ปี 2568 นี้ถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญและยังเป็นจุดที่ไม่อาจย้อนกลับอีกครั้งหนึ่งของการต่อสู้เพื่อสภาพภูมิอากาศ ปีนี้เป็นปีที่ความตกลงปารีสจะครบรอบ 10 ปีและยังเป็นปีที่แต่ละประเทศจะต้องส่งแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศปี 2578 ให้กับองค์การสหประชาชาติอีกด้วย

แผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศคืออะไร ? ทำไมจึงถูกเรียกว่า การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDCs) และทำไมกระบวนการนี้จึงสำคัญ ?

Statue of Liberty Climate Action at G7 Summit in Italy. © Tommaso Galli / Greenpeace
At the Giardini Naxos beach in Taormina, Greenpeace activists unveil a four-meter-high Statue of Liberty replica covered with a life jacket to symbolise the threat that climate change and rising seas pose. Greenpeace is calling on the G7 leaders to rapidly implement the Paris Climate Agreement, a generation-defining pact signed by nearly 200 countries, and to resolutely move forward despite the threats of US President Trump to abandon the agreement. © Tommaso Galli / Greenpeace

การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDCs) คืออะไร ?

การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDCs) หรือ NDCs ถือเป็นหัวใจสำคัญของความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งเป็นการประชุมที่บรรลุข้อตกลงด้านสภาพภูมิอากาศเมื่อปี 2558 ในการประชุมเจรจาครั้งนั้น รัฐบาลจากหลากหลายประเทศให้คำมั่นสัญญาที่จะชะลอไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงเกินกว่า 2 องศาเซลเซียส รวมถึงความพยายามจำกัดไม่ให้โลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียส

ภายใต้เงื่อนไขของความตกลงปารีส แต่ละประเทศจะต้องเผยแพร่และสื่อสารแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศ และแผนการ NDCs เหล่านี้ควรมีรายละเอียดถึงความพยายามของแต่ละประเทศที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับประเทศ (GHG)  และแผนการรับมือกับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

Greenpeace projection Photo Booth in the Civil Society Hub at COP29 with portraits (here Avex Yuhan Li) and images of climate impacts to send a message to country delegates that the time for action is now. The 29th UN Climate Conference, COP29, takes place in Baku, Azerbaijan, from 11 to 22 November 2024. Greenpeace is at the COP to hold governments to account to make fossil fuel polluters pay for the climate crisis they have created, and put fossil fuel phase out plans at the heart of national climate action.
© Marie Jacquemin / Greenpeace

NDCs สำคัญมากแค่ไหน ?

ท้ายที่สุดแล้ว แผน NDCs และวิธีการที่รัฐบาลนำไปปรับใช้จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการชะลอไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้เมื่อครั้งการประชุมความตกลงปารีส

แผน NDC ใหม่ ๆ ที่แต่ละประเทศส่งมาจำเป็นต้องแสดงให้เห็นกระบวนการการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและความมุ่งมั่นมากกว่าแผน NDC ก่อนหน้า กระบวนการนี้เป็นที่รู้จักว่าเป็นกลไกการเพิ่มระดับของความตกลงปารีส ซึ่งที่ผ่านมาแผนการก็ถูกยกระดับขึ้นเรื่อย ๆ 

แต่ละประเทศต้องทำแผน NDCs บ่อยแค่ไหน ?

แต่ละประเทศต้องส่งแผน NDCs ทุก ๆ 5 ปีให้กับสำนักงานเลขานุการกรอบอนุสัญญาประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) ภายใต้องค์การสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลก 

กรอบอนุสัญญาประชาชนตินี้มีสมาชิกจากทั่วโลก ปัจจุบันมีสมาชิก 198 ภาคี ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศหลักตั้งแต่เกิดความตกลงปารีสเมื่อปี 2558

แผน NDCs ครั้งแรกเกิดขึ้นที่ไหน ?

