All articles
-
ที่ COP29 เหล่าผู้นำโลกมีโอกาสชะลอวิกฤตสภาพภูมิอากาศได้
ในการประชุมมีการหารือเกี่ยวกับเรื่องระบบอาหาร เกษตรกรรม และทรัพยากรน้ำ โดยผู้กำหนดนโยบายที่เข้าร่วมการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นสภาพภูมิอากาศนี้ต่างต้องยอมรับว่าระบบอาหาร (Food system) นั้นมีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยมนุษย์มากถึง 37% และถ้าเราเริ่มดำเนินการอย่างจริงจังและปฏิรูประบบเหล่านี้ เราจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มหาศาล ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูธรรมชาติ
-
ผลการวิจัยล่าสุดเผย การผลิตพลาสติกในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน มีส่วนทำให้วิกฤตมลพิษพลาสติกและวิกฤตสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น
รายงานวิจัยฉบับใหม่โดย กรีนพีซ เอเชียตะวันออก เปิดโปงบทบาทสำคัญของอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ที่กำลังเป็นตัวการก่อมลพิษพลาสติกและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรวมศักยภาพในการผลิตพลาสติกพอลิเมอร์ขั้นต้นจากทั้งสามตลาดได้ในปริมาณสูงถึง 41.99 ล้านตันต่อปี ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO₂e) ถึง 99.93 เมกะตัน
-
หากขาดเจตจำนงทางการเมืองจะทำให้การกู้วิกฤตโลกเดือดใน COP29 ช้ากว่าเดิม แต่เรายังมีความหวังในการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ
เพราะความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ทำให้การเจรจาครั้งนี้เป็นเรื่องยาก อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญจริง ๆ คือเจตจำนงทางการเมืองในบากู การเจรจาที่มีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยยังไม่พอต่อการบรรเทาทุกข์ของชุมชนและผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
-
สุดช็อก! กรีนพีซเผยชุดภาพธารน้ำแข็งในอาร์กติกละลายในช่วงศตวรรษนี้
กรีนพีซเผยชุดภาพธารน้ำแข็งละลายที่แสดงให้เห็นว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาธารน้ำแข็งในอาร์กติกละลายลงไปจำนวนมาก
-
COP29 : 3 สิ่งที่เราต้องรู้เกี่ยวกับการประชุมด้านสภาพภูมิอากาศระดับโลก
การประชุมแต่ละครั้งก็โฟกัสไปแต่ละประเด็นแตกต่างกันออกไป โดยประเทศเจ้าภาพจะเป็นผู้กำหนดประเด็นในการเจรจา ซึ่งการประชุม COP29 นี้ จะเป็นการประชุมในประเด็น ‘การเงิน’ เป็นหลัก ซึ่งข้อเจรจาตกลงจะต้องไปให้ถึงเป้าหมายการเงินด้านสภาพภูมิอากาศ หรือในชื่อแผน the New Collective Quantified Goal (NCQG)
-
กรีนพีซ จัดนิทรรศการ “เนื้อสัตว์ น้ำท่วม ฝุ่นพิษภาคเหนือ วิกฤตโลกเดือด เกี่ยวกันอย่างไร” เปิดความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และหายนะสิ่งแวดล้อม
กรีนพีซ ประเทศไทยเปิดความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์กับผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ผ่านงานนิทรรศการ “เนื้อสัตว์ น้ำท่วม ฝุ่นพิษภาคเหนือ วิกฤตโลกเดือด เกี่ยวกันอย่างไร” ตั้งแต่ 2 พ.ย. - 15 ธ.ค. 67 ที่ BACC pop⋅up, ห้องนิทรรศการ 2 ชั้น 3 แมด, มันมัน ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์
-
กรีนพีซยินดีต่อเลขาธิการสหประชาชาติที่เรียกร้องให้ผู้ก่อโลกเดือดรับผิดชอบ
กรีนพีซยินดีรับฟังการเรียกร้องที่เข้มแข็งของเลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ที่ต้องการให้เริ่มเก็บภาษีจากผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นตัวการของวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้น
-
ข้อตกลงที่ COP29 เรื่องตลาดคาร์บอนเป็นตัวบ่อนทำลายปฏิบัติการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
ผู้เจรจาในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) ที่บากูได้ตกลงในมาตรฐานใหม่สำหรับกลไกตลาดคาร์บอน ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มีช่องโหว่ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและบ่อนทำลายปฏิบัติการกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ
-
COP29 คือโอกาสที่เหล่าผู้นำโลกจะตั้งกองทุนชดเชยความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศได้สำเร็จ
การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) ที่จัดขึ้นใน บากู อาเซอร์ไบจาน จะต้องรับมือและแก้ปัญหาภาวะโลกเดือดอย่างจริงจัง โดยผู้นำโลกจะต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับเป้าหมายกองทุนสนับสนุนด้านการเงินเพื่อชดเชยและช่วยเหลือในด้านการรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศสำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา
-
ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องลงมือทำ เนื่องจากปี 2567 กำลังทำสถิติความร้อนสูงสุดประจำปีใหม่
เราอยู่ในจุดที่ต้องตัดสินใจ และผู้ก่อโลกเดือดจะไม่สามารถหลบหนีความรับผิดชอบได้! ข่าวที่ว่าในช่วงปี 2558-2567 จะเป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ต้องกระตุ้นให้เกิดการลงมือทำ เพราะความเสียหายที่เกิดจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศซึ่งขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลได้สร้างความหายนะให้กับชุมชนทั่วโลก