15 ตุลาคม 2567

โดย เครือข่ายประชาชนเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศและหยุดคาร์บอนเครดิต

วิกฤตโลกเดือดคือผลพวงกว่าร้อยปีแห่งการล่าอาณานิคมและการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งนําเอาเชื้อเพลิง ฟอสซิล (ถ่านหิน นํ้ามัน ก๊าซ) ขึ้นมาใช้ โดยที่กลุ่มประเทศรํ่ารวยในซีกโลกเหนือได้ประโยชน์จากการ สะสมทุน ความมั่งคั่ง และยึดกุมอํานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองไว้

ไทยในฐานะประเทศกําลังพัฒนาในซีกโลกใต้ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษของการพัฒนาให้ เป็นสมัยใหม่จากการขูดรีดทรัพยากรธรรมชาติและกดขี่ชุมชนท้องถิ่น ก็ได้กลายเป็นประเทศ อันดับต้น ๆ ของโลกที่มีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบของโลกเดือด สองทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปี 2565 ประเทศไทยเผชิญกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว 146 ครั้ง สร้างความสูญเสียต่อชีวิต

0.21 ต่อประชากร 1 แสนคน และสร้างความเสียหาย 7,719.15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ

0.82% ของ GDP การคาดการณ์อนาคตโดยใช้แบบจําลองสภาพภูมิอากาศระบุว่า เมื่ออุณหภูมิ เฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้นเป็น  1.5  องศาเซลเซียส  จํานวนวันแห้งแล้งในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นร้อยละ

2.6 และความรุนแรงจากอุทกภัยจะเพิ่มร้อยละ 3 แต่เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้นเป็น 3 องศาเซลเซียส จํานวนวันแห้งแล้งจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และความรุนแรงจากอุทกภัยจะเพิ่มร้อย ละ 13 โดยเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ชาวนาชาวไร่ ชาวประมงพื้นบ้าน คนจนผู้ยากไร้ในเมืองและ ชนบท ชุมชนท้องถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ เด็ก เยาวชน สตรีและกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศรวม ถึงผู้ใช้แรงงาน แรงงานข้ามชาติ ในประเทศไทยคือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

หายนะจากวิกฤตโลกเดือดซึ่งพวกเราแทบไม่ได้มีส่วนก่อขึ้นนี้ ยังได้ซํ้าเติมความเหลื่อมลํ้าทางสังคมและ ความยากจนที่มีอยู่เดิมให้ขยายทบทวีขึ้นไปอีก ส่วนนโยบายสภาพภูมิอากาศของไทยรวมถึงเป้าหมาย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความเป็นกลางทางคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ (Net Zero) ซึ่งยึดโยงกับรัฐธรรมนูญ 2560 และแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คือเครื่องมือและกลไกของ กลุ่มชนชั้นนําที่ยึดกุมอํานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองเพื่อดํารงไว้ซึ่งสถานะที่เป็นอยู่ และเปิดให้ อุตสาหกรรมฟอสซิล อุตสาหกรรมอาหารยักษ์ใหญ่/อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และโครงการพัฒนาต่างๆ ที่ ทําลายล้างฐานทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นทําการฟอกเขียวโดยอ้างการพัฒนาที่ยั่งยืน ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วม รวมถึงความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น ความตกลงปารีส เป็นต้น โดยที่ อุตสาหกรรมฟอสซิล อุตสาหกรรมอาหารยักษ์ใหญ่/อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่ ทําลายล้างฐานทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นยังสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษอื่น ๆ ต่อไปได้ ผ่านระบบตลาดซื้อขายคาร์บอนและเครดิตระบบนิเวศ

นี่คือโฉมหน้าของการละเมิดสิทธิชุมชน สิทธิเกษตรกร สิทธิกลุ่มชนพื้นเมือง/กลุ่มชาติพันธ์ุและสิทธิ มนุษยชนในนามของการแก้โลกเดือดที่รัฐ ทุน และกลไกของรัฐ/ทุนดําเนินการอยู่

เครือข่ายประชาชนเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศและหยุดคาร์บอนเครดิตเห็นว่า วิกฤต โลกเดือดเป็นวิกฤตที่ส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิทธิชุมชน สิทธิเกษตรกร สิทธิกลุ่มชนพื้นเมือง/กลุ่ม

