หลายพื้นที่ทั่วโลกมีอากาศที่สะอาดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เนื่องจากการประกาศล็อกดาวน์ของหลายเมืองทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันหลังจากที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเริ่มประกาศยกเลิกการล็อกดาวน์ทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศกลับมาอีกครั้ง จากการวิเคราะห์พบว่ามลพิษทางอากาศในจีนกลับมาสู่ระดับก่อนการเกิดโรคระบาดในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมแล้วและดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์ก็จะเป็นเช่นเดียวกัน

ในทุกๆปีมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรกว่าสี่ล้านห้าแสนคนจากปัญหามลพิษทางอากาศที่มาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล ในปีพ.ศ.2561 มีรายงานว่าค่าใช้จ่ายมลพิษทางอากาศของทั่วโลกสูงถึง 8 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน ซึ่งคิดเป็น 3.3% ของ GDP โลก จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า 91% ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงกว่ามาตรฐานคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก

ที่แย่ไปกว่านั้นคือมีหลักฐานบ่งชี้ว่ามลพิษทางอากาศสร้างความเสียหายต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายในการต่อต้านไวรัสในระบบทางเดินหายใจซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19มากกว่าปกติและมลพิษทางอากาศที่สูงกว่าระดับปกตินั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังหลายชนิดที่เพิ่มความรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิด-19 การศึกษาอื่น ๆ พบว่ามลพิษทางอากาศเพิ่มอัตราการเสียชีวิตของเชื้อไวรัสโควิด-19

และเพื่อเตือนคุณอีกครั้งมลพิษทางอากาศกำลังกลับมา

Namsan in Serious Ultrafine Dust. © Soojung Do / Greenpeace
ภาพภูเขานัมซานในกรุงโซลพร่ามัวเป็นฝุ่นละเอียดละเอียดหนา (ขวา) เมื่อเปรียบเทียบกับวันที่อากาศแจ่มใส (ซ้าย) © Soojung Do / Greenpeace

บทเรียนจากการล็อคดาวน์ในช่วงโควิด-19

โลกเปลี่ยนไปมากจากในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ปัญหามลพิษทางอากาศที่ดีขึ้นเห็นได้จากท้องฟ้าที่เป็นสีฟ้าสดใสเป็นครั้งแรกหลังจากที่ไม่ได้เห็นมาเป็นเวลานานทำให้หลายประเทศทั่วโลกตระหนักถึงปัญหามลพิษทางอากาศมากขึ้น

สิ่งนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร? ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าที่ส่งผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลกทำให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งต้องหยุดการผลิตลง ทำให้การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกลดลงไปด้วย ในบางประเทศอย่างเช่นอินเดียมีการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลสำหรับการผลิตไฟฟ้าในปริมาณที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงฝุ่นควันที่มาจากการคมนาคมบนท้องถนนก็ลดลงไปด้วย ทำให้การปล่อยมลพิษจากภาคขนส่งลดลงเป็นอย่างมาก

ภาวะชะงักงันของวิถีปกติเดิม (business-as-usual)สะท้อนอยู่ในอากาศที่เราหายใจข้อมูลดาวเทียมของนาซาแสดงให้เห็นว่าก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในประเทศใหญ่ ๆ ตั้งแต่การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รายงานพิเศษจากAir visual แสดงให้เห็นว่าระดับของ PM2.5 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากการประกาศล็อกดาวน์เมืองใหญ่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศที่ได้ชื่อว่ามีมลพิษทางอากาศมากที่สุดในโลกอย่างอินเดียนั้นสามารถมองเห็นเทือกเขาหิมาลัยเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี รวมไปถึงมลพิษทางอากาศบริเวณดังกล่าวลดลงเป็นอย่างมากในช่วง 10 วันแรกของการประกาศล็อกดาวน์ตามการวิเคราะห์ของกรีนพีซอินเดีย

เนื่องจากการประกาศล็อกดาวน์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ทำให้ถนนและสวนสาธารณะรอบเมืองเบอร์ลินเกือบกลายเป็นสถานที่ร้าง

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าส่งผลกระทบไปทั่วโลก แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายแต่ก็ยังให้บทเรียนที่มีค่าแก่พวกเรา:

  • อากาศสะอาดที่เราทุกคนต้องการเกิดขึ้นได้เพียงแต่ต้องมีนโยบายที่มุ่งมั่นและทันต่อสถานการณ์พร้อมกันทุกประเทศทั่วโลก
  • เป็นไปได้ที่เราจะได้ท้องฟ้าสดใสกลับมาหากเราลดการปล่อยมลพิษจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงในทุกภาคส่วนรวมถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ด้วย
  • เป็นไปได้ที่เราสามารถดำรงชีวิตในแบบที่ก่อมลพิษให้น้อยที่สุด แม้จะเป็นในระดับบุคคล เช่น เดินทางน้อยลง ขี่จักรยานหรือเดินระยะทางสั้น ๆ ทำงานจากที่บ้านถ้าเป็นไปได้

เราสามารถหายใจด้วยอากาศบริสุทธิ์

เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกเริ่มประกาศคลายล็อกดาวน์ แต่เราต้องจำไว้ว่าเราสามารถหายใจด้วยอากาศดีเช่นเดียวกับในช่วงประกาศล็อกดาวน์ได้เพียงแต่ภาครัฐต้องมีนโยบายที่เข้มงวดมากพอ

และนี่คือ 4 วิธี ที่เราสามารถทำให้ทุกคนสามารถหายใจได้ด้วยอากาศสะอาดแม้จะผ่านช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปพร้อมกับการกระตุ้นเศรษฐกิจและรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

