ในปีนี้ การประชุมสมัชชาภาคีว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 16 หรือ UN Convention on Biological Diversity (CBD COP16) ก็ถูกจัดขึ้นเดือนตุลาคมปีนี้ ที่เมือง คาลี ประเทศโคลอมเบีย โดยจะมีกลุ่มผู้นำจากประเทศต่างๆ เดินทางมาประชุมและเจรจาเพื่อหาทางปกป้องระบบนิเวศที่ถูกทำลายและการปกป้องสิ่งมีชีวิตจากการสูญพันธุ์ โดย CBD COP16 นี้จะเป็นการนำข้อตกลงคุนหมิง-มอนทรีออลในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อปี 2565 มาปรับเป็นหลักปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการกำหนดเป้าหมายการปกป้องระบบนิเวศและปล่อยให้ระบบได้ฟื้นฟูตัวเองอย่างเป็นรูปธรรม

On December 10th, hundreds of Quebec and international civil society organizations led by Indigenous delegations sent a powerful signal to countries that are currently gathered in Montreal for COP15 to negotiate the next Global Biodiversity Framework. This key international agreement will shape global efforts to preserve ecosystems for the next decade. At the forefront of these demands was protecting human rights, including protecting Indigenous peoples and reversing biodiversity loss.

คำว่า COP ที่เราใช้ติดปากนั้นความจริงแล้วย่อมากจากคำว่าการประชุมสมัชชาภาคี (Conference of Parties) ดังนั้นอย่าสับสนหากการประชุมหลายๆวาระมีชื่อว่า COP แต่ถ้าอยากรู้ว่าการประชุมนั้นคือ COP อะไร เราจะต้องดูว่าเป็นการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมในประเด็นอะไรนั่นเอง

ซึ่งแม้ว่าโดยรวมจะเป็นการประชุมด้านสิ่งแวดล้อม แต่การประชุม CBD COP16 จะแตกต่างจากการประชุม COP29 ตรงที่เน้นประเด็นการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ขณะที่ UNFCCC COP29 จะเป็นการประชุมเจรจาด้านสภาพภูมิอากาศโลก

ทำไมการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพจึงสำคัญ?

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือระบบที่ทำให้มนุษย์ยังมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งผืนป่า มหาสมุทรอันอุดมสมบูรณ์จะช่วยให้เราต่อสู้กับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เป็นแหล่งผลิตอากาศให้เราหายใจและเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายใหม่ที่อาจจะเกิดการระบาด เมื่อเราปกป้องธรรมชาติก็เท่ากับเราปกป้องตัวเองไปด้วย หนึ่งในปัญหาที่ชัดเจนนั่นก็คืออุตสาหกรรมทำลายล้างที่กำลังคุกคามระบบนิเวศของโลกมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ไม่เพียงแค่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มาในรูปแบบของธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรของโลกเช่น ธุรกิจเชื้อเพลิงฟอสซิล ธุรกิจที่บุกรุกป่าด้วยการเผาเพื่อเอาพื้นที่มาใช้ประโยชน์ การเข้าไปเอาทรัพยากรในมหาสมุทรห่างไกลและลึกลงไปมากขึ้นเท่านั้น แต่พวกเขายังก่อมลพิษทางการเมือง เป็นอุปสรรคต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม ทำให้ตอนนี้เหลือผืนป่าบนโลกเพียงแค่ 15% และมหาสมุทรเพียง 3% เท่านั้นที่ยังไม่ถูกมนุษย์เข้าไปตักตวงทรัพยากร

รัฐบาลแต่ละประเทศทั่วโลกยังคงปล่อยให้อุตสาหกรรมใหญ่แสวงหาผลกำไร ทำลายสภาพภูมิอากาศไปเรื่อย ๆ และปล่อยให้ประชาชนเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ กลุ่มรัฐบาลที่ร่ำรวยในยุโรป โอเชียเนีย เอเชียตะวันออก และอเมริกาเหนือ ที่มีประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตัวเองผ่านการทำลายสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประเทศซีกโลกใต้ จะต้องให้คำมั่นสัญญาที่จะสนับสนุนด้านการเงินในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้เรายังขาดการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่กลุ่มประเทศซีกโลกใต้ เช่นพื้นที่ป่าฝนเขตร้อน พื้นที่ชายฝั่งที่อุดมไปด้วยแนวปะการังและพื้นที่ภูเขาใต้ทะเลซึ่งเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพและกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต

เพื่อยุติการทำลายสิ่งแวดล้อม เหล่าผู้นำจะต้องหยุดยกผลประโยชน์ของกลุ่มทุนขึ้นมาเหนือกว่าคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงระบบอาหารตั้งแต่วิธีการผลิตไปจนถึงการบริโภคอาหารและสินค้าต่าง ๆ การปรับปรุงแบบนี้จะช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม สร้างเขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเลในมหาสมุทรโลกที่คุ้มครองสัตว์ทะเลและทรัพยากร