All articles
-
มองน้ำท่วมในมุม Climate Injustice เมื่อกลุ่มคนที่ปล่อยคาร์บอนน้อยสุดต้องรับแบกรับผลจากภัยพิบัติจากโลกเดือดมากที่สุด
ข้อถกเถียงสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่มและโคลนที่ตามมาจากมวลน้ำที่ไหลมาจากพื้นที่ภูเขา ในสายตาของสังคมพุ่งไปยังชุมชนคนกับป่าที่อาศัยอยู่บนดอยว่าเป็นต้นเหตุของการทำลายป่า อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่ทำให้หลายพื้นที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับพายุรุนแรงและน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้มีที่มาเพียงแค่การหายไปของพื้นที่ป่าไม้ แต่ยังเป็นผลของการก่อก๊าซเรือนกระจกมหาศาลและอย่างยาวนานของอุตสาหกรรมหลายภาคส่วน
-
อุบัติภัยอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มาบตาพุดครั้งล่าสุดย้ำถึงความจำเป็นของสนธิสัญญาพลาสติกโลกในการลดการผลิตพลาสติกเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศและยุติสารเคมีเป็นพิษเพื่อคุ้มครองสุขภาพของมนุษย์
ความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากมลพิษอุตสาหกรรมพลาสติกนั้นแตกต่างกันไป คนส่วนใหญ่ทั่วโลกจะรับสัมผัสอนุภาคพลาสติกและสารเคมีที่เกี่ยวข้องในหลายขั้นตอนของวงจรชีวิตของพลาสติก ในที่นี้ เราจะเปิดปูมให้เห็นถึงมลพิษจากอุตสาหกรรมพลาสติกพีวีซีในประเทศไทย
-
ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่ยังคงเลือนรางต่อไป ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ต่อรัฐสภาวันที่ 12 กันยายน 2567
check list เปรียบเทียบ ข้อเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมที่รวบรวมจากการทำงานรณรงค์อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมากับคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนล่าสุด
-
6 ข้อสุดช็อก ที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว
เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วเป็นสัญญาณเตือนที่ชัดเจนว่ากำลังคุกคามชีวิตของเราอย่างรุนแรง และชุมชนที่ได้รับผลกระทบต้องพร้อมที่จะเผชิญและรับมือกับความเสียหายเหล่านี้
-
จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล ในภูมิภาคเอเชีย เรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุติการใช้ถ่านหินให้ได้ก่อนหรือภายในปี 2578
พวกเราในฐานะขององค์กรภาคประชาสังคม และเครือข่ายที่ทำงานขับเคลื่อนความเป็นธรรมทางสภาพภูมิอากาศ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยุติการใช้ถ่านหินให้ได้ก่อนหรือภายในปี 2578 โดยการยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและโครงการเหมืองถ่านหินใหม่ทั้งหมดทันที และการจัดทำแผนปฏิบัติการปลดระวางถ่านหินที่เป็นธรรม
-
มลพิษทางอากาศยังคงเป็นความเสี่ยงจากเหตุปัจจัยภายนอกภัยคุกคามสุขภาพมนุษย์ เนื่องจากหลายประเทศยังไม่สามารถกำหนดหรือปฏิบัติตามค่ามาตรฐานอากาศสะอาดที่กำหนดไว้
แม้ว่ามลพิษทางอากาศจะลดลงเล็กน้อยเนื่องจากแนวโน้มที่เปลี่ยนไปในภูมิภาคเอเชียใต้ แต่มากกว่าสามในสี่ของประเทศทั่วโลกยังไม่ได้กำหนดหรือไม่สามารถปฏิบัติตามค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศระดับชาติได้
-
4 ภัยอันตรายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังกระทบกับนักกีฬา
รู้หรือไม่ว่าปัจจุบัน การแข่งกีฬาโดยเฉพาะกีฬากลางแจ้ง ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อน และพายุฝนรุนแรงมากขึ้น นี่คือเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วที่เป็นผลพวงจากภาวะโลกเดือดหรือวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นอุปสรรคและส่งผลกระทบต่อการแข่งขันกีฬา
-
ต่อกรกับ Carbon Majors ตัวการวิกฤตโลกเดือด
เมื่อระบุลงไปอีกว่าก๊าซเรือนกระจกมาจากไหน คำตอบที่ได้แบบสุดๆ คือมาจากภาคพลังงานและผลิตไฟฟ้า ภาคคมนาคมขนส่ง ภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคเกษตรกรรม/การใช้ที่ดิน และภาคการจัดการของเสีย ฯลฯ แต่ก็ยังไม่รู้ว่า “ใคร” อยู่ดี กลายเป็นว่าทางออกจากวิกฤตโลกเดือดเป็นความอิหลักอิเหลื่อ(wicked problem)
-
10 เหตุผลที่เราต้องไม่หลงกลการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS)
ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือดที่ท้าทายมนุษยชาติ เราจะได้ยินเรื่อง ความเป็นกลางทางคาร์บอน(carbon neutrality) และการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ (net zero) ที่อ้างว่าเป็นทางออกมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกประเด็นที่มาแรงแซงทางโค้งนอกจาก “ป่าคาร์บอน” แล้ว ก็คือการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage-CCS)
-
กลลวงใหญ่-การดักจับและกักเก็บคาร์บอน
พวกเรารู้ว่าบริษัทน้ำมันอยู่เบื้องหลังวิกฤตโลกเดือดมาหลายทศวรรษ แต่กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเลียมกลับวางแผนใช้วิกฤตนี้มาเป็นโอกาสทำกำไรให้กับตัวเอง ด้วยการใช้เงินจากงบประมาณสาธารณะ และอ้างว่าจะช่วยแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แต่ในทางกลับกัน งบประมาณสาธารณะดังกล่าวถูกนำไปใช้เพื่อเป็นเงินทุนอุดหนุนในการเพิ่มการผลิตน้ำมัน หากใครคิดตามแผนการนี้ไม่ทัน อาจจะบอกได้ว่าแผนของพวกเขานั้นอัจฉริยะจริง ๆ