ชาติพันธ์ุและสิทธิมนุษยชน ดังน้ัน กรอบในเรื่องสิทธิต้องเป็นหัวใจสําคัญ หากกลุ่มผู้ปล่อยก๊าซเรือน กระจก/มลพิษรายใหญ่ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมรํ่ารวย อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล/อุตสาหกรรม เนื้อสัตว์ และอุตสาหกรรมขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติไม่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างมีนัย สําคัญ ภัยคุกคามต่อสิทธิชุมชน สิทธิเกษตรกร สิทธิกลุ่มชนพื้นเมือง/กลุ่มชาติพันธ์ุและสิทธิมนุษยชนจะ ยิ่งขยายเพิ่มขึ้นไปอีก

ดังน้ัน การไปให้ถึงความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ สังคมไทยต้องไปให้พ้นจากกระบวนทัศน์การ พัฒนาแบบเดิมท้ังหมด ต้องยึดหลักการของหนี้นิเวศวิทยา(ecological debt) เพื่อให้กลุ่มผู้ปล่อยก๊าซ เรือนกระจก/มลพิษรายใหญ่ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมรํ่ารวย อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล/ อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และอุตสาหกรรมขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติมีภาระรับผิดต่อผลกระทบจากการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษในระดับพื้นที่ตลอดห่วงโซ่อุปทานท้ังในอดีตและปัจจุบันท้ังหมด ภาระ รับผิดต้องรวมถึงการชดใช้และฟืนฟูจากการสูญเสียที่ดิน วิถีชีวิต และความเสียหายอื่น ๆ จากผลกระทบ โลกเดือด

ข้อเรียกร้องของเครือข่ายประชาชนเสริมสร้างความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศและหยุดคาร์บอน เครดิต มีดังนี้

  1. ผลักดันให้มีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ให้แล้วเสร็จภายในรัฐบาลนี้ โดยยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายป่าไม้แห่งชาติ แผนพลังงานชาติ แผนพัฒนาเกษตรแปลงใหญ่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ และ นโยบายต่างๆ ที่ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวแบบจอมปลอม ที่นํามาสู่การเร่งเร้าวิกฤตโลกเดือด ท้ังนี้ เพื่อรับรองว่ารัฐบาลจะมีภาระรับผิด(accountability)ในการจัดการกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศท้ังใน ลักษณะที่เป็นภาระรับผิดต่อประชาชนตามกระบวนการประชาธิปไตย และเป็นไปตามหลักการ ภาระรับผิดในระดับสากล
  2. สร้างบทบาทนําในอาเซียน กลุ่มประเทศกําลังพัฒนาที่มีความเสี่ยงต่อโลกเดือดสูงและประชาคมโลก ในการเรียกร้องให้มีการชดใช้หนี้นิเวศ และความสูญเสียและความเสียหาย(loss and damage) ที่ เกิดขึ้น
  3. หยุดกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกฉบับที่สนับสนุนกลไกตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยน คาร์บอนซึ่งเป็นวาทกรรมแก้โลกเดือดแบบจอมปลอม และการใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บ คาร์บอนใต้ดินและใต้ทะเลซึ่งเป็นการฟอกเขียวสร้างความชอบธรรมให้กับอุตสาหกรรมโดยอ้าง ความตกลงปารีสที่ยังต้ังอยู่บนกระบวนทัศน์การพัฒนาแบบเดิม
  4. ยุบเลิกองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(อบก.) ที่ไม่มีบทบาทอื่นใดนอกจากส่งเสริมระบบ คาร์บอนเครดิตและสร้างความชอบธรรมให้อุตสาหกรรมยังคงปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกอยู่ ต่อไป
  5. ทบทวนวิสัยทัศน์ ภารกิจและบทบาทของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียใหม่ โดย เน้นส่งเสริมสิทธิชุมชนในการดูแลและปกป้องทรัพยากร และกํากับดูแลธุรกิจ กิจการ และ อุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด แทนที่จะละเมิดสิทธิชุมชนผ่าน กระบวนการ EIA
  6. ยกเลิกสัมปทานที่ให้บริษัทเอกชนที่เข้าไปทําโครงการคาร์บอนเครดิตและไบโอเครดิตท้ังหมด และ ยุติการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องคาร์บอนเครดิตและไบโอเครดิตทุกประเภท
  7. มีมาตรการเร่งด่วนให้อุตสาหกรรมฟอสซิล อุตสาหกรรมอาหารยักษ์ใหญ่/อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ อุตสาหกรรมขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังภายในเวลาที่ กําหนด หากไม่ดําเนินการต้องมีความผิดทางอาญาสถานหนัก