“ฉันจะทำอะไรได้บ้าง?”

คุณจะได้ยินคำถามนี้อยู่บ่อยครั้งหากคุณทำงานด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มองในด้านหนึ่ง กลุ่มที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงกรีนพีซ จะบอกคุณว่าการกระทำทุกอย่างที่คุณทำสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ทุกการกระทำมีความหมาย! ในอีกด้านหนึ่งนักเขียนและผู้เชี่ยวชาญจะบอกคุณว่ามันไม่สำคัญว่าคุณจะทำอะไรในชีวิตประจำวันของคุณ เพราะปัญหานี้ไม่สามารถแก้ไขได้จากการกระทำรายบุคคล พวกเขาอาจอ้างว่ามันเป็นการหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบและปล่อยให้ บริษัทต่าง ๆ หลุดพ้นจากปัญหาซึ่งเกิดจากระบบพัง ๆ แต่กลับมีการคุ้มกันไว้อย่างแน่นหนาในสังคมที่เราถูกจำกัดอยู่ อย่างไรก็ตามจากทั้งหมดร้อยละ 70 ของการปล่อยมลพิษนั้นก็ถูกสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล 100 แห่งไม่ใช่หรือ?

อย่างที่ชิ้นงานในว็อกซ์ (Vox) นี้ถูกเรียบเรียงมาอย่างดี ในฐานะนักรณรงค์ เพื่อนของฉันก็เคยบอกกับฉันด้วยความภูมิใจว่าพวกเขารีไซเคิลมากแค่ไหน หรือพูดถึงความพยายามที่จะกินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง หรือซื้อผลิตภัณฑ์รักษ์โลกทุกครั้งที่สามารถหาซื้อได้ ฉันรู้สึกใจสลายทุกครั้งที่ต้องบอกพวกเขาอยู่เสมอว่า แน่นอน… แต่เพื่อให้เกิดผลกระทบที่แท้จริง คุณต้องปฏิเสธและลดการใช้ก่อนเข้าร่วมการประท้วงหรือเป็นพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นทางการเมืองผู้ที่เรียกร้องให้นายกเทศมนตรีในเมืองของคุณมีระบบการขนส่งสาธารณะที่ยั่งยืน ให้รัฐบาลประเทศของคุณเริ่มให้บริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีภาระรับผิดต่อผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ตนก่อขึ้น

หลังจากการบรรยายหนึ่งของฉัน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะเป็นไปในทางเทคนิคและยืดเยื้อ การแสดงออกทางสีหน้าของผู้ฟังมักจะเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ภาษากายของพวกเขาแสดงความรู้สึกออกมาหมด แล้วจึงเงียบไป หรือที่แย่กว่านั้นคือการตอบโต้เพื่อต่อต้าน ฉันก็ทำสิ่งที่ฉันทำได้ คุณรู้ไหม? หรือแบบหมดหนทาง ถึงแม้ว่าจะทำอย่างนั้น คนอื่น ๆ ก็อาจจะไม่ทำด้วย แล้วมันจะสร้างความแตกต่างได้อย่างไร? หรือแบบที่ยอมจำนนต่อสถานการณ์ซึ่งฟังแล้วเจ็บปวดที่สุด นั่นคือ เอ่อ จะมีใครสนใจหรือ? เราก็ซวยกันหมดอยู่แล้วนี่?

ฉันต้องการให้เพื่อนและครอบครัวของฉันคุยเรื่องนี้กับฉันต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้นฉันจึงเริ่มลองใช้วิธีการใหม่ ๆ เพื่อคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยให้ความใส่ใจกับอารมณ์ของพวกเขา (และของฉัน!) ไปด้วยในเวลาเดียวกัน เพราะความจริงคือ เราต้องการทั้งการกระทำรายบุคคลและจากส่วนรวม ซึ่งตอนนี้เราต้องอาศัยทุกการกระทำ!

