All articles
-
มายาคติ: การติดตั้งพลังงานหมุนเวียนต้องใช้เนื้อที่จำนวนมาก
หากต้องการให้การผลิตไฟฟ้าในประเทศเป็นไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด ผลวิจัยชี้ว่าปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินนั้นมิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
-
มายาคติ: การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดย่อมทำให้ต้นทุนไฟฟ้าของผู้บริโภครายอื่นสูงขึ้น
พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดย่อมสร้างประโยชน์ให้กับระบบมากกว่าอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนและการลดมลพิษและความสูญเสียจากการนำส่งไฟฟ้า มากกว่าผลประโยชน์อื่นใด หรือมากกว่าเงินอุดหนุนที่จ่ายให้กับผู้บริโภคอนาคตเสียด้วยซ้ำ
-
มายาคติ: กังหันพลังงานลมเป็นอันตรายต่อสัตว์ในธรรมชาติ
สิ่งก่อสร้างที่สูงใหญ่ทุกประเภทต่างเป็นอันตรายต่อสัตว์จำพวกนกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาคาร เสาไฟฟ้าแรงสูง สายนำส่งสัญญาณ หรือแม้แต่กังหันลม และแม้ว่าผลกระทบต่อชีวิตของสัตว์เหล่านี้จะเป็นเรื่องที่น่าเศร้า แต่ถ้าหากเทียบกันกับอันตรายจากสิ่งอื่นๆแล้วนั้น ผลกระทบจากกังหันลมนับเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนทำให้โครงข่ายสายส่งไฟฟ้าขาดเสถียรภาพ เพราะสายส่งที่ใช้ในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับแหล่งพลังงานหมุนเวียนในปริมาณมากได้
ความเชื่อข้างต้นเกิดจากการประโคมข่าวภายใต้การทำงานของรัฐบาลโดนัลด์ทรัมป์ ซึ่งสนับสนุนแนวคิดนี้ด้วยงานวิจัยฉบับหนึ่งของกระทรวงพลังงานสหรัฐในปี 2560 ที่อ้างว่าระบบสายส่งไฟฟ้าของสหรัฐอเมริกาล้มเหลวเพราะการเติบโตของพลังงานหมุนเวียน
-
มายาคติ: พลังงานลมทำลายพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นและไม่ดีต่อผู้คน
หากมีการออกแบบอย่างละเอียดรอบคอบ เสียงรบกวนจากกังหันลมก็จะลดลงได้ ซึ่งในตอนนี้ เสียงเครื่องยนต์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นแทบจะไม่มีแล้ว เสียงรบกวนส่วนมากจึงมาจากการหมุนของใบพัดเป็นหลัก
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนสร้างอาชีพได้ไม่มากเท่าอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล
จริงอยู่ที่ว่ามีตำแหน่งงานนับล้านที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล (ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขที่ชัดเจนได้) แต่เราต้องเลิกมองเรื่องดังกล่าวว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลกับพลังงานหมุนเวียน และควรตระหนักได้แล้วว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานนี้กำลังเกิดขึ้นจริงๆและหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น
กล่าวโดยง่ายคือยอดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าของผู้บริโภคนั้นไม่สามารถนำมาเทียบกับประเด็นดังกล่าวได้ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้าแปรผันไปตามค่าบริการและขอบเขตปัจจัยที่ต่างกันไปในแต่ละประเทศ
-
มายาคติ: ค่าใช้จ่ายแบตเตอรีในการกักเก็บพลังงานหมุนเวียนนั้นแพงเกินไป และมีความจุไม่เพียงพอ
วิธีกักเก็บพลังงานไม่ได้มีเพียงแค่การใช้แบตเตอรี การกักเก็บพลังงานสำรองสามารถใช้เทคโนโลยีได้มากมายและมีวิธีการหลากหลายรูปแบบ ทั้งการใช้น้ำแบบสูบกลับ ไฮโดรเจน และการสะสมความร้อน แต่เมื่อคนทั่วไปกล่าวถึงค่าใช้จ่ายในการกักเก็บพลังงาน พวกเขามักจะหมายถึงค่าใช้จ่ายในการใช้แบตเตอรี อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการใช้แบตเตอรีเองก็ลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมาพร้อมๆกับราคาแผงโซลาร์ที่ลดลงเช่นเดียวกัน
-
มายาคติ: แผงโซลาร์เป็นอันตรายเพราะมีส่วนผสมของวัสดุที่เป็นพิษจำนวนมาก
ผลการวิจัยยังชี้ว่ามลพิษที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำนั้นน้อยกว่ามลพิษที่เกิดจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่น้อยมากแม้ว่าจะต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมากก็ตาม
-
มายาคติ: พลังงานหมุนเวียนเป็นทางเลือกของคนรวยเท่านั้น อย่างไรเสียถ่านหินก็เหมาะสมกว่าในการผลิตไฟฟ้าในประเทศยากจน
เรื่องนี้นับเป็นข้อโต้แย้งหลักที่อุตสาหกรรมถ่านหินมักยกขึ้นมาใช้ แต่อย่างไรก็ดี คำกล่าวอ้างนี้ได้ถูกลบล้างโดยผลการวิจัยมากมาย แม้กระทั่งทบวงพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ซึ่งเคยประเมินการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงมาโดยตลอด ยังกล่าวว่าพลังงานหมุนเวียนจะช่วยให้ผู้คนมีไฟฟ้าใช้ได้มากกว่าถ่านหิน ถ่านหินไม่ใช่แค่ไม่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนยากไร้ให้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังขังพวกเขาไว้ให้อยู่สภาพที่ย่ำแย่เช่นเดิม โดยรายงานฉบับหนึ่งของอ็อกซ์แฟมในปี 2560 ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า: “ยิ่งมีการใช้ถ่านหินมากเท่าใด ยิ่งทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นต้องตกอยู่ในสภาพยากไร้ ทั้งจากผลกระทบร้ายแรงของความเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศ และความสูญเสียโดยตรงจากการทำเหมืองและการเผาไหม้ถ่านหินที่มีต่อชุมชน ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ทำกิน มลพิษ และสุขภาพที่เสื่อมโทรมลง” การพัฒนาที่ยั่งยืน การเข้าถึงแหล่งพลังงานที่มั่นคงและราคาจับต้องได้เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งถ่านหินไม่อาจทำให้ได้ อีกทั้งยังขัดกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นๆอย่างการมีสุขอนามัยที่ดีและการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดอีกด้วย ในขณะที่พลังงานหมุนเวียนนั้นอาจช่วยให้ไปถึงเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนนี้ได้ทั้งหมด หรืออาจกล่าวได้ว่าการใช้พลังงานหมุนเวียน 100%คือหนทางเดียวที่เราจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้สำเร็จทุกประการ ที่มา: World Future…