ร่างแรกของแผน NDCs ถูกเขียนขึ้นและพัฒนาไปเป็นส่วนหนึ่งในการปรับใช้ในความตกลงปารีสในปี 2558 และได้รับประกาศอย่างเป็นทางการในปี 2563/2564

ปีนี้เป็นปีที่แต่ละประเทศต้องส่งแผน NDCs รอบถัดไปสำหรับปี 2578 แล้วหรือไม่?

ถูกต้อง ! กำหนดส่งแผน NDCs คือปีนี้ ซึ่งหากให้ระบุวันนั่นก็คือวันที่ 10 กุมภาพันธ์

แผน NDCs ฉบับใหม่ที่แต่ละประเทศต้องส่งนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ NDCs 3.0 จะเข้ามามีบทบาทกับการทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) ตั้งแต่ช่วงปี 2567 ซึ่งจะใช้ประเมินความก้าวหน้าของโลกให้เป็นไปตามกรอบความตกลงปารีส

แต่ละประเทศจะส่งแผนทันเวลาหรือไม่?

Umbrella Action against Global warming in Mexico City. © Greenpeace / Gustavo Graf
Greenpeace activists form a 1.5 figure with light as a reference to the Paris Agreement goals for the rise of the temperature due to the global warming at the Monumento a la Revolucion in Mexico City, Mexico, November 09, 2022. REUTERS/Gustavo Graf, CLIMATE-UN/COP27-GREENPEACE-MEXICO © Greenpeace / Gustavo Graf

ตอนนี้มีเพียงแค่กลุ่มประเทศที่ให้ความร่วมมือบางส่วนเท่านั้นที่ส่งแผน NDCs ให้กับองค์การสหประชาชาติ ในขณะที่ยังมีอีกหลายประเทศที่เป็นมหาอำนาจด้านเศรษฐกิจและเป็นผู้ก่อมลพิษหลักยังไม่ได้ส่งแผนและอาจส่งแผนไม่ทันกำหนดเวลา

ดูรายชื่อประเทศที่ส่งแผน NDC 2035 ให้กับ UN แล้ว

การส่งแผน NDCs ครั้งนี้เราคาดหวังว่าจะเห็นอะไร ?

คณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งศึกษาวิจัยและเผยแพร่รายงานวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ ระบุว่าการชะลอไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส โลกจำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ลง 60% ภายในปี 2578 เมื่อเทียบกับปี 2562 (และต้องลดลง 43% ภายในปี 2583)

การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) จะช่วยชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้จริงหรือไม่ ?

แม้ว่าเราจะเห็นแผน NDCs ที่พัฒนาไต่ระดับอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ความคืบหน้านี้ก็ยังช้าเกินไป โดยรายงานการวิเคราะห์แผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในปีที่แล้วแสดงให้เห็นว่าการจะไปถึงเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก (GHG) ยังอีกยาวไกลและรัฐบาลแต่ละประเทศจำเป็นจะต้องยกระดับความพยายามของตัวเอง

การวิเคราะห์นั้นแสดงให้เห็นว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกในปี 2568 คาดว่าจะสูงกว่าปี 2533 ถึง 54% และในปี 2573 จะสูงกว่าปี 2533 ถึง 50%

ดังนั้น แต่ละประเทศจำเป็นจะต้องทำแผน NDCs ของปี 2578 ให้มีความทะเยอทะยานมากกว่านี้ เพราะเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วอย่างคลื่นความร้อน พายุ และไฟป่า เป็นตัวพิสูจน์แล้วว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะรุนแรงขึ้น และแต่ละประเทศจะเพิกเฉยหรือเลื่อนแผนการที่แก้ปัญหาจริงจังออกไปอีกไม่ได้

ปัจจุบันอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกกำลังสูงขึ้นไปที่กี่องศาเซลเซียส ?

