กรุงเทพฯ, 5 มีนาคม 2562 – รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลก พ.ศ. 2561 คาดการณ์ว่ามลพิษทางอากาศมีส่วนในสาเหตุของการตายก่อนวัยอันควรถึง 7 ล้านคนในปี 2562

ในขณะที่ต้นทุนทางเศรษฐกิจโลกมีค่าใช้จ่ายประมาณ 2.25 แสนล้านเหรียญสหรัฐ[1][2] ข้อมูลล่าสุดที่รวบรวมในรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลกปี พ.ศ. 2561 (IQAir AirVisual 2018 World Air Quality Report) และการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษสูงสุดในโลกเชิงปฎิสัมพันธ์ (interactive)นี้ จัดทำขึ้นโดย IQAir AirVisual และเผยแพร่ข้อมูลโดยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)ในปี 2561ที่กระจายตัวอย่างกว้างขวาง แต่ไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่และประชาชนยังถูกจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล [3][4][5]

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า“มลพิษทางอากาศส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเรา ทั้งด้านสุขภาพและการเงิน การประเมินค่าใช้จ่ายในการสูญเสียแรงงานทั่วโลกมีถึง 225,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์หลายล้านล้านเหรียญสหรัฐ เราต้องการให้รายงานฉบับนี้สร้างความตระหนักให้ประชาชนถึงอากาศที่เราหายใจ เพราะเมื่อเราเข้าใจถึงผลกระทบจากคุณภาพอากาศในชีวิตของเรา เราจะสามารถปกป้องสิ่งที่สำคัญที่สุดได้”

ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 23 ของโลก ในฐานะประเทศที่มีความเข้มข้นเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 มากที่สุด หากเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยมีค่าคุณภาพอากาศที่แย่เป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซียและเวียดนาม มี 10 จังหวัดในไทยที่ติดอยู่ในการจัดอันดับ 15 เมืองที่มีมลพิษ PM2.5 สูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แฟรงค์ แฮมเมส ประธานบริหารของ IQAir กล่าวว่า “รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลกปี พ.ศ. 2561นำเสนอข้อมูลคุณภาพอากาศที่รวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศนับหมื่นแห่งทั่วโลก ขณะนี้ทุกคนที่มีโทรศัพท์มือถือสามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศได้ฟรีผ่านแพลตฟอร์ม AirVisual แพลตฟอร์มนี้เป็นตัวสร้างความต้องการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศสำหรับเมืองหรือภูมิภาคที่ยังไม่เปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ชุมชนและองค์กรในหลายเมือง อย่างแคลิฟอร์เนีย หรือแม้แต่คาบูลเมืองหลวงของประเทศอัฟกานิสถานมีส่วนช่วยให้เกิดการตรวจสอบของภาครัฐด้วยการใช้เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพอากาศราคาถูกของเขาเอง และทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มากขึ้นในระดับท้องถิ่นได้”
ข้อมูลในรายงานรวมถึง

  • ในเอเชียใต้: 18 จาก 20 เมืองมีมลพิษมากที่สุดในโลก อยู่ในอินเดีย ปากีสถานและบังคลาเทศ ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มองไม่เห็นจากเครือข่ายสาธารณะแห่งแรกของปากีสถาน[6]
  • ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: จาการ์ตา และฮานอย เป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเมืองที่รายล้อมด้วยโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นจำนวนมากที่สุดในภูมิภาค ในขณะที่กรุงปักกิ่งมีคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นจึงส่งผลให้จาการ์ตามีความเสี่ยงที่จะมีมลพิษทางอากาศสูงแทนเมืองหลวงของจีนในไม่ช้า
  • ในประเทศจีน: ความเข้มข้นเฉลี่ยของมลพิษทางอากาศในเมืองต่าง ๆ ในจีนลดลงร้อยละ 12 จากปีพ.ศ. 2560-2561 ในขณะที่กรุงปักกิ่งถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่  122 ของเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกในปี 2561
  • ในแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก: 10 เมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก คือ บอสเนียเฮอร์เซโกวีนา มาซิโดเนียและโคโซโว และ 4 แห่งในตุรกีมีระดับมลพิษ PM 2.5 มากกว่า  3 เท่าของคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก 8 เมืองในบอลข่านเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลกคิดเป็นร้อยละ 10 ของเมืองทั้งหมดที่มีข้อมูล
  • ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา: แม้ว่าคุณภาพอากาศโดยเฉลี่ยจะดีเมื่อเปรียบเทียบกับทั่วโลก ประวัติการเกิดไฟป่ามีผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพอากาศ  5 ใน 10 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลกช่วงเดือนสิงหาคมอยู่ในอเมริกาเหนือ
  • ประชากรจำนวนมากรวมถึงปะชากรในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ยังไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานการวัดคุณภาพอากาศที่เพียงพอ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้ผลกระทบของมลพิษทางอากาศเลวร้ายลง โดยมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและการขยายบริเวณไฟป่า[7]  นอกจากนี้ตัวขับเคลื่อนหลักของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกคือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล[8] ดังนั้นการแก้ปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจึงสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศของเราได้อย่างมาก

“ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านมลพิษทางอากาศจากฝุ่นมลพิษ PM 2.5 ซึ่งขณะนี้ได้ หน่วยงานท้องถิ่นและรัฐบาลระดับชาติสามารถช่วยจัดการกับผลกระทบของมลพิษทางอากาศได้โดยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานในการตรวจสอบและรายงานผลมลพิษทางอากาศได้ สิ่งที่แสดงให้เห็นชัดถึงต้นตอของปัญหามลพิษทางอากาศคือการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล อย่างเช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ และเลวร้ายลงจากการตัดไม้ทำลายป่า  สิ่งที่เราต้องการเห็นคือผู้นำของเรากำลังคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสุขภาพและสภาพภูมิอากาศโดยการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และในขณะเดียวกันต้องมีการรายงานคุณภาพอากาศที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและสภาพภูมิอากาศ” ธารากล่าวเสริม

กรีนพีซเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษและกระทรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการยกร่างมาตรฐานในบรรยากาศของ PM2.5 ขึ้นใหม่สำหรับประเทศไทยโดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 12 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ภายในปี พ.ศ. 2562 และกำหนดมาตรการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอาเซียนปลอดหมอกควัน HAZE-FREE 2020 อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
ประชาชนสามารถร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้ที่ www.greenpeace.or.th/right-to-clean-air
หมายเหตุ:

[1] www.who.int/news-room/detail/02-05-2018-9-out-of-10-people-worldwide-breathe-polluted-air-but-more-countries-are-taking-action
[2]  www.worldbank.org/en/news/press-release/2016/09/08/air-pollution-deaths-cost-global-economy-225-billion
[3] ข้อมูลที่รวบรวมและเรียบเรียงโดย IQAir AirVisual
[4] การจัดอันดับคุณภาพอากาศเป็นการจัดอันดับเชิงเปรียบเทียบ ไม่ใช่การจัดอันดับที่สมบูรณ์
[5] ในขณะที่ผลกระทบด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศทั่วโลกมีสาเหตุมาจากมลพิษ PM2.5 ในขณะที่สาเหตุอื่น เช่น อนุภาคขนาดเล็ก ไนโตรเจนไดออกไซด์ และโอโซน เป็นต้นเหตุของความเสี่ยงด้านสุขภาพในบางภูมิภาคที่มีระดับ PM2.5  ค่อนข้างต่ำ
[6] www.airvisual.com/air-pollution-information/blog/revealing-the-invisible-airvisual-community-activism-ignites-action-to-fight-smog-in-pakistan
[7] Daniel J. Jacob, Darrell A. Winner, Effect of climate change on air quality, Atmospheric Environment, Volume 43, Issue 1, 2009, Pages 51-63, ISSN 1352-2310

[8] เอกสารสำคัญขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างมลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถดูได้ที่ www.who.int/sustainable-development/AirPollution_Climate_Health_Factsheet.pdf
[9] ดาวน์โหลดรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลก พ.ศ. 2561 ฉบับภาษาไทยได้ที่ www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/2018-world-air-quality-report

[10] เอกสารสรุปสำหรับสื่อมวลชน สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/2018-world-air-quality-report/media-briefing

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ

ทิฟฟานี่ อัลลิเกรติ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ IQAir
อีเมล: [email protected] โทร +1 562-903-7600 ต่อ 1129

ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีเมล: [email protected] โทร. +66 89 4769977

สมฤดี ปานะศุทธะ ผู้ประสานงานสื่อมวลชน กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อีเมล: [email protected] โทร. +66 81 929 5747

Fundraising Team in Manila. © Geric Cruz / Greenpeace
ร่วมบริจาค

ด้วยความช่วยเหลือจากคุณ ทำให้เราสามารถใช้วิธีการที่สร้างสรรค์อย่างสันติ เปิดโปงการทำลายสิ่งแวดล้อม ช่วยให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องมหาสมุทร ป่าไม้ แหล่งน้ำ อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งล้วนเป็นระบบพื้นฐานสำหรับทุกชีวิตบนโลกใบนี้

มีส่วนร่วม