All articles
-
SCG ส่งจดหมายถึงกรีนพีซ ยืนยันปลดระวางถ่านหิน เริ่มจากยกเลิกแผนเหมืองถ่านหินในภาคเหนือ
จากจดหมายชี้แจงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ซึ่งระบุว่า บริษัทฯ ได้พิจารณายกเลิกโครงการเหมืองถ่านหินของตนที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยยื่นถอนคำขอประทานบัตรต่อหน่วยงานราชการเป็นที่เรียบร้อย ในกรณีของโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย จ.เชียงใหม่ซึ่ง SCG อยู่ในห่วงโซ่อุปทานรับซื้อถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานปูนซีเมนต์นั้น SCG เเจ้งยืนยันกับผู้ยื่นคำขอประทานบัตรแล้วว่า SCG มีนโยบายไม่รับซื้อถ่านหินจากโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย
-
ต้อนรับปีใหม่ 2568 พร้อมความสำเร็จในงานรณรงค์ของกรีนพีซ
เราขอขอบคุณผู้สนับสนุนกรีนพีซทุกคนที่เป็นคนสำคัญต่อความสำเร็จในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา ตลอดปีกรีนพีซรณรงค์และมีความสำเร็จอะไรบ้างมาดูกันดีกว่า
-
คุยกับทีมวิจัย “ย่อย ไม่ย่อย ?” ตกลงแล้ว พลาสติกที่บอกเราว่า ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ย่อยจริงหรือเปล่า?
เราหยิบยกหนึ่งในข้อสงสัยของผู้บริโภคเกี่ยวกับ ‘ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ’ ด้วยการทำงานร่วมกับทีมจากคณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ทำการทดลองว่า ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลายได้จริงหรือไม่
-
Beyond Coal: ก้าวข้ามถ่านหินสู่พลังงานสะอาดและการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม
ในโลกยุคปัจจุบัน ถ่านหินซึ่งเคยเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก กำลังเป็นตัวการที่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างร้ายแรง การเผาไหม้ถ่านหินก่อให้เกิดวิกฤตโลกเดือดและสร้างมลพิษทางอากาศ ทั้งก๊าซเรือนกระจก ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาลจากการใช้ถ่านหิน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ
-
รายงาน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีต่อปริมาณน้ำท่า (runoff) พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม (flood risk areas) และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม (landslide risk areas) บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำติดต่อระหว่างประเทศไทย เมียนมา และสปป.ลาว
งานวิจัยของกรีนพีซ ร่วมกับคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาถึงความเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไปเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบริเวณลุ่มน้ำกก(Nam Mae Kok Basin) และลุ่มน้ำคำ (Nam Mae Kham Basin) บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศไทยตอนบน รัฐฉานของเมียนมาและสปป.ลาว โดยวิเคราะห์ผลการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลียงสัตว์ การเปลี่ยนพื้นที่ป่าไปเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีต่อปริมาณน้ำท่า (runoff) พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม (flood risk areas) และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม (landslide risk areas)
-
กรีนพีซระบุพลาสติกชีวภาพไม่ใช่ทางออกของการยุติวิกฤตมลพิษพลาสติก
กรุงเทพฯ, 21 ธันวาคม 2567- รายงานล่าสุด “Beyond the Label: Debunking the Biodegradable Plastic Myth” โดยกรีนพีซ ประเทศไทย ที่ศึกษาประสิทธิภาพด้านการย่อยของพลาสติกชีวภาพและความเป็นไปได้ในการแตกตัวเป็นไมโครพลาสติก ระบุผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ หรือพลาสติกชนิดย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable plastics) ไม่ใช่ทางออกของการยุติวิกฤตมลพิษพลาสติก
-
องค์กรสิ่งแวดล้อมชื่นชมรัฐบาลไทยออกกฎหมายห้ามนำเข้าขยะพลาสติกย้ำหลังจากนี้ต้องบังคับใช้อย่างจริงจัง
กระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศกำหนดให้เศษพลาสติกภายใต้พิกัดศุลกากรประเภท 39.15 เป็นสินค้าที่ต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
-
Beyond the Label: Debunking the Biodegradable Plastic Myth
รายงาน “Beyond the Label: Debunking the Biodegradable Plastic Myth” เป็นรายงานที่นำเสนอผลการทดลองของผลิตภัณฑ์ที่มีการระบุว่าเป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ในการทดสอบเป็นการทดสอบประสิทธิภาพด้านการย่อยของบรรจุภัณฑ์และความเป็นไปได้ในการแตกตัวเป็นไมโครพลาสติก โดยจำแนกเป็น 1) อัตราการย่อยสลายของบรรจุภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และ 2) ความหนาแน่นของจำนวนชิ้นส่วนขนาดเล็กที่หลุดรอดหรือแตกหักออกมาจากบรรจุภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
-
บุญยืน ศิริธรรม: ประเทศไทยมีแดดมากพอ นโยบายของรัฐต่างหากที่ ‘บังแดด’ และผลักคนไทยออกจากการเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์
บุญยืน ศิริธรรม ต่อสู้เพื่อความชอบธรรมของพี่น้องประชาชาชนมามากกว่า 30 ปี จากนักสู้ที่เรียกร้องและมักจะเป็นผู้ร้องทุกข์ต่อรัฐจนเกิดความเปลี่ยนแปลงในหมู่บ้านซึ่งเป็นถิ่นเกิดในจังหวัดสมุทรสงคราม