-
ถึงเวลาที่เจ้าภาพ COP28 ต้องสานต่อฉันทามติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และยุติการขยายเชื้อเพลิงฟอสซิล
ก่อนเริ่มการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เจ้าภาพ COP28 เมื่อปี 2566 ที่ผ่านมา ได้เผยแพร่แผนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ(เป้าหมายปี 2578)
-
การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมทางทะเลของ บังนี จากชุมชนจะนะ ในการประชุม CBD COP16 ว่าด้วยการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ชายฝั่ง และเกาะ
นักต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อมและตัวแทนชาวประมงจากจะนะ จังหวัดสงขลาอย่าง "บังนี รุ่งเรือง ระหมันยะ" ได้แบ่งปันเรื่องราวการต่อสู้และความหวังของชุมชนภายใต้หัวข้อ “การส่งเสริมวิธีการที่ยึดหลักสิทธิมนุษยชนในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ชายฝั่ง และเกาะ” ซึ่งเป็นเวทีให้ชุมชนที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องระบบนิเวศที่เปราะบางเหล่านี้ได้แสดงออกถึงประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนที่พวกเขาเผชิญอยู่
-
ทันโลก ทันสถานการณ์ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและเป็นธรรม : 4 ประเทศที่มีแนวทางสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนที่ทำได้จริง
เมื่อนานาประเทศทั่วโลกจากยุโรปและเอเชียล้วนมีคำมั่นสัญญาในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกรอบการเจรจาและข้อตกลงในเวทีโลกอย่างเวที COP26 ทำให้การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทางหลักๆ ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) โดยปัจจุบัน โลกมุ่งเน้นการดำเนินนโยบายตามแนวทาง Mitigation เป็นหลัก โดยใช้กลไกของการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งดูเหมือนจะเป็นอีกหนึ่งคำตอบที่สามารถทำให้เกิดการบรรลุวัตถุประสงค์ในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้อย่างมีประสิทธิภาาพในระยะเวลาอันสั้นนี้ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าภาคการผลิตพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณความเข้มข้นสูงกว่าภาคอื่นๆ
-
เวลาแห่งการลงมือทำ : โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UNEP) วาดภาพอนาคตที่เลวร้ายจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศหากไม่มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว
รายงาน Emissions Gap ปี 2567 ของ UNEP ได้เตือนว่า หากประเทศต่างๆ ไม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีสในการจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกให้ต่ำกว่า 1.5°C จะหมดลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
-
5 ข้อเรียกร้องต่อกลุ่มผู้นำโลกในการประชุมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ CBD COP16
การประชุมครั้งนี้จะเป็นการพูดคุยเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพโลกอีกครั้งหลังจากในปี 2022 ที่ผู้นำจาก 196 ประเทศทั่วโลกได้ให้คำมั่นสัญญาในข้อตกลงคุนหมิง - มอนทรีออล เพื่อหยุดยั้งวิกฤตการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพที่นำไปสู่การสูญพันธ์ครั้งใหญ่
-
รู้จักการประชุมระดับโลก เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ CBD-COP
การประชุมสมัชชาภาคีว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 16 หรือ UN Convention on Biological Diversity (CBD COP16) การเจรจาเพื่อหาทางปกป้องระบบนิเวศที่ถูกทำลายและการปกป้องสิ่งมีชีวิตจากการสูญพันธุ์
-
แม่ทะบ้านฉัน ชีวิตดีๆ ที่จะลงตัวอยู่แล้วถ้าไม่มีโครงการเหมืองถ่านหิน
“วิถีชีวิตของเราก็จะเปลี่ยนไป จากที่เราเคยหาของป่า ทำไร่ ปลูกข้าว เคยจับกุ้ง หอย ปู ปลา ถ้ามีโครงการเหมืองเข้ามา วิถีชีวิตตรงนี้มันก็จะเปลี่ยนไป หรือแม้แต่ความสัมพันธ์ของคนเองก็อาจจะเปลี่ยน”
-
ยุติภาวะโลกเดือดที่ต้นเหตุ: นโยบายรัฐไทยต้องเลิกเอื้อฟอกเขียวนายทุน ยกประชาชนเป็นที่ตั้งรับมือวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
การเอื้อประโยชน์ให้กับบรรษัทยักษ์ใหญ่ทำให้ประชาชนกลุ่มเปราะบางต้องเผชิญกับสารพัดวิกฤต (poly crisis) ทั้งผลกระทบจากหายนะจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งพวกเขาไม่ได้มีส่วนก่อขึ้น ผลกระทบเหล่านี้ซ้ำเติมให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความยากจนที่มีอยู่เดิมทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก
-
การประชุมเจรจาเพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ CBD COP16 เป็นโอกาสที่โลกจะปล่อยให้ระบบนิเวศได้ฟื้นฟู
ผู้นำโลกเดินทางมารวมตัวกันและจะใช้ระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์เพื่อการประชุมสมัชชาภาคีว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ หรือ UN Convention on Biological Diversity ครั้งที่ 16 (CBD COP16) ซึ่งจะนำข้อตกลงของการประชุม CBD COP15 ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2565 มาปรับเป็นหลักปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการกำหนดเป้าหมายการปกป้องระบบนิเวศและปล่อยให้ระบบได้ฟื้นฟูตัวเองในทิศทางที่เป็นธรรมมากขึ้น ภายในช่วง 10 ปีข้างหน้าและในอนาคตระยะยาว