มลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) ในประเทศไทย

รายงานการจัดลำดับนี้ประมวลผลจากข้อมูลของสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ 19 สถานีทั่ว
ประเทศ เพื่อหยิบยกประเด็นท้าทายของการจัดการมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 1 และนำเสนอข้อเรียกร้องเชิงนโยบายและแนวทางจัดการในทางปฏิบัติต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

ผลการจัดลำดับและข้อสังเกต

  • โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยสูงสุดรายเดือนและจำนวนวันที่เกินค่ามาตรฐานรวมกัน เมืองที่มีมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 5 อันดับแรกคือ เชียงใหม่ ขอนแก่น ลำปาง กรุงเทพฯ และสมุทรสาคร ตามลำดับ ในกรณีของจังหวัดสระบุรี (ตำบลหน้าพระลาน) ซึ่งอยู่อันดับแรกในปี พ.ศ.2558 นั้น ลงมาเป็นอันดับ 10 ในปี พ.ศ. 2559 ถึงแม้ว่าจะมีค่าเฉลี่ยรายปีของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในระดับที่สูง
  • จนถึงสิ้นปี พ.ศ.2559 มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) ซึ่งดำเนินงานโดยกรมควบคุมมลพิษรวม 19 สถานีทั่วประเทศ เพิ่มจากปี พ.ศ.2558 ที่มีอยู่ 12 สถานี แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นต่อปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายใต้เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ของประเทศไทย ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับแย่ และยังไม่มีเป้าหมายรับมือ 2
  • จากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) 19 แห่ง ในปี พ.ศ.2559 มี 10 พื้นที่ที่มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) เกินค่ามาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปในเวลา 1 ปี (25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ตามข้อกำหนดของประเทศไทย และทั้ง 19 พื้นที่มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกินค่ามาตรฐานในบรรยากาศทั่วไปในเวลา 1 ปี ตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก(10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)

ทุกคนมีสิทธิในเข้าถึงอากาศสะอาด ถึงเวลาที่รัฐบาลไทยต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อปัญหาเร่งด่วน ด้านสุขภาพนี้และสร้างแผนปฏิบัติการที่หนักแน่นกว่าที่เป็นอยู่เพื่อทําให้อากาศดีขึ้น ลดมลพิษและช่วยชีวิตคน กรีนพีซเรียกร้องให้ :

กรมควบคุมมลพิษ

  • ติดตั้งตรวจวัดและรายงาน PM2.5ในทุกสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่มีอยู่61แห่งใน29 จังหวัดทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ Air4thai.pcd.go.th และโมบายแอพพลิเคชั่น Air4Thai
  • ใช้ค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน2.5ไมครอนในการคํานวณดัชนีคุณภาพอากาศ (PM2.5 AQI)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ภายใต้วิสัยทัศน์ภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควันภายในปี2563(Haze-freeASEANby2020) นอกเหนือจากการควบคุมและป้องกันการเผาวัสดุการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูก ป่าไม้ และพื้นที่ สงวนแล้ว จะต้องรับประกันว่ามีการติดตามตรวจสอบและรายงานความเข้มข้นของฝุ่นละออง ขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน(PM2.5) และสารมลพิษทางอากาศอื่นๆ ที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพ อนามัยของประชาชน เช่น โพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน(PAHs) โดยสาธารณชน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้

กรมควบคุมมลพิษและกระทรวงสาธารณสุข 

  • ปรับปรุงมาตรฐานการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2),ออกไซด์ของไนโตรเจน(NOx)และฝุ่น ละอองขนาดเล็กทั้ง PM10 และ PM2.5 ให้สอดคล้องกับข้อแนะนําขององค์การอนามัยโลก

กรมควบคุมมลพิษและกรมโรงงานอุตสาหกรรม

  • กําหนดค่ามาตรฐานPM2.5และปรอทที่แหล่งกําเนิดที่อยู่กับที่รวมถึงการตรวจวัดและรายงาน การปล่อย PM2.5 และปรอทจากปล่องโรงไฟฟ้า

กระทรวงพลังงานกระทรวงคมนาคมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสภา อุตสาหกรรมยานยนต์

  • ส่งเสริมให้มีการใช้เชื้อเพลิงสะอาดในภาคการขนส่งให้มากขึ้น(Clean Fuel & Renewable fuel)
  • ส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่มากขึ้น(Traffic management & Mass Transportation System)
  • บริหารจัดการด้านการใช้พลังงานในภาคการขนส่งทางถนนโดยการปรับปรุงระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานมากขึ้น
  • บริหารจัดการอุปสงค์เพื่อลดการเดินทางที่ไม่จําเป็นสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปใช้ระบบขนส่งสาธารณะและรูปแบบการขนส่งสินค้าที่ประหยัดพลังงาน
  • จัดการสิ่งแวดล้อมด้านการขนส่งทางถนนโดยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาและใช้พลังงานสะอาด การสนับสนุนการใช้จักรยาน การเดิน ยานพาหนะไฟฟ้าและการส่งเสริมการขับขี่ที่ประหยัดเชื้อ เพลิง (Eco driving)

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่นี่

Air Pollution in Bangkok. © Chanklang  Kanthong / Greenpeace
ขออากาศดีคืนมา

กรีนพีซเสนอให้กรมควบคุมมลพิษยกร่างมาตรฐาน PM2.5 ในบรรยากาศสำหรับประเทศไทยขึ้นใหม่

มีส่วนร่วม