้อหาความตกลงยังมีร่องรอยผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล และถ้าเป็นเช่นนี้ ก็จะไม่ใช่ความตกลงที่ก้าวหน้าที่ผู้คนทั่วโลกคาดหวังจากกลาสโกว์”
-
กรีนพีซระบุ การเจรจามาตรา 6 ที่ COP26 ขยายช่องโหว่ของความตกลงปารีส
กลาสโกว์ 12 พฤศจิกายน 2564 - เนื้อหาใหม่ที่เผยแพร่ออกมาในวันนี้สำหรับมาตรา 6 ของความตกลงปารีสนั้นชัดเจนว่าเปิดช่องทางให้มีการชดเชยคาร์บอน ซึ่งเป็นช่องว่างที่นำไปสู่การนับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้อย่างซ้ำซ้อน และการหลีกเลี่ยงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจริงๆ โดยทั้งหมดนี้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเกินขีดจำกัด 1.5 C
-
กรีนพีซตอบโต้แถลงการณ์ทวิภาคีจีน-สหรัฐอเมริกาที่ COP26
แถลงการณ์ของประเทศทั้งสองตระหนักถึงเป้าหมาย 1.5 C ว่า เป็นหัวใจสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศที่น่าเชื่อถือและกำหนดให้ทศวรรษ 2020(พ.ศ.2563-2573) คือกรอบเวลาที่เราต้องเห็นการลงมือทำจริงๆ ซึ่งมีความสำคัญโดยเฉพาะจากสองประเทศนี้ แต่ท้ายที่สุดแล้ว แถลงการณ์ของพวกเขาไม่ได้ผนวกข้อเรียกร้องจากกลุ่มประเทศที่เสี่ยงต่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศในประเด็นที่ให้ ประเทศต่างๆ นำเสนอแผนปฏิบัติการที่มุ่งมั่นมากยิ่งขึ้นในแต่ละปีจนกว่าช่องว่างระหว่างเป้าหมาย 1.5 C และการลงมือทำจริงๆ จะหมดลง
-
กรีนพีซตอบโต้ร่างเนื้อหาความตกลงใน COP26 ที่กลาสโกว์
ร่างความตกลงนี้ไม่ใช่แผนการกอบกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่เป็นความตกลงที่เราทุกคนต้องการให้เป็นและคาดหวังว่าจะดีที่สุด เป็นการร้องขอที่นิ่มนวลว่าประเทศต่างๆ อาจจะทำมากขึ้นในปีหน้า แต่ที่แน่ๆ มันยังไม่ดีพอ และคณะเจรจาทั้งหลายไม่ควรคิดที่จะเดินทางออกจากกลาสโกว์จนกว่าพวกเขาจะเห็นชอบในความตกลงที่สอดคล้องกับสถานการณ์ เพราะแทบจะมั่นใจได้ว่า ความตกลงที่กลาสไกว์จะไม่มีสิ่งนี้
-
หากทำตามสัญญาที่ COP26 รัฐบาลต้องกล้าปลดระวางถ่านหิน
ถ้อยแถลงของผู้นำประเทศใน World Leader Summit ณ COP26 ที่กลาสโกว์ เมื่อวันที่ 1-2 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา สะท้อนเบื้องหลังของนโยบายและมาตรการที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถ้อยแถลงบนเวทีโลกอาจกลายเป็นเพียงสัญญาที่ว่างเปล่าหากการลงมือทำจริงกลับสวนทาง
-
COP26 ควรจะให้ความสำคัญกับการลดการลงทุนอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์
แม้ว่า COP26 ที่กลาสโกว์ จะไม่ได้กำหนดให้อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์เป็นหนึ่งใน 4 เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดเป็นรูปธรรม แต่การที่อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึงร้อยละ 19 ของการปล่อยเรือนกระจกทั้งหมดทั่วโลกตามข้อมูลล่าสุดของรายงาน IPCC เราจะมาสำรวจประเด็นดังกล่าวนี้กัน
-
กรีนพีซย้ำ การวิเคราะห์ล่าสุดของ Climate Action Tracker ชี้ถึงอนาคตที่เป็นหายนะ
การวิเคราะห์ของ The Climate Action Tracker พบว่า เมื่อพิจารณาจากแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573 ของรัฐภาคีสมาชิกทั้งหมดภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกจะยังคงเพิ่มขึ้นเป็น 2.4 องศาเซลเซียสในปี 2643 จากการวิเคราะห์ถึงปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศทั่วโลกลงมือทำจริงๆ (ไม่ใช่แผนงานบนแผ่นกระดาษ) อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกจะเพิ่มขึ้นไปอีกเป็น 2.7 องศาเซลเซียสในปี 2643
-
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเติมเชื้อไฟการเหยียดเชื้อชาติหรือไม่
จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบถึงผู้คนทั่วโลก แต่คนผิวสีมักเป็นคนกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติ คนผิวสีมีเปอร์เซ็นต์ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากกว่า อาทิ อุทกภัย คลื่นความร้อน ภัยแล้ง ไฟป่า ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น หากวิกฤตการณ์รุนแรงขึ้น สถานการณ์ของคนกลุ่มนี้จะเลวร้ายลงไปอีก แล้วเช่นนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเติมเชื้อไฟการเหยียดเชื้อชาติหรือไม่?
-
กรีนพีซตอบโต้ – ร่างแรกของความตกลงกลาสโกว์มีเนื้อหาที่ “ไม่หนักแน่นอย่างยิ่ง” และไม่เอ่ยอ้างถึงการปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล
ร่างแรกของเนื้อหาการตัดสินใจ (decision text) ของความตกลงกลาสโกว์ไม่มีการอ้างถึงการปลดแอกเชื้อเพลิงฟอสซิล - แย้งกับคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