เรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวนกระบวนการและร่างแผน PDP2024
ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐบาลไทยทบทวนกระบวนการและร่างแผน PDP2024 ที่ไม่มั่นคง แพง และไม่นำประเทศสู่การบรรลุเป้าหมาย Net zero
จากกระบวนการรับฟังความเห็นที่ไม่ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนร่างแผน PDP ฉบับนี้และเปิดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นที่รอบด้านอย่างแท้จริง

5 ข้อเสนอต่อการแก้ไขร่าง PDP 2024
- ให้คำนึงถึงแผนการลดการปล่อยคาร์บอนในภาคพลังงานเป็นเป้าหมายสำคัญในการออกแบบ เพื่อให้บรรลุ Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และ Net Zero Emission ภายในปี 2065
- ประกาศปลดระวางถ่านหิน โดยไทยจะสามารถเร่งเลิกใช้ถ่านหินได้เร็วสุดภายในปี 2027 เนื่องจากภาระทางสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกเดือดสูงกว่าพลังงานชนิดอื่น
- หยุดการเซ็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าก๊าซฟอสซิลใหม่และเขื่อนในลุ่มน้ำโขง
- ใช้พลังงานหมุนเวียนภายในประเทศให้เต็มศักยภาพและป้อนเข้าสู่ระบบสายส่งเป็นลำดับแรก เพื่อลดการพึ่งพาและนำเข้าพลังงานจากการนำเข้าต่างประเทศ เพิ่มความยืดหยุ่นในระบบไฟฟ้า เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียน ท้ังการทําสัญญาซื้อขาย และการนําเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานและการบริหารจัดการแบบกระจายศูนย์มาใช้
- เตรียมความพร้อมสำหรับการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจากภาคครัวเรือนและ เปิดโอกาสให้บุคคลที่สามสามารถขอใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Third Party Access: TPA) ได้อย่างเต็มที่
-
“สมถะ” ร้านอาหารมังสวิรัติเพื่อโลกผ่านการกินอย่างเรียบง่าย
เมื่อพูดถึงอาหารมังสวิรัติ แม้ว่าเราจะเข้าใจตรงกันว่า คืออาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ หากนิยามของอาหารมังสวิรัติที่แต่ละคนมีก็ย่อมจะแตกต่างกันไป แต่สำหรับ ริบบิ้น–นิชาภา นิศาบดี เจ้าของร้าน ‘สมถะ’ ร้านอาหารมังสวิรัติเปิดใหม่แห่งเมืองเชียงใหม่ เธอนิยามมันว่าคือ ‘ความเรียบง่าย’ ไม่ใช่อาหารราคาแพงๆ อย่างที่เรามักจะเข้าใจกัน
-
แสงแดดพลังงานจากธรรมชาติ ที่รัฐควรสนับสนุนและประชาชนควรเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม
ขวัญกนก กษิรวัฒน์ หรือพี่ขวัญ คือหนึ่งในคนที่ตัดสินใจใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์มาใช้ในธุรกิจร้านค้าของตนเอง ที่จังหวัดกระบี่
-
ท้องถิ่นภาคเหนือรวมตัว ชวนคิดข้อเสนอนโยบายในงาน People’s Policy Hub อดบ่ไหว แก้ไขสักกำเต๊อะ : คนเหนือชวนคิดนโยบายแก้ฝุ่นพิษ PM2.5
กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLAW) มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ และสภาลมหายใจเชียงใหม่ พร้อมกับพี่น้องประชาชนภาคเหนือ นักวิชาการ นักกฎหมาย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ร่วมนำเสนอและแชร์ไอเดียเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดน รวบรวมเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายจากประชาชนต่อพรรคการเมืองและผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบาย ให้แก้ไขวิกฤตนี้ในภาคเหนืออย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม
-
กลุ่มผู้ประกอบการเกาะพยามและเครือข่ายภาคประชาชนระนอง-ชุมพรจัดงาน “ดินเนอร์ ทอล์ค” ห่วงโครงการแลนด์บริดจ์กระทบธรรมชาติ-วิถีชีวิต
ระนอง, 28 เมษายน 2568 – เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2568 ที่ผ่านมากลุ่มผู้ประกอบการเกาะพยาม จังหวัดระนองร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนระนอง-ชุมพร จำนวนกว่า 60 คน จัดงาน “ดินเนอร์ ทอล์ค” ในหัวข้อ “ถกอนาคตเกาะพยาม ท่ามกลางคลื่นลมการเปลี่ยนแปลง” เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและหาทางรับมือกับโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและแลนด์บริดจ์ชุมพร–ระนอง ที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศ การท่องเที่ยว และวิถีชีวิตดั้งเดิม
Raise awareness in your community



