All articles
-
กรีนพีซ ประณามทรัมป์หลังตั้งใจถอน สหรัฐอเมริกา ออกจากความตกลงปารีส
หลัง ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ประกาศเจตจำนงถอดถอนสหรัฐอเมริกาออกจากความตกลงปารีส (the Paris Agreement)
-
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าชะลอไม่ให้โลกร้อนเกิน 1.5 °C
ภาวะโลกเดือดที่เรากำลังเจอทำให้ปัจจุบันมีอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกสูงขึ้น 1.3องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม (เทียบกับอุณหภูมิในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1805 กับ 1900 ) และระดับน้ำทะเลทั่วโลกก็สูงขึ้น 20 เซนติเมตร
-
จดหมายเปิดผนึก กฎหมายประมงต้องนำไปสู่การประมงที่ยั่งยืน ระบบนิเวศสมดุล เคารพสิทธิมนุษยชน โดยเครือข่ายองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม
พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ได้รับการจัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายขาดการรายงาน และขาดการควบคุม ตลอดจนปัญหาการจับสัตว์น้ำเกินกำลังการผลิตของทะเล รวมถึงการค้ามนุษย์และการละเมิดสิทธิแรงงานในอุตสาหกรรมการประมงของประเทศไทย เนื้อหาและการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวส่งผลให้การประมงทะเลไทย รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกและให้การรับรอง
-
“ปีนรก” : ความเห็นจากจากกรีนพีซเกี่ยวกับปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นปีแรกที่เกินขีดจำกัดโลกเดือด 1.5°C
จากการตอบสนองต่อรายงานสรุปสภาพภูมิอากาศโลกปี 2567 โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO), Copernicus, Met Office, NASA และองค์กรติดตามสภาพภูมิอากาศอื่น ๆ ซึ่งพบว่ามีสภาพอากาศสุดขั้วแบบใหม่เกิดขึ้นในปี 2567 รายงานสรุปว่าปีดังกล่าวเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์การบันทึก
-
SCG ส่งจดหมายถึงกรีนพีซ ยืนยันปลดระวางถ่านหิน เริ่มจากยกเลิกแผนเหมืองถ่านหินในภาคเหนือ
จากจดหมายชี้แจงของบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ซึ่งระบุว่า บริษัทฯ ได้พิจารณายกเลิกโครงการเหมืองถ่านหินของตนที่อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง โดยยื่นถอนคำขอประทานบัตรต่อหน่วยงานราชการเป็นที่เรียบร้อย ในกรณีของโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย จ.เชียงใหม่ซึ่ง SCG อยู่ในห่วงโซ่อุปทานรับซื้อถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานปูนซีเมนต์นั้น SCG เเจ้งยืนยันกับผู้ยื่นคำขอประทานบัตรแล้วว่า SCG มีนโยบายไม่รับซื้อถ่านหินจากโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย
-
ต้อนรับปีใหม่ 2568 พร้อมความสำเร็จในงานรณรงค์ของกรีนพีซ
เราขอขอบคุณผู้สนับสนุนกรีนพีซทุกคนที่เป็นคนสำคัญต่อความสำเร็จในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2567 ที่ผ่านมา ตลอดปีกรีนพีซรณรงค์และมีความสำเร็จอะไรบ้างมาดูกันดีกว่า
-
คุยกับทีมวิจัย “ย่อย ไม่ย่อย ?” ตกลงแล้ว พลาสติกที่บอกเราว่า ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ย่อยจริงหรือเปล่า?
เราหยิบยกหนึ่งในข้อสงสัยของผู้บริโภคเกี่ยวกับ ‘ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ’ ด้วยการทำงานร่วมกับทีมจากคณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี ทำการทดลองว่า ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกเหล่านี้จะย่อยสลายได้จริงหรือไม่
-
Beyond Coal: ก้าวข้ามถ่านหินสู่พลังงานสะอาดและการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม
ในโลกยุคปัจจุบัน ถ่านหินซึ่งเคยเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก กำลังเป็นตัวการที่สร้างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างร้ายแรง การเผาไหม้ถ่านหินก่อให้เกิดวิกฤตโลกเดือดและสร้างมลพิษทางอากาศ ทั้งก๊าซเรือนกระจก ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์โดยตรง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาลจากการใช้ถ่านหิน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ
-
รายงาน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีต่อปริมาณน้ำท่า (runoff) พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม (flood risk areas) และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม (landslide risk areas) บริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำติดต่อระหว่างประเทศไทย เมียนมา และสปป.ลาว
งานวิจัยของกรีนพีซ ร่วมกับคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาถึงความเชื่อมโยงของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไปเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบริเวณลุ่มน้ำกก(Nam Mae Kok Basin) และลุ่มน้ำคำ (Nam Mae Kham Basin) บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศไทยตอนบน รัฐฉานของเมียนมาและสปป.ลาว โดยวิเคราะห์ผลการเพิ่มขึ้นของพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลียงสัตว์ การเปลี่ยนพื้นที่ป่าไปเป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีต่อปริมาณน้ำท่า (runoff) พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม (flood risk areas) และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่ม (landslide risk areas)