ค่าฝุ่น PM2.5  คืออะไร

ค่ามาตรฐาน PM 2.5 ในบรรยากาศทั่วไป หรือเรียกง่าย ๆ ว่าค่าฝุ่น PM2.5 คือ การกำหนดขึ้นเพื่อบ่งชี้ความเข้มข้นของการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนในบรรยากาศ มีหน่วยเป็น ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยคิดค่าเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง และรายปี 

แต่รู้ไหมว่าแท้จริงแล้วค่ามาตรฐาน PM2.5 ที่ไทยใช้หย่อนยานกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศล่าสุด! ยิ่งไปกว่านั้นปีนี้องค์การอนามัยโลกปรับค่าแนะนำลงอีกเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี ทำให้ค่ามาตรฐานของไทยยิ่งห่างไกลจากค่าแนะนำของ WHO ถึง 3-5 เท่าไปใหญ่

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีของประเทศไทยอยู่ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนองค์การอนามัยโลกแนะนำเฉลี่ยรายปีของ PM2.5 ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร 

Smog blankets Bangkok’s sky at Chatuchak BTS station. According to the Pollution Control Department (PCD), today’s air pollution index in 20 areas in Bangkok and suburbs reached “unhealthy” levels with 56-103 micrograms per cubic metre and reached 55-96 micrograms per cubic metre in other 24 areas which surpassed recommended level. People with respiratory diseases are warned to avoid prolonged outdoor exposure. สถานีรถไฟฟ้าจตุจักรในวันที่กรุงเทพมหานครมีฝุ่นละอองคล้ายหมอกควันปกคลุมในหลายพื้นที่ ในวันนี้กรมควบคุมมลพิษได้รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลว่าบริเวณพื้นที่ริมถนน 20 พื้นที่ มีคุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดได้ที่ 56-103 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ทั่วไป 14 พื้นที่ อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดได้ที่ 55-96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมการแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัยหากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้ง

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของประเทศไทยอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าแนะนำขององค์การอนามัยโลกอยู่ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ฉะนั้นการที่ค่ามาตราฐาน PM2.5 ของไทยมีค่าที่สูงกว่าค่าแนะนำของ WHO  จึงไม่สามารถควบคุมและลดการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่างๆ อีกทั้งเปิดช่องให้กับผู้ปล่อยมลพิษมากกว่าที่จะคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงอากาศสะอาด

ค่า AQI คืออะไร

ค่า AQI (Air Quality Index) คือ ข้อมูลการวัดคุณภาพอากาศในภาพรวมที่ประกอบด้วยมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) โอโซน (O3) คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) 

ค่าฝุ่น PM2.5 สำคัญยังไง 

การวัดค่า AQI คือการใช้ตัวเลขจากการวัดค่า PM2.5 มาร่วมคำนวนด้วย 

ค่าฝุ่น PM2.5 จึงเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการคำนวนค่าดัชนีคุณภาพอากาศ AQI 

ทั้งนี้ การวัดค่า AQI และ PM2.5 จะโชว์ตัวเลขและสีในการแบ่งระดับการเตือนภัย เพื่อให้ประชาชนรับรู้ทราบระดับความรุนแรงและของความเสี่ยงต่อสุขภาพนั่นเอง

การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 คืออะไร

กรีนพีซจึงเรียกร้องให้รัฐปรับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศให้เข้มข้นขึ้นเพื่อยกระดับการเตือนภัยแก่ประชาชน รวมไปถึงทำให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนต่างๆต้องยกระดับนโยบายของตัวเอง เช่น ปลดระวางถ่านหิน ตรวจวัดมลพิษ PM 2.5 จากปลายปล่องโรงงานอุตสาหกรรม ลดการเผาในที่โล่ง ปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ให้สอดคล้องกับค่ามาตรฐานใหม่นั่นเอง

ร่วมเรียกร้องให้รัฐปรับค่ามาตรฐานให้เข้มข้นขึ้นเพื่ออากาศสะอาดสำหรับทุกคนได้ที่

ข้อเสนอของกรีนพีซในการจัดการมลพิษทางอากาศ PM2.5

แม้ว่ากรมควบคุมมลพิษจะนำ PM2.5 เข้ามาคำนวณในดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยตามข้อเรียกร้องของกรีนพีซแล้ว แต่เรายังคงยืนยันและผลักดันให้ภาครัฐจัดการกับมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนในข้อเรียกร้องอื่นๆ เพื่ออากาศดีของเราทุกคน

มีส่วนร่วม

#RightToCleanAir #ขออากาศดีคืนมา


กรีนพีซ ประเทศไทย ร่วมทำงานกับเครือข่ายชุมชน

เพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชนในหลากรูปแบบประเด็น เราส่งเสริมสันติภาพ โดยไม่รับเงินสนับสนุนจากบริษัท รัฐบาล หรือ พรรคการเมืองใด เพื่อความเป็นอิสระทางการทำงาน