All articles
-
กรีนพีซระบุวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ปี 2563 คือความล้มเหลวของรัฐบาลไทยและอาเซียนในการจัดการมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน
ข้อมูลจากการวิเคราะห์จุดความร้อน พื้นปลูกข้าวโพด พื้นที่เผาไหม้ และมลพิษ PM2.5 ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงระหว่างปี 2562 - 2563 ระบุ PM2.5 ยังคงเป็นวิกฤตมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนที่มีความท้าทายในภูมิภาค
-
ฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรราว 160,000 รายใน 5 เมืองใหญ่ของโลกในปี พ.ศ.2563
ผลการศึกษาของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ IQAir จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากป้ายแสดงผลตัวเลขตามเวลาจริง (live Cost Estimator) ออนไลน์ [1][2] พบว่าปี 2563 ฝุ่นพิษ PM 2.5 เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว 160,000 รายใน 5 เมืองใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
-
กลุ่มสิ่งแวดล้อม 188 องค์กร เรียกร้องให้ยุติผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งในวาระที่สมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UNEA) อภิปรายถึงความยั่งยืน
17 กุมภาพันธ์ 2564 – ในขณะที่ผู้แทนรัฐบาลจาก 190 ประเทศเตรียมหารือเรื่อง “การเสริมสร้างปฏิบัติการเพื่อธรรมชาติ” [1] กลุ่มสิ่งแวดล้อม 181 องค์กรทั่วโลกเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบที่สนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งก่อมลพิษ
-
ความเห็นของกรีนพีซ ประเทศไทย กรณีคณะรัฐมนตรีที่มีมติเห็นชอบให้แบนพลาสติกใช้แล้วทิ้งอีก 4 ชนิด
กรุงเทพฯ, 17 กุมภาพันธ์ 2564 — ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563 – 2565) โดยมี 2 เป้าหมาย ; เป้าหมายที่ 1 ให้ลดและเลิกใช้พลาสติกใช้แล้วทิ้ง 4 ชนิด คือ ถุงพลาสติกหูหิ้ว ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร (ไม่รวมถึงโฟมที่ใช้กันกระแทกในภาคอุตสาหกรรม) แก้วพลาสติกความหนาน้อยกว่า 100…
-
ความเห็นของกรีนพีซ ประเทศไทย กรณีประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2563 กำหนดให้โรคหรืออาการท่ีเกิดจากการสัมผัสฝุ่น PM2.5 เป็นโรคจากสิ่งแวดล้อม
ธารา บัวคำศรี ผู้อำนายการกรีนพีซ ประเทศไทยแสดงความคิดเห็นต่อกรณีประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2563 กำหนดให้โรคหรืออาการท่ีเกิดจากการสัมผัสฝุ่น PM2.5 เป็นโรคจากสิ่งแวดล้อม
-
ความเห็นของกรีนพีซ ประเทศไทย กรณีมาตรการภาษีจูงใจผู้ประกอบการลดขยะพลาสติก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศว่ากำลังการหารือกับกระทรวงการคลังถึงมาตรการทางภาษี เพื่อส่งเสริมเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หลีกเลี่ยงการก่อขยะพลาสติก
-
โจ ไบเดน นำสหรัฐอเมริกากลับเข้าร่วมความตกลงปารีสและยกเลิกใบอนุญาตโครงการท่อส่งน้ำมัน Keystone XL
สำหรับกลุ่มคนที่เป็นด่านหน้าในการต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการระบาดของโควิด19 นั้นไม่ใช่เพียงการแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ หรือการฟื้นฟูให้กลับมาดีขึ้นกว่าเดิม แต่ยังหมายถึงการปลดแอกสังคมเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วย
-
อาชีวศึกษากาญจนบุรี เปิดตัว โซลาร์เจเนอเรชั่น วิทยาลัยแสงอาทิตย์แห่งแรกจากกองทุนแสงอาทิตย์
กาญจนบุรี, 18 ธันวาคม 2563 – นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ของวิทยาลัยอาชีวศึกษากาญจนบุรี ร่วมกันเปิดตัว “โซลาร์เจเนอเรชั่น วิทยาลัยแสงอาทิตย์ (SOLAR GENERATION)” สร้างการเรียนรู้และการจ้างงานจากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นปีที่ 2 ของกองทุนแสงอาทิตย์ที่เปิดรับเงินบริจาคผ่านกองทุนฯ เพื่อติดตั้งระบบโซลาร์รูฟท็อปให้วิทยาลัยสายอาชีพ 7 แห่ง แห่งละ 10 กิโลวัตต์ทั่วประเทศ
-
กรีนพีซเผย พลาสติกชีวภาพไม่สามารถแก้วิกฤตขยะพลาสติกในจีนได้
รายงานใหม่ของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกระบุ การผลิตพลาสติกชีวภาพที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาวิกฤตมลพิษพลาสติกของจีนได้
-
กรีนพีซพบบรรจุภัณฑ์พลาสติกของเครือซีพีมากที่สุดเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันจากการตรวจสอบขยะพลาสติกสองพื้นที่ในประเทศไทย
กรุงเทพฯ, 3 ธันวาคม 2563– กรีนพีซ ประเทศไทยเปิดเผยรายงานการตรวจสอบแบรนด์สินค้าจากขยะพลาสติก(Brand Audit) ที่เก็บได้จากบริเวณดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ และหาดวอนนภา จังหวัดชลบุรี เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา[1] ระบุผู้ผลิตแบรนด์ในประเทศ 5 อันดับแรกที่พบจำนวนขยะพลาสติกมากที่สุด คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มบริษัทดัชมิลล์ โอสถสภา กลุ่มธุรกิจTCP และแลคตาซอย