1.​ เน้นการฟื้นฟูที่ยั่งยืน

เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศในระยะยาว  ภาครัฐไม่ควรสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ปล่อยมลพิษทั้งในเรื่องของนโยบายหรือการปล่อยเงินกู้ให้กับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงรวมไปถึงการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ภาครัฐควรสนับสนุนให้คนงานในภาคอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงได้พัฒนาทักษะในด้านอื่น ๆ และสามารถนำไปต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนได้

รัฐบาลควรเรียกร้องให้หน่วยงานและบริษัทดำเนินการทันทีเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ยังจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีสเพื่อจำกัดมิให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกันของมลพิษทางอากาศ นั่นคือการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

นักกิจกรรมกรีนพีซชูป้ายแบนเนอร์บริเวณโรงไฟฟ้าถ่านหิน Suralaya ในเมือง Cilegon จังหวัด Banten ประเทศอินโดนีเซีย

เป็นตัวอย่างที่ดีเมื่อเยอรมนีได้ประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ หนึ่งพันสามร้อยล้านยูโรนั้นไม่รวมค่าเบี้ยประกันของผู้ซื้อสำหรับรถยนต์เบนซินและดีเซลใหม่ หากประเทศอื่น ๆ ใช้งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจของพวกเขากับอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษทางอากาศก็อาจส่งผลกระทบได้

2. ปฏิรูประบบพลังงานในปัจจุบัน

ระบบพลังงานหมุนเวียนช่วยลดมลพิษทางอากาศและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ซึ่งแตกต่างจากระบบพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศรุนแรงขึ้น ตัวอย่างเช่นในอินเดีย อากาศในบริเวณโดยรอบมีรายงานว่าสะอาดขึ้นเมื่อโรงไฟฟ้าถ่านหินสร้างกระแสไฟฟ้าน้อยลงในช่วงล็อกดาวน์

ภาครัฐต้องยกเลิกการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่วางแผนไว้และเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในแผนพลังงานในอนาคตของประเทศ

3. สร้างระบบการคมนาคมขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ระบบขนส่งมวลชนเป็นแหล่งก่อมลพิษทางอากาศที่ทำให้คุณภาพของอากาศแย่ลง โดยเฉพาะในเขตตัวเมือง แต่เราสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้  อาจเริ่มจากการสร้างทางเดินเท้าที่ปลอดภัย รวมถึงการกำหนดเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยจริง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อกระตุ้นให้คนใช้จักรยานในการเดินทาง

สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์แบบทางเลือกแทน เช่น รถที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าหรือทางเลือกอื่น ๆ ในการเดินทางเพื่อไม่ก่อให้เกิดมลภาวะอื่น ๆ ตามมา เหนือสิ่งอื่นใดเราควรสร้างระบบขนส่งสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้จริง เพื่อให้มีทางเลือกในการใช้งานตามความต้องการของตัวเอง

หลังจากการประกาศล็อคดาวน์ บางประเทศกำลังปรับเปลี่ยนระบบการคมนาคมขนส่งให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงอากาศสะอาดซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ควรจะได้รับ

นักกิจกรรมจากกรีนพีซในCologne ประเทศเยอรมนีกำลังแสดงให้เห็นถึงพื้นที่มากขึ้นสำหรับคนเดินเท้าและการปั่นจักรยาน © Anne Barth / Greenpeace

4. เสริมสร้างกฎหมายที่เกี่ยวข้องการป้องกันมลพิษทางอากาศ

การเสริมสร้างกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศของเรา คุณภาพอากาศมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นถ้ากฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยมลพิษจากโรงไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรมและการขนส่ง ในที่สุดเป้าหมายของเราคือการขจัดแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศอย่างละเอียดแต่ถ้าเราเริ่มต้นด้วยกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นและมาตรฐานคุณภาพอากาศที่เข้มงวดมากขึ้น เราก็จะเข้าใกล้เป้าหมายนี้

การตรวจสอบข้อมูลแบบเรียลไทม์ของมลพิษทางอากาศควรได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ข้อมูลคุณภาพอากาศที่มีการติดตามและโปร่งใสจะทําให้ผู้คนได้รับข้อมูลและสามารถป้องกันตนเองเมื่อจําเป็น ในขณะที่ผลักดันรัฐบาลให้ดําเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

น่าเสียดายในประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาและแอฟริกาใต้ กฎการปล่อยมลพิษในรถยนต์และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ค่อนข้างหละหลวมไม่รัดกุม สิ่งนี้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงทางสุขภาพมากขึ้น

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบยั่งยืนไม่เพียงแต่ปรับปรุงคุณภาพอากาศแต่ยังมีศักยภาพที่จะเปลี่ยนโลกเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ถึงแม้ว่าพวกเราหลายคนต้องการที่จะกลับมาเป็นปกติหลังจาก การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มลพิษทางอากาศจะต้องไม่กลับสู่ระดับก่อนการระบาด ปฏิกิริยาของเรากับ ที่มีต่อการแพร่ระบาดครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถอยู่ในโลกที่ยั่งยืนและมีสุขภาพดีแต่ตอนนี้เราต้องเรียนรู้บทเรียนที่เจ็บปวดเหล่านี้และปรับปรุงเพื่อนำไปสู่ที่ดีกว่าเดิมในอนาคต

กรีนพีซจะยังคงรณรงค์เพื่อให้การแก้ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูเพื่อความยั่งยืน อยากให้ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนี้และเพื่ออากาศที่เราทุกคนหายใจบนโลกเป็นอากาศสะอาดที่ทุกคนมีสิทธิ์จะได้รับ ไม่ใช่เพื่อตัวคุณเองแต่รวมถึงคนที่คุณรักและอนาคตของเราทุกคน