All articles by Supang Chatuchinda
-
บ้านเรา ให้เรามีส่วนร่วม : เสียงของชุมชนชายฝั่งที่อยากให้รัฐรับฟัง
8 มิถุนายน 2567 ซึ่งเป็นวันมหาสมุทรโลก (World Oceans Day) เรือเรนโบว์ วอร์ริเออร์และกรีนพีซ ประเทศไทยจึงใช้โอกาสนี้เชิญชวนกลุ่มชุมชนชายฝั่ง ผู้ปกป้องทรัพยากรทางทะเลและสิทธิของชุมชน มาร่วมพูดคุยและนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางด้านการจัดการทรัพยากรทะเลชายฝั่ง ด้านความมั่นคงทางอาหาร และสิทธิชุมชนชายฝั่ง เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ร่วมกัน ในวงสนทนาบนเรือ “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดนโยบายและบริหารจัดการทรัพยากรทะเล”
-
Diversity is Nature : เพราะความหลากหลายคือธรรมชาติของโลก แล้วนโยบายรัฐไทยโอบรับความหลากหลายของชุมชนหรือยัง?
เฉลิมฉลองเดือนแห่งความหลากหลาย (Pride Month) เราจึงชวนกลุ่มคนที่ทำงานในประเด็นความหลากหลายในมิติต่างๆไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ เพศ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มาร่วมพูดคุยกันในวงเสวนา Diversity is Nature โดยมี อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไครียะห์ ระหมันยะ ลูกสาวแห่งท้องทะเลจะนะ เยาวชนและนักกิจกรรมจากเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น จ.สงขลา และวิภาวดี แอมสูงเนิน นักรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ ประเทศไทย
-
เปิดข้อมูลวิจัย ‘นโยบายทวงคืนผืนป่า’ นำชุมชนไปสู่ ‘ความยากจนฉับพลัน’
เป็นระยะเวลากว่า 9 ปีที่เราได้ยินคำว่า ‘นโยบายทวงคืนผืนป่า’ ซึ่งประกาศใช้โดยรัฐบาลทหาร คสช. ผ่านการนำเสนอในสื่อต่าง ๆ แต่เคยทราบหรือไม่ว่าเบื้องหลังการ ‘ทวงคืน’ นี้เกิดผลกระทบอะไรบ้างนอกจากรัฐได้ผืนป่าคืน ?
-
พูดคุยเรื่องฝุ่นพิษกับ ชัยยนต์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีแม่สาย ในวันที่ชาวแม่สายได้รับผลกระทบจาก PM2.5 อย่างรุนแรง
เราได้มีโอกาสพูดคุยกับนายกฯ เกี่ยวกับการทำงานของเทศบาลตำบลแม่สายในการรับมือกับฝุ่นพิษ ปัญหาอุปสรรคที่พบ และข้อเรียกร้องของนายกเทศมนตรีในฐานะตัวแทนของประชาชนที่อาศัยอยู่ใน อ.แม่สาย
-
ฝนตกแล้วแต่ฝุ่นพิษยังอยู่! เพราะไม่อยากเจอฝุ่น PM2.5 ทุกปี วิกฤตฝุ่นพิษแม่สายต้องแก้ไขด้วยแนวทางระยะยาว
‘ใน อ.แม่สาย ไม่มีจุดความร้อนเลย แต่ประชาชนในอำเภอกลับได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 จากการเผาอย่างหนัก ปัญหาฝุ่นใน อ.แม่สาย มักจะมาจากมลพิษที่ข้ามพรมแดนมา จึงหาข้อมูลเพิ่มเติมและทราบข้อมูลเรื่องการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในปี 2565 ไทยนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพม่าสูงถึง 14,312 ล้านบาท และจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิชาการหลายคนทำให้เราเชื่อว่านี่คือหนึ่งในสาเหตุของมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในแม่สาย’ – นายกเอ (ชัยยนตร์ ศรีสมุทร นายกเทศมนตรีตำบลแม่สาย)
-
สภาพอากาศยุโรปปั่นป่วน ! เผชิญภัยแล้งที่ระดับน้ำในคลองเวนิสลดต่ำจนแล่นเรือไม่ได้
ขณะนี้ประเทศอิตาลีเป็นอีกประเทศที่กำลังเจอกับผลกระทบภัยแล้งอย่างหนัก ล่าสุดเมืองแห่งคูคลองชื่อดังอย่างเวนิสที่มีเรืออันเป็นเอกลักษณ์อย่าง ‘เรือกอนโดลา’ ไม่สามารถแล่นได้
-
เมื่อซีรีย์ the Last of US หยิบประเด็นเชื้ออุบัติใหม่จากภาวะโลกร้อนมาเล่าผ่านการแพร่ระบาดของเชื้อราคอร์ดีเซปส์
สิ่งที่น่าสนใจในซีรีย์คือการขยายเหตุผลความเป็นไปได้ในการแพร่ระบาดของเชื้อรากลุ่ม ‘คอร์ดีเซปส์’ (Cordyceps) โดยเฉพาะเชื้อราที่แพร่ระบาดในหมู่แมลงอย่างเช่น มด และเชื้ออาจจะแพร่สู่มนุษย์ด้วยปัจจัยเรื่อง ‘ภาวะโลกร้อน’
-
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกอาจต้องเจอสภาพอากาศหนาวสุดขั้วจนเป็นปกติ
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า เหตุการณ์สภาพอากาศหนาวสุดขั้วแบบนี้เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเรากำลังอยู่ในวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงถึงตายได้
-
โลกต้อนรับเราช่วงปีใหม่ด้วยเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว
ในปีนี้สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับสภาพอากาศเลวร้ายที่อาจไม่เป็นที่รู้จักมากนักนั่นคือ บอมบ์ ไซโคลน (Bomb Cyclone) รวมถึงล่าสุดที่แม้ว่าตอนนี้จะเป็นช่วงเวลาฤดูหนาวแต่ยุโรปกลับต้องเจอคลื่นความร้อน
-
สรุปสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชนท้ายปี 2565 : การปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง โลกจะต้องหยุดฟอกเขียว
ปีนี้เกิดการพูดคุยและถกเถียงประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในเชิงโครงสร้างมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ผู้คนเชื่อมโยงปัญหาสิ่งแวดล้อมปัจจัยอื่น ๆ ทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชน และการบริหารจัดการบ้านเมือง รวมถึงการออกนโยบายที่จะเป็นตัวชี้วัดว่าทรัพยากรธรรมชาติจะได้รับการปกป้องหรือถูกทำลาย และเป็นปีที่คำว่า ‘ฟอกเขียว (Greewashing)’ กลายเป็นที่รู้จักแพร่หลาย