All articles
-
วัวเรอไม่ใช่เรื่องตลก : ก๊าซมีเทนจาก เรอ ตด และมูลในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์กำลังทำให้สภาพภูมิอากาศวิกฤต
ถ้าถามว่าเรารู้จักก๊าซมีเทนไหม? หลายคนน่าจะรู้จักก๊าซชนิดนี้ว่าเป็นก๊าซจากตดและเรอของวัว นอกจากนี้ ก๊าซมีเทนยังถูกปลดปล่อยจากการเลี้ยงสัตว์ มูลวัว และการย่อยอาหาร ซึ่งการปลดปล่อยก๊าซมีเทนนี้เคยเป็นประเด็นรณรงค์จากหนึ่งในศิลปินชื่อดังอย่าง the Beatles โดยเป็นผู้สนับสนุนสำคัญในด้านการรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่กระจายประเด็นนี้สู่สาธารณะให้ตระหนักรู้
-
ชะลอโลกเดือด: การยุติภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศด้วยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม
การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่เพียงแค่ฟอสซิลอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ หากเราต้องการหยุดภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น เราจำเป็นต้องจำกัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนมอย่างเร่งด่วน
-
สรุปเนื้อหารายงาน ชะลอโลกเดือด: การยุติภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศด้วยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม
รายงานของกรีนพีซ นอร์ดิก “ชะลอโลกเดือด: การยุติภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศด้วยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม” เผยให้เห็นเป็นครั้งแรกว่าเราสามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกได้ หากรัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการลดการผลิตที่ล้นเกินจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์ และเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอาหารที่เป็นธรรมและยั่งยืน
-
กรีนพีซเผย บริษัทอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์นมยักษ์ใหญ่ปล่อยก๊าซมีเทนไม่แพ้อุตสาหกรรมน้ำมัน: การลดการปล่อยก๊าซมีเทนอาจช่วยชะลอภาวะโลกเดือดในทศวรรษนี้ได้
รายงาน “ชะลอโลกเดือด: การยุติภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศด้วยอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และนม” แสดงให้เห็นว่าเราสามารถชะลอภาวะโลกเดือดได้อย่างมีนัยสำคัญในช่วงอายุขัยของเราด้วยการเปลี่ยนแปลงระบบอาหาร โดยลดการผลิตเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมเชิงอุตสาหกรรม และเพิ่มการผลิตอาหารจากพืชให้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการรับประทานอาหารของ EAT-Lancet Planetary Health ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนและส่งเสริมสุขภาพทั้งของมนุษย์และโลก
-
มองน้ำท่วมในมุม Climate Injustice เมื่อกลุ่มคนที่ปล่อยคาร์บอนน้อยสุดต้องรับแบกรับผลจากภัยพิบัติจากโลกเดือดมากที่สุด
ข้อถกเถียงสำคัญที่เกิดขึ้นในขณะนี้คือสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่มและโคลนที่ตามมาจากมวลน้ำที่ไหลมาจากพื้นที่ภูเขา ในสายตาของสังคมพุ่งไปยังชุมชนคนกับป่าที่อาศัยอยู่บนดอยว่าเป็นต้นเหตุของการทำลายป่า อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิอากาศสุดขั้วที่ทำให้หลายพื้นที่ประเทศไทยกำลังเผชิญกับพายุรุนแรงและน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นั้นไม่ได้มีที่มาเพียงแค่การหายไปของพื้นที่ป่าไม้ แต่ยังเป็นผลของการก่อก๊าซเรือนกระจกมหาศาลและอย่างยาวนานของอุตสาหกรรมหลายภาคส่วน
-
“มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี”: ประชาชนอยู่ตรงไหนในนโยบายของแพทองธารด้านปัญหาฝุ่นพิษข้ามพรมแดน
บทความนี้นำเสนอประเด็นที่รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ไม่ได้ระบุในคำแถลงนโยบายต่อการแก้ปัญหาฝุ่นพิษข้ามแดน ซึ่งนอกจากจะไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริงแล้ว อาจซ้ำเติมปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย
-
ส่องนโยบายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้รัฐบาลแพทองธาร
แม้รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร จะยอมรับว่าวิกฤตสภาพภูมิอากาศเป็นความท้าทายของประเทศ แต่นโยบายด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งยังไม่อยู่ในนโบายเร่งด่วนที่ต้องทำทันที แต่อยู่ในนโยบายระยะกลางและระยะยาว รวมทั้งยังมีความคลุมเครือและไม่สอดคล้องกันระหว่างนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
-
ระวัง! วาฬ 3 ชนิดที่อาจตกอยู่ในอันตรายหากเกิดโครงการเหมืองทะเลลึกในอาร์กติก
ขณะนี้รัฐบาลนอร์เวย์กำลังวางแผนที่จะเปิดพื้นที่หลายแห่งในทะเลนอร์วิเจียนเพื่อเริ่มทดลองโครงการสุดอันตรายนี้ แน่นอนว่าโครงการเหมืองที่จะเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบและทำให้ระบบนิเวศในทะเลปั่นป่วน โดยเฉพาะมลพิษทางเสียงและการทำลายที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในทะเล และหมายรวมถึงวาฬหลายชนิด มลพิษทางเสียงนั้นจะเป็นภัยคุกคามรุนแรงต่อสัตว์ที่มีความเปราะบางและอ่อนไหวต่อเสียง
-
ความเป็นธรรมทางสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่ยังคงเลือนรางต่อไป ในคำแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ต่อรัฐสภาวันที่ 12 กันยายน 2567
check list เปรียบเทียบ ข้อเสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมที่รวบรวมจากการทำงานรณรงค์อย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมากับคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 11 กันยายน 2566 โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาในวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนล่าสุด
-
วิมานแย้ : เรื่องราวของ ‘แย้สงขลา’ ป่าชายหาด และระบบนิเวศของ อ.จะนะ สงขลา
ป่าชายหาดมีประโยชน์มากต่อพื้นที่ที่อยู่ชายฝั่ง ช่วยกันคลื่นกันลม ไอเค็ม โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นเนินเช่นที่ อ.จะนะ ทำให้พื้นที่ข้างหลังสามารถพัฒนาเป็นป่าบกหรือเพาะปลูกได้ ที่นี่ยังเป็นที่อยู่ของ แย้ สายพันธุ์หายากหรือที่เรียกว่า แย้สงขลา