เด็กนักเรียนในกรุงเทพฯ ร่วมเดินขบวนในการสนับสนุนกิจกรรมระดับโลกครั้งนี้ เยาวชนเหล่านี้เรียกร้องให้นักการเมืองลงมือปกป้องสภาพภูมิอากาศก่อนที่จะสายเกินไป

บางคนก็แย้งว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการดำเนินชีวิตของเราอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เราไขว้เขว และอาจถึงขั้นไปขวางการผลักดันและการหยิบยกนโยบายใหญ่ ๆ ออกมา เพราะเป็นการละเลยความสำคัญในการตรวจตราอำนาจของเหล่าบริษัทและการเมืองโดยส่วนรวม แต่ฉันเชื่อว่ามันไม่ใช่ประเด็นของอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มันคือทั้งคู่ การกระทำรายบุคคลและของส่วนรวมนั้นดำเนินไปด้วยกันโดยเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด

รีไซเคิล (คุณมาถูกทางแล้ว) รวมถึงปฏิเสธและลดการใช้ และขอให้แบรนด์ใหญ่ ๆ เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและการจัดจำหน่าย ปั่นจักรยานไปทำงาน (นี่ก็ถูก) และร่วมให้ผู้นำประเทศประกาศภาวะฉุกเฉินทางสภาพภูมิอากาศและสร้างแผนเพื่อเพิ่มเส้นทางจักรยานและระบบขนส่งสาธารณะในเมืองของคุณ เปลี่ยนหลอดไฟของคุณ และสนับสนุนชุมชนของคุณเรื่องการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อเปลี่ยนระบบพลังงานในภูมิภาคของคุณ กินเนื้อสัตว์ให้น้อยลง ร่วมประสานกับโรงเรียนของลูก ๆ ของคุณเพื่อให้มีอาหารมังสวิรัติไว้ในเมนูหรือแนะนำวิธีการปลูกอาหารของตนเองลงไปในหลักสูตรการเรียนของพวกเขา ปลูกต้นไม้ และเรียกร้องให้รัฐบาลของคุณปกป้องป่าไม้ของเราและนำนโยบายการปกป้องสภาพภูมิอากาศที่เห็นผลได้ออกมาใช้

นี่คือเรื่องจริงที่เราต้องการจัดการวิกฤตที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศและสภาพอากาศโดยตรง การแก้ไขเชิงระบบเป็นสิ่งที่จำเป็น เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดของเรา

เราจำเป็นต้องเปลี่ยนทัศนคติของสังคมจาก ‘มีแต่ตลาดเสรีและต้นแบบธุรกิจจากอุตสาหกรรมที่ขุดเจาะและทำลายธรรมชาติเท่านั้นที่สามารถจุดประกายความสุขด้วยการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจได้’ และ ‘การมีสิ่งของหลาย ๆ ชิ้นทำให้ฉันมีความสุข’ เป็น ‘เศรษฐกิจจะต้องดำรงอยู่ภายในขีดจำกัดของสิ่งแวดล้อมในโลก’ และ ‘คุณค่าของคนเรามาจากความสัมพันธ์และประสบการณ์ของเรา ไม่ใช่การซื้อของเพิ่มขึ้น’

เราต้องการการกระทำจากส่วนรวมเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระบบที่เราต้องการจะเห็น

แต่เราก็สามารถผลักดันการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นให้ไปข้างหน้าได้โดยการสนับสนุนเรื่องราวเชิงบวกต่าง ๆ ร่วมกันสร้างวิธีแก้ปัญหาใหม่ ๆ ที่จะปรับเรื่องใหม่ ๆ ให้กลายเป็นเรื่องปกติ และทำงานเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยมีต้นแบบและระบบการให้รางวัลเพื่อเป็นตัวสะท้อนว่าพฤติกรรมเหล่านี้คือสิ่งที่สังคมต้องการ

เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบนี้เกิดขึ้น เราจำเป็นต้องให้สังคมยอมรับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เราจึงต้องเริ่มต้นที่ไหนสักแห่ง และบางแห่งนั้นคือการเริ่มต้นจากเราแต่ละคน

ลูซี่ ลอว์เลส นักแสดงหญิง และ โจอันนา ซัสเทนโต อาสาสมัคร ท่ามกลางคนอื่น ๆ ในเรือยางขณะการประท้วงการขุดเจาะน้ำมันในทะเลบาเรนท์ของนอร์เวย์

