All articles
-
ข้อเรียกร้องของ กรีนพีซ ประเทศไทย ต่อโครงการ Carbon Capture and Storage ที่แหล่งอาทิตย์
โครงการ Carbon Capture and Storage(CCS) นอกชายฝั่งกำลังถูกผลักดันในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ในช่วงกลางปี 2566 บริษัทและรัฐบาลต่างๆ ประกาศแผนการก่อสร้างโครงการ offshore CCS มากกว่า 50 แห่งทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือโครงการ CCS ที่แหล่งอาทิตย์ในอ่าวไทย จนถึงปัจจุบัน ประสบการณ์ทั่วโลกในเรื่อง offshore CCS นั้นมาจากโครงการเพียง 2 โครงการในนอร์เวย์ ซึ่งประสบปัญหาที่คาดเดาไม่ได้ แม้จะมีการออกแบบที่ค่อนข้างเรียบง่ายและมีขนาดเล็ก ก็พิสูจน์ความซับซ้อนของ offshore CCS และทำให้เกิดความกังวลอย่างจริงจังถึงโครงการ CCS ที่มีขนาดและขอบเขตที่ใหญ่ขึ้น
-
CP’s Plastic Pollution Unmasked-บทวิพากษ์ของกรีนพีซต่อนโยบายบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์
รายงาน “บทวิพากษ์ของกรีนพีซต่อนโยบายบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP’s Plastic Pollution Unmasked) นี้ กรีนพีซ ประเทศไทยมุ่งประเมินนโยบายบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Sustainable Packaging Policy) ของ 2 บริษัทหลักในกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์คือบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) หรือ CPALL ซึ่งครอบคลุมธุรกิจค้าปลีก-ส่งและร้านสะดวกซื้อที่สำคัญ
-
รายงานประจำปี 2565
ปี 2565 ขณะที่เราเริ่มฟื้นตัวจากความสับสนวุ่นวายที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเราต้องสร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่ออนาคตของมวลมนุษยชาติก่อนที่จะสายเกินไป
-
วารสารข่าวประจำปี 2566: Mapping the Future
วารสารข่าวงานรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมของกรีนพีซ ประจำปี 2566
-
รายงาน เสียงแห่งจะนะ Voice of Chana
รายงาน “เสียงแห่งจะนะ” เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน นักวิชาการ และภาคประชาสังคม โดยมีข้อมูลคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม และข้อมูลฉากทัศน์ความเสี่ยงด้านผลกระทบทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านมลพิษทางอากาศ และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หากมีโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะเกิดขึ้น รวมถึงผลลัพธ์จากการะบวนการเปิดพื้นที่รับข้อเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนที่มาจากการระดมความเห็นของประชาชนหลากหลายอาชีพ
-
รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีโครงการเหมืองแร่ถ่านหิน หมู่บ้านกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อให้กระบวนประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) ดำเนินไปจนสุดกระบวนการอันจะนำมาสู่การนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจของภาคส่วนต่างๆ โครงการวิจัยจึงดำเนินการในขั้นตอนการประเมินผลกระทบดังกล่าวเพื่อตอบโจทย์ด้านมลพิษอากาศอันเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่กำหนดขอบเขตโดยชุมชนอมก๋อย
-
เส้นทางการต่อสู้คัดค้านโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย : จุดยืนของเราคือไม่เอาเหมืองถ่านหิน!
“4 ปีที่ผ่านมา เราต่อสู้ตามสิทธิของตัวเองและสู้เพื่อชุมชนของเรา เราคิดว่าไม่ควรมีชุมชนไหนควรได้รับผลกระทบจากถ่านหินหรือการพัฒนาของรัฐที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น รัฐ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุนควรเข้าใจบริบทชุมชน วิถีชุมชน และคำนึงถึงตัวชุมชนมากๆ และไม่เอาเปรียบชาวบ้าน
-
อมก๋อย แหล่งอากาศดีที่อาจสิ้นสูญ : แผนที่ความเสี่ยงต่อมลพิษทางอากาศกรณีดำเนินโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย ตำบลกะเบอะดิน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อให้กระบวนประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโดยชุมชน (CHIA) ดำเนินไปจนสุดกระบวนการอันจะนำมาสู่การนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจของภาคส่วนต่างๆ โครงการวิจัยจึงดำเนินการในขั้นตอนการประเมินผลกระทบดังกล่าวเพื่อตอบโจทย์ด้านมลพิษอากาศอันเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่กำหนดขอบเขตโดยชุมชนอมก๋อย
-
รายงาน: 30×30 จากสนธิสัญญาทะเลหลวงสู่เขตคุ้มครองระบบนิเวศทางทะเล
รายงาน 30x30: From Global Ocean Treaty to Protection at Sea เผยข้อมูลการวิเคราะห์ของภัยคุกคามทะเลหลวง และสาเหตุว่าทำไมเราต้องใช้สนธิสัญญาทะเลหลวงสร้างเขตคุ้มครองทางทะเลให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของมหาสมุทรทั้งหมดภายในปี 2573 พื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด 11 ล้านตารางกิโลเมตรต้องได้รับการปกป้องตามเป้าหมาย 30x30 ของสหประชาชาติ ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมตั้งแต่ปี 2565 และสนธิสัญญาฉบับนี้เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้ทันกำหนด
-
ผลวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และจุดความร้อน ในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ปี 2564-2566 : ความท้าทายของระบบตรวจสอบย้อนกลับของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์
ข้อมูลการวิเคราะห์จากภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดระบุว่าในปี 2566 พบจุดความร้อนในแปลงข้าวโพดเลี้ยง สัตว์มากถึงร้อยละ 41 ของจุดความร้อนทั้งหมดในอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ขณะเดียวกัน ผืนป่าในอนุภูมิภาค ลุ่มนํ้าโขงหายไป 11.8 ล้านไร่จากการขยายตัวของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระยะเวลาเพียง 9 ปี (ปี 2558-2566)