All articles
-
คำแถลงของกรีนพีซ ประเทศไทย ว่าด้วยประชาธิปไตย สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาที่ยั่งยืน
เราเชื่อว่า ไม่มี “สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน” หากไร้ซึ่ง “ความเป็นธรรมทางสังคม” เรายึดถือในหลักการประชาธิปไตยที่ดี (Healthy Democracy) ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการรับรองสิทธิทางสิ่งแวดล้อมและสิทธิทางการเมืองของประชาชน
-
กรีนพีซเสนอรัฐบาลนำงบฟื้นฟูมาลงทุนโซลาร์รูฟท็อป 1 ล้านหลังคาเรือน เพื่อเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นธรรม
กรีนพีซ ประเทศไทยเปิดตัวปฏิบัติการ “โซลาร์รูฟท็อป 1 ล้านหลังคาเรือน” ผลักดันให้รัฐบาลนำงบประมาณที่ใช้ฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรม และกระตุ้นการลงทุนระบบพลังงานหมุนเวียนแบบกระจายศูนย์ที่ก่อให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่า ลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
-
กรีนพีซเรียกร้องสหประชาชาติตรวจสอบปมเสียชีวิต โยงใยบริษัททูน่ารายใหญ่ของโลก
ยื่นข้อเรียกร้องให้สหประชาชาติตรวจสอบกรณีผู้สังเกตการณ์บนเรือประมงชาวคิริบาสเสียชีวิต ซึ่งต้องสงสัยว่าถูกฆาตกรรมในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เป้าหมายคือเพื่อให้แน่ใจว่าการสืบสวนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรอบด้าน
-
เปิดต้นทุนมลพิษทางอากาศ Real-timeในช่วงโควิด-19
จาการ์ตา, อินโดนีเซีย, 9 กรกฎาคม 2563 - เครื่องมือติดตามต้นทุนมลพิษทางอากาศตามเวลาจริงชี้ว่า มลพิษทางอากาศมีส่วนก่อให้เกิดการเสียชีวิตกว่า 24,000 รายในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดียในช่วงครึ่งปีแรกของปี2563 แม้จะมีนโยบายปิดเมืองอันเป็นมาตรการเข้มข้นจากเหตุระบาดโควิด-19 เครื่องมือดังกล่าวได้รับการพัฒนาโดยกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ IQAir AirVisual ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยเปิดเผยผลกระทบจากมลพิษทางอากาศใน 28 เมืองทั่วโลกและอีก 6 จังหวัดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563
-
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพกว่าร้อยคนชี้แจงเรื่องความปลอดภัยของภาชนะและบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพร้อยกว่าคนจาก 18 ประเทศลงนามในแถลงการณ์วันนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับร้านค้าปลีกและผู้บริโภคว่าการใช้ภาชนะและบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำนั้นปลอดภัยแม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
-
การค้าขยะพลาสติกซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมในมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย, 27 พฤษภาคม 2563 - รายงาน “มายาคติของการรีไซเคิล -The Recycling Myth 2.0 ซึ่งจัดทำโดยกรีนพีซ มาเลเซียเปิดเผยข้อค้นพบสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
-
กรีนพีซเผยความเชื่อมโยงระหว่างอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ พื้นที่ปลูกข้าวโพด และมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
กรีนพีซ ประเทศไทย เผยรายงานวิเคราะห์ล่าสุด “ข้าวโพด การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และมลพิษทางอากาศข้ามพรมแดน” ที่เผยถึงบทบาทของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่เชื่อมโยงกับการก่อหมอกควันพิษข้ามพรมแดนโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากดาวเทียมระหว่างปี 2558-2562 พบว่า มีพื้นที่เผาไหม้และจุดความร้อนในพื้นที่ปลูกข้าวโพดในอนุภาคภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอยู่โดยเฉลี่ย 1 ใน 3 ของพื้นที่เผาไหม้และจุดความร้อนที่เกิดขึ้นทั้งหมด
-
ผลการตรวจสอบข้อตกลงระหว่างกรีนพีซและบริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ระบุถึงความคืบหน้า แต่ยังมีพันธกิจหลายด้านที่ต้องทำให้บรรลุผล
กรุงเทพฯ, 13 พฤษภาคม 2563 - เป็นเวลาเกือบสามปีแล้ว ที่บริษัทไทยยูเนี่ยน กรุ๊ปและกรีนพีซได้ทำข้อตกลงครั้งสำคัญเพื่อต่อกรกับการประมงผิดกฎหมาย การประมงเกินขนาด และปรับปรุงคุณภาพชีวิตของแรงงานประมงในห่วงโซ่อุปทานให้ดีขึ้น ทั้งนี้ผลการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอกได้ระบุให้เห็นถึงความคืบหน้าในหลายด้านของบริษัทไทยยูเนี่ยน ซึ่งถือเป็นยักษใหญ่ในวงการอาหารทะเลแปรรูป ทว่าก็ยังมีอีกหลายด้านที่ต้องปรับปรุงเพื่อให้บรรลุคำมั่นด้านสิ่งแวดล้อม และด้านสิทธิมนุษยชน
-
กรีนพีซคัดค้านการเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งจะทำลายอธิปไตยและความมั่นคงทางอาหาร
กรุงเทพฯ, 27 เมษายน 2563 -- กรีนพีซ ประเทศไทยเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีปฏิเสธข้อเสนอการเข้าร่วมเป็นภาคี CPTPP หรือ Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก) เพื่อรักษาสิทธิของเกษตรกรและสิทธิในการเก็บรักษาพันธุ์พืชไปปลูกต่อ คุ้มครองความมั่นคงทางอาหาร และปกป้องแหล่งอาหารของคนไทยจากการปนเปื้อนจีเอ็มโอ(GMO)
-
กรีนพีซระบุในปี พ.ศ.2562 กรุงเทพฯ เสียหายทางสุขภาพและเศรษฐกิจจากมลพิษทางอากาศมากที่สุด รองลงมาคือเชียงใหม่ และสร้าง Real-time counter เพื่อติดตามสถานการณ์ในช่วงปี พ.ศ.2563
กรุงเทพฯ, 9 เมษายน 2563 - การศึกษาของกรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ IQAir AirVisual ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2562 ใน 6 จังหวัดของประเทศไทย กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ได้รับความเสียหายทางสุขภาพและเศรษฐกิจจากมลพิษทางอากาศมากที่สุดในประเทศไทย โดยคิดเป็นมูลค่าโดยประมาณ 5,965,271,220เหรียญสหรัฐ