มันไม่จริงที่การกระทำของคนแต่ละคนจะไม่ส่งผลกระทบโดยทันทีต่อปัญหาต่าง ๆ ในโลก การใช้ถุงผ้าหรือซื้อผลไม้ที่ไม่ได้บรรจุในโฟมจะไม่ไปหยุดการผลิตพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งในระดับที่ต้องการ แต่มันอาจจะเป็นขั้นตอนแรกที่สร้างความแตกต่างให้กับเมืองหรือชุมชนของคุณเพราะการกระทำในเชิงบวกของแต่ละคนมีศักยภาพในการสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้คน สร้างความมั่นใจ สนับสนุนให้พวกเขาเป็นแบบอย่างที่ให้แรงบันดาลใจแก่ผู้อื่น และทำให้พวกเขารู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา

ก้าวเล็ก ๆ สามารถจุดประกายความหวังและการมองหาคนอื่น ๆ เพื่อสร้างชุมชนที่จะลงมือทำได้ เมื่อชุมชนมีกระทำการอะไรแล้ว พวกเขาจะสามารถฝื้นฟูตนเองได้ดีขึ้น ไม่ต้องพึงพาใครและยั่งยืนมากขึ้น

โรซ่า พาร์ค (Rosa Park) หรือ เกรต้า ธันเบิร์ก เคยเป็นและยังเป็นทั้งคนธรรมดาที่เคยทำและยังคงทำสิ่งที่พิเศษอยู่…และด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้เปลี่ยน (และยังคงเปลี่ยน) โลก เปลี่ยนสิ่งใหม่ ๆ ให้กลายเป็นเรื่องปกติที่ไม่เคยมีใครคิดถึง ก่อนที่ทั้งคู่จะเริ่มก้าวแรกอย่างกล้าหาญ

ไม่ใช่ทุกการกระทำที่คุณทำจะส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมืองหรือไปหยุดแท่นขุดเจาะน้ำมันได้กลางคัน แต่มันอาจเปลี่ยนความคิดของใครบางคนบนโต๊ะอาหารค่ำหรือที่โต๊ะผู้บริหาร หรือที่ใดก็ตามที่คุณกล้าเลือกที่จะทำ ความกล้าหาญมีความหมายหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับคนแต่ละคน เพราะมันเกิดขึ้น ณ ขอบพื้นที่สะดวกสบายของเราเอง ความกล้าหาญของแต่ละคนแตกต่างกัน แต่ก็สำคัญและมีเหตุผลอย่างเท่าเทียมกัน

International Day of Forests in Jakarta. © Jurnasyanto Sukarno / Greenpeace

ประชาชนในกรุงจาการ์ตาเฉลิมฉลองวันป่าไม้โลกด้วยการแจกต้นไม้เพื่อนำไปปลูกต่อ

การกระทำส่วนบุคคลเป็นจุดเริ่มต้นที่กล้าหาญและมีค่า อย่าให้คนอื่นที่กำลังทำในสิ่งที่เขาทำได้รู้สึกอับอายหรือทำให้เขารู้สึกผิดที่ยังทำไม่มากพอ

แต่ในขณะเดียวกัน เราต้องแน่ใจว่าเราไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น จากนักเรียนถึงผู้บริหาร เราต้องแน่ใจว่าจุดเริ่มต้นเหล่านั้นจะเปิดโอกาสให้กับคนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ๆ ร่วมเดินไปด้วยกันอย่างมีความหมายกับส่วนรวม ซึ่งระดับการกระทำของเราเองก็มีสัดส่วนเดียวกับความรับผิดชอบและความเป็นไปได้ของเราอีกด้วย

เราควรมองโลกในแง่ดี มีความกล้าหาญ และซื่อสัตย์กับตนเอง มาร่วมรับทราบถึงความจำเป็นอันเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจสังคมปัจจุบันของเรา รวมถึงวิธีที่เราคิด ประพฤติตัว และดำรงชีวิต ซึ่งหมายความว่าเราต้องการทั้งการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมไปจนถึงการกระทำที่ยิ่งใหญ่และทุก ๆ การกระทำในระหว่างนั้น

Brand Audit in Chonburi, Thailand. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
อาสาสมัครกรีนพีซ

ไม่ว่าคุณเป็นใครก็สามารถมีส่วนร่วมเป็นอาสาสมัครกรีนพีซได้ ซึ่งคุณสามารถเลือกประเภทของอาสาสมัครได้ตามความสนใจ อาทิ เยาวชนกรีนพีซ (Youth) นักพูดเพื่อสิ่งแวดล้อม (Greenspeaker) นักกิจกรรมเชิงออนไลน์ (Digital Activist) และนักกิจกรรมภาคสนาม (Activist)

มีส่วนร่วม