รายงานการวิเคราะห์ขององค์การสหประชาชาติระบุถึงช่องโหว่ระหว่างความคาดหวังที่จะลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2583 กับกระบวนการการชะลอไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิสามารถสูงขึ้นถึง 2.1-2.8 องศาเซลเซียส ภายในปี 2643 ได้ หากทั่วโลกยังเพิกเฉยไม่แก้ปัญหา

เราจะช่วยชะลอไม่ให้โลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียสได้อย่างไร ?

เรายังมีโอกาสชะลอไม่ให้โลกร้อนไปกว่านี้ได้ แต่เราจำเป็นจะต้องพยายามอย่างหนักเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาล ข่าวดีก็คือรายงานช่องว่างการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปี 2567 ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) (ซึ่งเป็นรายงานที่ประเมินถึงนโยบายปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งที่ขาดหายไปโดยจำเป็นจะต้องมีอยู่ในนโยบายดังกล่าว) ระบุว่า ในทางเทคนิคการชะลอไม่ให้โลกร้อนเกิน 1.5 องศาเซลเซียสยังมีโอกาสเป็นไปได้

นอกจากนี้ รายงานของ UNEP ยังระบุอีกว่าการลงทุนในพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์และการปกป้องผืนป่าจะช่วยให้เราลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มหาศาลในระยะเวลาอันรวดเร็ว อย่างไรก็ตามข้อแม้คือเราจะต้องมีแผนปฎิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศที่แต่ละประเทศจะต้องส่งมาเพื่อเป็นฐานที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะใช้เพื่อเป็นแนวทางต่อกรกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

เป้าหมาย 1.5 องศาเซลเซียสถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของความตกลงปารีสซึ่งประกอบจากทุก ๆ การกระทำที่มีความหมาย ดังนั้นเรารอช้าไม่ได้อีกแล้วและต้องลงมือทำตามแผนทันที ! ยิ่งเราปล่อยให้ยังมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลต่อไปเรื่อย ๆ และไม่ยุติยุคฟอสซิลเสียที ก็ยิ่งจะทำให้วิกฤตสภาพภูมิอากาศทั่วโลกเลวร้ายลงยิ่งกว่าเดิม เราอยากย้ำเตือนว่าการลดลงทุก ๆ 0.1 องศาเซลเซียสจะทำให้เราหลีกเลี่ยงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายได้ซึ่งคุ้มค่าที่จะต่อสู้เพื่อให้ได้มา

เราจะเห็นแผน NDCs 2578 เมื่อไร ?

องค์การสหประชาชาติจะเผยแพร่บทวิเคราะห์ในปีนี้ ช่วงเวลาก่อนการมีประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศโลก ครั้งที่ 30 (COP30) ซึ่งจะเกิดขึ้นที่เมือง เบเลม บราซิล ช่วงเดือนพฤศจิกายน บทวิเคราะห์ดังกล่าวจะประเมินแผน NDCs 2578 และแนวโน้มเส้นทางที่โลกจะต้องดำเนินไป

เราเป็นอีกแรงสนับสนุนให้รัฐบาลของเราจริงจังกับการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศได้

ช่วยแชร์และบอกเล่าเรื่องราวนี้ให้กับเพื่อน ๆ ผู้มีส่วนกำหนดนโยบาย รัฐบาลท้องถิ่น และเรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศร่างแผน NDCs ที่จะช่วยให้ประเทศของเราลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้จริง

นี่คือหน้าที่ของรัฐ เราจำเป็นต้องย้ำเตือนรัฐว่าประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงและตอนนี้เราต้องการอาศัยอยู่ในสภาพภูมิอากาศที่ปลอดภัยรวมทั้งส่งต่อโลกที่ปลอดภัยให้กับคนรุ่นต่อไป

บทความนี้แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ อ่านบทความต้นฉบับ


ร่วมสนับสนุนการทำงานของกรีนพีซ

เราส่งต่อเรื่องราวดี ๆ ที่จะช่วยให้การปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชนเป็นเรื่องน่ารู้ เข้าถึงง่ายและสามารถนำไปปรับใช้ต่อไปได้