All articles
-
จากผ้าแคนวาสที่เคยเป็นป้ายผ้าเก่าสู่กระเป๋าใบเล็กติดซิปเย็บมือ ความภูมิใจ DIY โดยใช้ของแค่ 4 อย่าง
การหลงไหลในงานคราฟต์ทำมือ เริ่มต้นด้วยการอยากมีของแบบนู้นแบบนี้ บางที เราก็คุ้นชินกับการ DIY มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ตั้งแต่เจาะกระป๋องแป้ง มาทำเป็นกระปุกออมสิน เอากางเกงขายาวมาตัดเป็นขาสั้น ปะ ชุน เป้ากางเกงที่ขาดรุ่ย เพื่อต่ออายุให้มันไปได้อีกสักระยะ เหล่านี้ล้วนคือการ DIY (Do it yourself) โดยที่เราอาจจะไม่ทันได้สังเกต เขาว่าการทำงานคราฟต์อาศัยของไม่กี่อย่างก็ได้ของสุดภูมิใจมาไว้ในมือ ของไม่กี่อย่างก็ประกอบได้ด้วย 1. ความตั้งใจ 2. ความชอบ 3. ความคิดสร้างสรรค์ และ 4. เวลา…
-
ชีวิตของผมในเมืองแห่งหมอกควัน ที่ อินโดนีเซีย
คุณภาพอากาศที่เราหายใจอยู่ในระดับที่เลวร้าย และเราต้องสูดอากาศที่เต็มไปด้วยสารพิษจากควันไฟป่านี้ทุกวัน ดัชนีคุณภาพอากาศ (the air quality index (AQI)) พุ่งสูงจากระดับที่ปลอดภัยไปแตะที่ตัวเลข 300 ซึ่งสถิติตัวเลขที่สูงที่สุดที่วัดได้นั้นสูงถึง 2,000
-
จับตาแหล่งกำเนิดไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2) คู่หู PM2.5 ในประเทศไทย
เมื่อฝุ่น PM2.5 ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติที่มีแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน มาตรการสำคัญที่ท้าทายศักยภาพของรัฐบาลในการจัดการมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน คือ จะลดมลพิษจากแหล่งกำเนิดอย่างไร และหนึ่งในบรรดามลพิษทางอากาศหลัก(Criteria Pollutants) นั้นคือ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารตั้งต้น(precursor) ตัวสำคัญของฝุ่น PM2.5
-
ภาพน่าประทับใจของ #ClimateStrike ทั่วโลก
เมื่อผืนป่าในหลายประเทศกำลังถูกเพลิงเผาผลาญ น้ำแข็งในขั้วโลกกำลังละลาย ความมั่นคงทางอาหารและการเข้าถึงน้ำสะอาดของมนุษย์กำลังถูกคุกคาม หรือสัตว์หลายสายพันธุ์กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ นี่คือความจริงที่แสนจะน่ากลัวที่กำลังเกิดขึ้นจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เมื่อเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2561 นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกได้ออกคำเตือนต่อมนุษยชาติว่าเรามีเวลาไม่ถึง 12 ปี (หากนับปีนี้จะเป็น 11 ปี) ในการลงมืออย่างจริงจังเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรากำลังอยู่ในจุดพลิกผันแห่งประวัติศาสตร์ของวิกฤตสภาพภูมิอากาศร่วมกัน และเมื่อ วันที่ 20 และ 27 กันยายนที่ผ่านมา เยาวชนทั่วโลกต่างหยุดเรียนเพื่อเรียกร้องให้มีการลงมือปกป้องสภาพภูมิอากาศ และนี่คือภาพบรรยากาศกิจกรรม Climate Strike ที่เกิดขึ้นกว่า 150 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย
-
นักสำรวจขยะพลาสติก กับสิ่งที่ซ่อนอยู่ในดอยสุเทพ
"ในระยะทางแค่ 10 กิโลเมตร เวลาเราขับรถผ่านแถวอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เราจะรู้สึกว่ามันสะอาดมาก แต่พอเราลองจอดรถหยุดดู เราจะเห็นว่า ขยะมันถูกทิ้งกองไว้ข้างทางเลยไหล่เขาลงไป เหมือนเป็นการกวาดลงไปให้พ้นทาง คำถามเราคือ แล้วใครกวาด ? ทำไมต้องกวาดลงไป ? นี่คือสิ่งที่เราตั้งคำถามและสงสัยมาโดยตลอด"
-
เพราะอะไร ปกป้องมหาสมุทรจึงเท่ากับปกป้องโลกนี้
มหาสมุทรที่สมบูรณ์ ปลอดภัยมีส่วนสำคัญที่ช่วยค้ำจุนความยั่งยืนของโลกใบนี้ เพราะมหาสมุทรถือเป็นแหล่งอาหาร แหล่งทรัพยากรที่ช่วยให้ผู้คนหลายพันล้านคนมีรายได้ และยังช่วยควบคุมสภาพภูมิอากาศให้สมดุล
-
ความอิหลักอิเหลื่อของวาระแห่งชาติว่าด้วยฝุ่น PM2.5
9 เดือนผ่านไป หลังจากการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ที่มีมติให้การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ เราก็ได้เห็นแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติที่กรมควบคุมมลพิษเผยแพร่สู่สาธารณะเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา
-
เบื้องหลัง “เก็บรักษ์” กับ โตโน่ ภาคิน
สำรวจเบื้องหลังแนวคิด “เก็บรักษ์” ของ โตโน่ ภาคิน กับการออกไปเก็บขยะที่มากกว่าการทำให้ชายหาดสะอาด และเรื่องราวระหว่างทางที่มีคุณค่าผ่านกิจกรรม เก็บรักษ์
-
ทำไมดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยไม่ได้บอกคุณภาพอากาศ ณ เวลานั้น
ประเทศไทยเริ่มใช้ดัชนีคุณภาพอากาศ(AQI)ใหม่ที่รวม PM2.5 เข้าไปด้วยในช่วงเดือนตุลาคม 2561 เป็นต้นมา ดัชนีคุณภาพอากาศทำให้เราทราบว่าคุณภาพอากาศเป็นอย่างไรโดยเฉลี่ยในช่วงเวลา 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยจะต่างจากดัชนีคุณภาพอากาศขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา(U.S. AQI) ที่มีความเข้มงวดมากกว่า
-
ทำไมพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้งจึงไม่ใช่ตัวเลือกสำหรับอนาคต
แล้วทางออกของปัญหานี้คืออะไร? ท่ามกลางขยะพลาสติกที่พุ่งทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง